สำนักข่าวไทยไทม์นิวส์ • ThaitimeNews
loader
Foto

หุ้นกู้ไทยไปต่อได้หรือไม่ ในสถานการณ์ COVID-19

ดร.ตรีพล ภูมิวสนะ Private Banking Business Head Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย กล่าวในงานสัมนาออนไลน์ ในหัวข้อ “หุ้นกู้ไทยไปต่อได้หรือไม่ ในสถานการณ์ COVID-19” เพื่อให้ข้อมูลลูกค้าในช่วงวิกฤตการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ว่าส่งผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคการเงิน การลงทุนอย่างไร รวมถึงการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จัดตั้งกองทุนเพื่อรักษาสภาพคล่องของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ที่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดตราสารหนี้ของไทยในภาพรวม

 นางสาวณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัดให้ความเห็นจากสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รวมทั้งตลาดการเงินโลกกำลังผันผวนอย่างหนักจากการแพร่ระบาด โดยคาดว่าภาพรวมเศรษฐกิจไทยต่อจากนี้ ตลอดปี 2563 จะขึ้นอยู่กับการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งจะสามารถเกิดขึ้นได้ในสองกรณี คือ กรณีฐาน (Base case) สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ภายในครึ่งปีแรก และไม่เกิดการระบาดใหม่รอบ 2 กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มกลับมาในรูปแบบ New Normal หรือหากกรณีเกิดการระบาดใหม่รอบ 2 รัฐบาลต้องออกมาตรการควบคุมอย่างเข้มงวดจะเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจอีกระลอก

สำหรับมาตรการของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจ คาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีแนวโน้มลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงเพิ่มเติม โดยจะลดดอกเบี้ยนโยบายลงเพิ่มทำจุดต่ำสุดครั้งใหม่ มีโอกาสที่จะลดดอกเบี้ยลงอีก 0.25% ในไตรมาสนี้เพื่อประคองเศรษฐกิจ ทั้งนี้ หากการแพร่ะระบาดของโรคโควิด-19 คลี่คลาย และ กิจกรรมทางเศรษฐกิจค่อย ๆ เข้าสู่ภาวะปกติ จะส่งผลต่อภาคการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบหนักสุด ในขณะเดียวกันการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศมีแนวโน้มชะลอลงด้วยเช่นกัน การฟื้นตัวกลับสู่ระดับปกติคงไม่เร็วเพราะยังไม่มีวัคซีนและยารักษา ส่วนมาตรการเยียวยาจากภาครัฐ โดยเฉพาะมาตรการเยียวยาด้านรายได้และการจ้างงาน ช่วยบรรเทาผลกระทบของประชาชนให้ประคองการดำรงชีวิตประจำวันเพื่อผ่านวิกฤติไปให้ได้ แต่เศรษฐกิจจะยังคงหดตัวอยู่ในปีนี้

ด้านนายชัชชัย สฤษดิ์อภิรักษ์ รองกรรมการผู้จัดการ สายงานจัดการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด กล่างถึงมุมมองการลงทุนในตราสารหนี้ หลังจากธนาคารแห่งประเทศไทยจัดตั้งกองทุนเพื่อรักษาสภาพคล่องของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ (Corporate Bond Stabilization Fund: BSF) โดยคาดว่าอุปทานพันธบัตรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หลังจากพระราชกำหนดกู้เงินเยียวยากรณีโรคโควิด-19 จำนวน 1.9 ล้านล้านบาทมีผลบังคับใช้ ส่วนอุปทานหุ้นกู้จะเป็นปัจจัยลบต่อตลาด  อีกทั้งจะมีความผันผวนของตลาดหุ้นกู้เอกชนที่จะได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากภาวะเครดิตที่อาจชะลอลงจากการที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมหยุดชะงักจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

สำหรับคำแนะนำแก่นักลงทุน ถึงผลตอบแทน หากต้องการลงทุนในตราสารหนี้ ดังนี้

+    จากคาดการณ์ว่าดอกเบี้ยในระบบจะอยู่ในระดับที่ต่ำต่อไปอีกระยะ ผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารหนี้ยังคงคาดให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าการฝากเงิน

   + อัตราผลตอบแทนของหุ้นกู้เอกชนที่ปรับเพิ่มขึ้นมาระยะหนึ่ง ทำให้การลงทุนในหุ้นกู้เอกชนอายุไม่เกิน 3 ปี ดูน่าสนใจมากขึ้น* แต่อย่างไรก็ดีควรเน้นอันดับความน่าเชื่อถือที่ระดับ A+ ขึ้นไป

