สำนักข่าวไทยไทม์นิวส์ • ThaitimeNews
loader
Foto

จุฬาฯฟันธง!! Fintech เสริมศักยภาพ ไม่ทำลายล้าง

Fintech นวัตกรรมทางการเงินและการลงทุน ได้คืบคลานเข้ามามีบทบาทมากยิ่ งขึ้นในทุกขณะ ภาควิ ชาการธนาคารและการเงิน คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย    ได้ฟันธงธุรกิจไทยปี 2561 กับหัวข้อ Finance 2020 and Beyond ว่า Fintech จะเป็นแรงกระตุ้นให้สถาบั นการเงินเกิดการปรับตั วและนำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ เพื่อประโยชน์สูงสุดของลูกค้า

รศ.ดร.พรอนงค์ บุษราตระกูล หัวหน้าภาควิ ชาการธนาคารและการเงิน คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในหัวข้อ Finance 2020 and Beyond ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง   ในงานสัมมนา  “The Flagship Summit: Future Fast - Forward”  ถึงผลกระทบและการเปลี่ยนแปลง ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตว่า “อนาคตจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กั บปัจจุบัน เพราะฉะนั้นเราจึงจำเป็นต้องเข้ าใจปัจจุบันก่อน ซึ่ง 3 กระแสหลัก ในปัจจุบันที่จะเป็นตัวนำไปสู่ ผลกระทบและการเปลี่ ยนแปลงในอนาคต ได้แก่ สังคมเมือง ทั้งจำนวนประชากรของโลก ตัวเลขการเติบโตของเศรษฐกิจเมื องและเมืองขนาดกลาง สังคมสูงวัย ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สั งคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ โดยเราจะมีผู้สูงอายุเกิน 20% และ ปีนี้ ปี 2560 เป็นปีแรกที่มีประชากรวัยเด็กน้ อยกว่าผู้สูงอายุ และเทคโนโลยี ดิจิทัลและการเชื่อมโยง  ในอนาคตจะเติบโตด้ วยการประมวลและเชื่อมโยงทุกอย่ างเข้าด้วยกัน และจากกระแสหลักทั้ง 3 จะนำไปสู่ผลกระทบ 6 ด้าน  ความเหลื่อมล้ำ คนจน คนรวยและรายได้ต่อครอบครัว, โครงสร้างพื้นฐาน, รูปแบบธุรกิจ  ขนาดของธุรกิจใหญ่-เล็ก, รูปแบบพลังงาน, ความปกติใหม่ของตลาดทางการเงิน  สิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นกลับเกิ ดขึ้นจนเป็นปกติ และความต้องการของผู้บริโภค และผลกระทบที่เกิดขึ้นจะนำไปสู่ การเปลี่ยนแปลง ด้านการให้บริการทางการเงิน, การลงทุน และการกำกับดูแล”

การเปลี่ยนแปลงด้านการให้บริ การทางการเงิน  ผศ.ดร.สิระ สุจินตะบัณฑิต อาจารย์ประจำ ภาควิชาการธนาคารและการเงิน ขยายความว่า “การให้บริการทางการเงินที่มี นวัตกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องหรือ Fintech กับ 3 เทรนด์ที่กำลังเกิดขึ้นและจะร้ อนแรงมากขึ้นในอนาคต  AI : Artificial Intelligence ปัญญาประดิษฐ์ ที่สามารถให้บริการแบบส่วนตัว ให้คำปรึกษาด้านการลงทุน และช่วยวางแผนทางการเงินในวั ยเกษียณ  Algorithmic Trading  การให้บริการซื้อขายหุ้นผ่ านโปรแกรมอัตโนมัติ ทั้งการคัดกรองหุ้น   ที่เหมาะสมกับพฤติกรรมของเรา, คำสั่งซื้อที่มีความถี่สูง ซึ่งจะได้เปรียบในเรื่ องของความรวดเร็ วในการประมวลผลและส่งคำสั่งซื้ อขายภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่วิ นาที อีกทั้งเรายังจะสามารถสร้าง Modules   ได้ในแบบของตัวเองด้วยการเลื อกโปรแกรมที่เราต้องการ และ Blockchain ที่จะเข้ามาแทน Network      ทำให้ทุกอย่างเร็วขึ้น โดยจะให้บริการในเรื่องของการจ่ ายเงิน โอนเงิน การซื้อขายหุ้น รวมถึง  การแลกเปลี่ยนซื้อสิ่งที่แปลกๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน เช่น Bitcoin สกุลเงินดิจิทัล ที่มีมูลค่าสามารถใช้แลกซื้อสิ นค้าและบริการได้เหมือนสกุลเงิ นปกติ”

