สำนักข่าวไทยไทม์นิวส์ • ThaitimeNews
loader
Foto

เค.อี.ชูกลยุทธ์เดินหน้าแปลงสภาพกองCRYSTALเป็นกองรีทรีเทลBKER โตก้าวกระโดด

กลุ่มบริษัท เค.อี. จับมือ บริษัท หลักทรัพย์จัดการบัวหลวง จำกัด จัดตั้งกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์  ไลฟ์สไตล์ คอมมูนิตี้มอลล์ รีท บีเคอีอาร์ (BKER REIT)  “BKER” มูลค่า 11,300  ล้านบาท ขึ้นแท่นใหญ่อันดับสองด้วยขนาดกองรีทประเภทรีเทล นำโดยรวมพันธมิตร 10 ห้างดังเมืองไทย เตรียมพร้อมแปลงสภาพ คริสตัล พร็อพเพอร์ตี้ ฟันด์ ให้กับผู้ถือหุ้นเดิมและให้สิทธิซื้อกอง REIT ใหม่ “BKER”  กลุ่มบริษัท เค.อี. เน้นบริการเวอร์ติเคิลให้กับร้านค้าผู้เช่าอย่างเป็นระบบ นำเทคโนโลยีระดับโลกเพื่อขับเคลื่อนกลยุทธ์ทางธุรกิจในยุคดิจิทัล พร้อมตั้งเป้าเติบโตปีละกว่า 30%

นางศุภานวิต เอี่ยมสกุลรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เค.อี. เผยแผนปลายปี 2562 กลุ่มธุรกิจด้านรีเทล เติบโต โดดเด่น และมั่นคงจากการจัดตั้งกองรีท BKER มูลค่าสินทรัพย์สุทธิ 11,300 ล้านบาท คาดว่า สามารถเติบโตในอนาคตได้ปีละกว่า 30% โดยการซื้อสินทรัพย์ประเภทไลฟ์สไตล์ คอมมูนิตี้ มอลล์ ปีละไม่น้อยกว่า 3-5 แห่ง กองรีท BKER นี้จัดตั้งโดย กลุ่มบริษัท เค.อี. ผู้พัฒนาศูนย์การค้า ซีดีซี คริสตัล ดีไซน์ เซ็นเตอร์, เดอะคริสตัล และผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ หมู่บ้านหรู อาทิ คริสตัล พาร์ค, แกรนด์ คริสตัล ร่วมกับ บริษัท หลักทรัพย์จัดการบัวหลวง จำกัด ซึ่งนับเป็นครั้งแรก ของวงการรีทและวงการรีเทล ที่เป็นการจับมือผนึกกำลังของผู้นำวงการรีเทลและวงการการเงิน ด้วยความเป็นมืออาชีพรอบด้าน กองรีทนี้ใช้ชื่อย่อว่า BKER มาจากบัวหลวง และ เค.อี. รีเทล โดยการแปลงสภาพจาก Crystal property fund ที่ปัจจุบันมีสินทรัพย์เป็น ซีดีซี บางส่วน และเดอะคริสตัลบางส่วน มูลค่าประมาณ 4,000 ล้านบาท แปลงสภาพเป็น Real Estate Investment Trust หรือ REIT และนำสินทรัพย์อื่นอีกรวม 10  โครงการ  ได้แก่ ซีดีซี คริสตัล ดีไซน์ เซ็นเตอร์, เดอะคริสตัล เอกมัย-รามอินทรา, เดอะคริสตัล เอสบี ราชพฤกษ์, อมอรินี รามอินทรา, แอมพาร์ค จุฬา, เพลินนารี มอลล์ วัชรพล, สัมมากร รามคำแหง รังสิต ราชพฤกษ์ และเดอะซีน ด้วยพื้นที่โดยรวม 498,365 ตร.ม. และมีพื้นที่ขายประมาณ 170,000 ตร.ม. จุดเด่นของแนวคิดกองรีท BKER นี้ เกิดจากการคัดเลือกซื้อสินทรัพย์ที่มีคุณภาพทั้งรูปแบบ Lease hold โดยใช้แนวคิดสามข้อหลัก ดังนี้ แนวคิดแรก คือมีทำเลที่ตั้งที่ดี ตั้งอยู่ในชุมชนที่มีกำลังซื้อสูง สองคือสินทรัพย์มีคุณภาพและมีมาตรฐาน มีการวางผังพื้นที่อาคารที่ดี มีความสะดวกสบายในการจอดรถ และสาม คือมีผู้เช่าที่มีศักยภาพ ปัจจุบัน ได้มีผู้บริหารคอมมูนิตี้ มอลล์หลายแห่ง ได้แสดงความสนใจและให้ทาง BKER เริ่มศึกษาและวางแผนการเข้าร่วมกองรีท นอกจากนี้ ยังขยายแผนงาน ด้วยการเข้าไปบริหารศูนย์การค้าหรือคอมมูนิตี้ มอลล์อื่น ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดอีกด้วย