  +  บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย ให้คำแนะนำต่อการลงทุนในตราสารหนี้ โดยแบ่งตามสภาพคล่องของนักลงทุน

  1. กองทุน K-CASH* และ K-MONEY* ที่จะเน้นเรื่องสภาพคล่องสูงและมีความผันผวนต่ำ

    2.กองทุน K-SFPLUS* ในกรณีที่ต้องการผลตอบแทนที่มากขึ้นแต่จะมีความผันผวนเพิ่มขึ้นมาเล็กน้อย

    3.กองทุน K-FIXEDPLUS* เหมาะที่จะถือยาว ระยะเวลา 6 เดือนขึ้นไป

อย่างไรก็ตาม KBank Private Banking คาดว่า แม้โควิด-19 จะกระทบเศรษฐกิจโลกอย่างรุนแรง แต่จะส่งผลกระทบเพียงชั่วคราว และเศรษฐกิจจะฟื้นตัวขึ้นได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 เนื่องจากประเมินว่ามาตรการทั้งการเงินและการคลังทั่วโลกจะช่วยพยุงและผลักดันเศรษฐกิจให้เข้าสู่ภาวะปกติได้ในที่สุด

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

          Dr. Triphon Phumiwasana, Private Banking Business Head, Private Banking Group of KASIKORNBANK (KBank), participated in a seminar entitled, “Thai Debentures: An Attractive Option during COVID-19? to brief customers on the impact of the COVID-19 pandemic on society and the economy, especially the financial sector and investment, including the establishment of the Corporate Bond Stabilization Fund (BSF) by the Bank of Thailand (BOT) in order to stabilize the corporate bond market.

Ms. Nattaporn Triratanasirikul, Assistant Managing Director of KASIKORN RESEARCH CENTER Co., Ltd. (KResearch), said that the COVID-19 pandemic has crippled the Thai economy and sent global financial markets into a tailspin. Looking forward into the remainder of this year, the overall state of the Thai economy will hinge mainly on control of the viral transmission. For the base case, if the virus can be brought under control within the first half of this year with no second wave, Thai economic activity will see a “new normal” turnaround. However, if a second wave of the virus erupts, and is severe enough that the government’s stringent measures must remain in place, the economy may face another shock.

Regarding the government’s economic stimulus measures, it is expected that the Bank of Thailand (BOT) will cut its policy rate further to a new record low. The policy rate will likely be cut by another 0.25 percent in this quarter, with the aim of sustaining the economy. If the COVID-19 pandemic were to ease and economic activity gradually return to normal, this would benefit the tourism sector, which has been particularly hard hit by the virus. Concurrently, domestic consumption and investment are poised to slow down, and the return to normalcy may come later rather than sooner, as there is neither a vaccine nor a medication for treatment. Meanwhile, the government’s relief measures – in particular those concerning income and employment – will help the affected public to withstand the crisis, but the overall economy will continue to shrink this year.

Mr. Chajchai Sarit-apirak, Chief Investment Officer of KASIKORN ASSET MANAGEMENT Co., Ltd. (KAsset), expressed his views on investment in debt instruments following the establishment of the Corporate Bond Stabilization Fund (BSF) by the BOT; bond supply is set to rise after the enactment of an Executive Decree which empowers the Thai government to secure loans of up to 1.9 trillion Baht, to help cushion the impact of the COVID-19 pandemic on the economy. Meanwhile, the rising debenture supply will be a negative market factor while volatility will be seen in the corporate bond market, which has been steadily affected by sluggish credit conditions, given that overall economic activity has been stifled by the COVID-19 pandemic.

Advice to investors on returns from investment in debentures is detailed as follows:

     +Based on projections, interest rates will remain at a low level for now, with investment in debentures expected to yield higher returns than deposits.

     +The rate of returns from debentures, which has been on the increase, would make investment in debentures with maturities of no more than 3 years appear more attractive. Nevertheless, investors should focus on debentures with A+ credit ratings.

     +KAsset’s advice to investors regarding fixed-income funds can be categorized in accordance with the investors’ liquidity.

    1.K-CASH* and K-MONEY* – these emphasize high liquidity and limited fluctuation.

     2.K-SFPLUS* – for those who wish to receive greater returns but can deal with an increased level of fluctuation.

    3.K-FIXEDPLUS* – suitable for long-term investment, with a period of more than six months.

    While KBank Private Banking expects COVID-19 to have a devastating impact on the global economy, this impact will be temporary, and economic recovery could begin in the second half of 2020, as fiscal and monetary measures are expected to help drive the economy back towards normalcy.

Political News