ผศ.ดร.อนิรุต พิเสฎฐศลาศัย อาจารย์ประจำภาควิ ชาการธนาคารและการเงิน อธิบายถึง การเปลี่ยนแปลงอีก 2 ด้าน ว่า “ด้านการลงทุน ในอนาคตการเติบโตของ GDP (Gross Domestic Product) หรือผลิตภัณฑ์ มวลรวมของประเทศจะยังคงเติบโต แต่จะเติบโตช้าลง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อกองทุน การออม การเกษียณและการบริโภค ซึ่งกองทุนจะได้รับผลกระทบแรงที่ สุด โดยการแก้ไขจะมี 2 ทางเลือก การตามล่าหาผลตอบแทน เพิ่มความเสี่ยงที่มากขึ้น ด้วยการลงทุนในตลาด Frontiers เช่น เวียดนาม อินเดีย บังคลาเทศ หรือตลาดที่มีประสิทธิ ภาพสามารถให้ผลตอบแทนมากๆ ได้ หรือการลงทุน   ในทางเลือก เช่น Bitcoin หรือการใช้หนี้ จะทำให้เข้าใกล้จุดคุ้มทุน ทางออกที่ 2 คือ การบริหารต้นทุน โดยการเกาะ index เพราะมีต้นทุนถูกมาก และการใช้ Fintech และหุ่นยนต์ในการจัดการ และด้านการกำกับดูแล  ด้านดี คือ จะทำให้เกิ ดความพยายามในโลกของการเงิน อีกด้านหนึ่งด้านลบอาจจะเป็นอุ ปสรรคต่อนวัตกรรม แต่ในอนาคตการกำกับดูแลจะเกิ ดการใช้เทคโนโลยี Regtech เข้ามาช่วยในการกำกับในการปฏิบั ติให้สอดคล้องกับกฎระเบียบ โดยจะนำเทคโนโลยีมาใช้ในการวิ เคราะห์ข้อมูลและนำมาใช้ ในการทำรายงานในรูปแบบที่ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้”

หัวหน้าภาควิ ชาการธนาคารและการเงิน จึงขอฟันธงว่า “อุตสาหกรรมทางการเงินจะไม่โดน disrupt   ถ้าทุกคนทุกภาคส่วนมีการปรับตั ว อุตสาหกรรมทางการเงินจะยังคงอยู่ และน่าจะเป็นแรงหนุนที่สำคั ญในการเติบโตของระบบอื่นๆ เศรษฐกิจอื่นๆ ภาคส่วนอื่นๆ สำหรับ Fintech ที่ทุกคนห่วงว่า จะมาแทนที่ธนาคารหรือจะมาแย่ งงานของมนุษย์รึเปล่า  ณ ตอนนี้ คำตอบ คือ ไม่ แต่ธนาคารจะเป็นคนแรกที่ จะนำมาใช้และจะรวมเข้ากับธุรกิ จของเขา เพื่อใช้ในการให้บริการลูกค้า ซึ่งจะเป็นการเชื่อมโยง การใช้ประโยชน์ และการกลัวที่จะถูก disrupt ก็จะเป็นแรงกระตุ้น ทำให้สถาบันต่างๆ เกิดการปรับตัว  นำสิ่งต่างๆ เทคโนโลยีต่างๆ มาทำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ลู กค้าขององค์กรอย่างสูงสุด”

Political News