ด้านนายกวินทร์ เอี่ยมสกุลรัตน์ รองกรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัท เค.อี.  กล่าวถึง แนวคิดทางการเงินของกองรีทรีเทลที่เป็นไลฟ์สไตล์ คอมมูนิตี้ และเนเบอร์ฮูด มอลล์ ว่าเป็นกองรีทที่มีความน่าสนใจในการลงทุนสำหรับปัจจุบันและอนาคต เนื่องจาก สามารถเติบโตแบบ Organic Growth คือการเพิ่มขึ้นของ Occupancy และ อัตราค่าเช่า เสริมด้วยการลดต้นทุนจากการมี Economy of Scale ตลอดจน  Synergy ด้านต่างๆ และเติบโตแบบ Acquisition Growth โดยการเข้าซื้อสินทรัพย์ที่มีคุณภาพที่อยู่ในกรุงเทพฯ ต่างจังหวัด หรือต่างประเทศ อาทิ ประเทศเพื่อนบ้าน ประกอบกับ อุปทานได้แก่ การเปิดห้างใหม่ของคอมมูนิตี้ มอลล์ลดลง ทำให้การแข่งขันไม่สูง ในภาพรวมเศรษฐกิจปัจจุบัน นักลงทุนให้ความสนใจกับผลตอบแทนประเภทเงินปันผล อาทิ เช่นกองรีท การคัดเลือกโครงการเข้ามาในกองรีท BKER นี้ ให้ความสำคัญกับทำเลที่ตั้ง  ผลประกอบการ และโอกาสการสร้างรายได้ ซึ่งหากมองทั้งในระยะสั้น กลาง และระยะยาว การปรับผังเมือง การอยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้า ของโครงการที่อยู่ใน กองรีท BKER ย่อมส่งผลดีอย่างต่อเนื่อง

จากตารางที่ปรากฏ กองรีท BKER จะมีมูลค่าสินทรัพย์ใหญ่เป็น Top Two สองอันดับแรกของภาพรวมรีทที่เป็นธุรกิจรีเทล ของประเทศไทย

จากข้อมูล CBRE พื้นที่รีเทลในกรุงเทพฯ มีพื้นที่โดยรวม 7.7 ล้าน ตร.ม. เป็นช้อปปิ้งมอลล์จากบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์และผู้ประกอบการรายใหญ่อยู่ที่ 3.55 ล้าน ตร.ม. ส่วนที่เหลือเป็นคอมมูนิตี้มอลล์ ที่เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก ประมาณ 4.16 ล้าน ตร.ม.

พบว่าไตรมาสแรกของปีนี้ คอมมูนิตี้มอลล์ที่มีคุณภาพดี (Prime Assets)  Occupancy rate อยู่ที่ 95% ปัจจุบันคอมมูนิตี้ มอลล์มีร้านที่มีความเสี่ยงสูงจากผลกระทบอีคอมเมิร์ซ (Online at risk) อยู่ประมาณ 20% เมื่อเปรียบเทียบกับ 40-50% สำหรับ Enclosed Mall ทั่วไป

ภาพรวมพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบันที่มีไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต ทุกวันนี้ผู้บริโภคมีความชอบในประสบการณ์แปลกใหม่ เช่น ร้านอาหาร หรือการใช้ชีวิตโดยรวมที่ใส่ใจกับสุขภาพและกีฬาเพิ่มขึ้น การซื้อสินค้าทั่วไปจึงลดลง และหาซื้อได้ผ่านอีคอมเมิร์ชเพิ่มขึ้น หรือนับเป็นออนไลน์ดิสรัปชั่น หรือการใช้บริการทางการเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ ดังนั้น หมวดร้านค้าในไลฟ์สไตล์ คอมมูนิตี้ มอลล์ โดยหลัก จะประกอบด้วย ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหาร ฟิตเนส สุขภาพความงาม การศึกษา และการเงิน

เค.อี. ได้เตรียมการบริหารงานไลฟ์สไตล์ คอมมูนิตี้มอลล์ ในกองรีท BKER โดยวางแผนพัฒนาในส่วนงานสำคัญ ได้แก่ การวางกลยุทธ์ของมอลล์ การบริหารพื้นที่ขาย Customized Strategy เพื่อให้ตรงกลุ่มเป้าหมายในแต่ละทำเล การใช้ระบบ Yardi ที่เป็นระบบซอฟท์แวร์บริหารศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลกจากอเมริกา บริษัทยักษ์ใหญ่ในอเมริกาล้วนใช้ระบบนี้ ซึ่งระบบนี้บริหารพื้นที่กว่า 1 ล้านล้าน ตร.ม. กว่า 80 ประเทศ เค.อี. เป็นบริษัทแรกของไทยที่นำระบบนี้เข้ามาใช้ นอกจากนี้ บริษัทยังมีการพัฒนาระบบ Application  ที่ทันสมัยที่สุดด้าน  Customer Management  ได้แก่ การให้ส่วนลดบนระบบแอพฯ การสะสมแต้มที่ทำได้ง่ายที่สุด การชิงรางวัล และอีกมากมาย พร้อมเปิดให้ใช้บริการในปลายปีนี้ ระบบ Crystal Club ที่เก็บฐานข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า และระบบ Data Analytic Agora Pulse  ที่เป็นการวิเคราะห์การใช้สื่อดิจิทัลของแต่ละศูนย์พร้อมกัน และระบบเปรียบเทียบกับศูนย์การค้าอื่น Free Wifi เพื่อความสะดวกสบายให้กับลูกค้า ระบบ Operation Management ที่เพิ่ม Efficiency ลด Cost Management ของศูนย์ ทั้งด้านการบำรุงรักษาเครื่องจักร และด้านอื่นๆ  จะเห็นว่า ข้อได้เปรียบหลักๆ ในการบริหารศูนย์ ได้แก่ การมี Synergy ในทุกด้าน

ในด้านผู้เช่าร้านค้า เค.อี. ได้เน้นบริการเวอร์ติเคิลให้กับร้านค้าผู้เช่า ในการขยายและเติบโตไปในอนาคตอย่างเป็นระบบ 5 แนวทางหลัก เรื่องแรก คือการจัดทำ Tenant Financing Package โดยได้ร่วมมือกับธนาคารชั้นนำได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ไทยพาณิชย์ และกสิกร ในการให้สินเชื่อธุรกิจเพื่อการขยายร้านค้า เรื่องที่สอง ด้านระบบซอฟท์แวร์บัญชี MAC 5 ที่สะดวกและทันสมัยที่สุดโดยเชื่อมโยงตรงกับระบบ POS จากบริษัท ดับเบิ้ลไพน์ จำกัด มีความเชี่ยวชาญในระบบร้านอาหารและรีเทล เรื่องที่สาม ระบบการชำระเงินออนไลน์ที่ เค.อี. ได้ร่วมมือกับโอมิเซะในการเป็นที่ปรึกษาในการทำระบบชำระเงินที่สะดวกและรวดเร็วให้กับผู้ซื้อ  เรื่องที่สี่ ด้านระบบเทค สตาร์ทอัพ เค.อี ได้ร่วมมือกับบริษัท เทคชั้นนำหลายบริษัท เพื่อเพิ่มช่องทางการขายในหลายรูปแบบ อาทิ แกร็บ ไลน์ ตลอดจนนำแพลตฟอร์มออนไลน์ มาออฟไลน์ อาทิ ซีดีซี ได้เตรียมการจับมือ กับสตาร์ทอัพดัง สองแห่งด้านผู้รับเหมา การสั่งซื้อสินค้าประเภทวัสดุ และตกแต่ง และแนวทางที่ 5 การให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ได้แก่ การจัดสัมมนาให้ความรู้กับคู่ค้าในด้านต่างๆ เช่น ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง การวางกลยุทธ์ทางธุรกิจในภาวะเศรษฐกิจ การวางแผนการลงทุน เป็นต้น นอกจากนี้ ซีดีซี ได้เปิดบริการ ซีดีซี เซอร์วิส หรือ Personal Shopper ที่ให้คำแนะนำเลือกซื้อสินค้าวัสดุและของตกแต่งที่เป็นบริการฟรี ซีดีซี ได้ตั้งศูนย์กลางความรู้เรื่อง GREEN, LEED, WELL และสถาบันชั้นนำ โดยรวบรวมสินค้าที่มีคุณสมบัติเรื่องการประหยัดพลังงาน น้ำ และรักษาเรื่องสิ่งแวดล้อม ณ อาคารดี เพื่อให้สอดรับกับเทรนด์อนาคตโลก ที่เราทุกคนควรให้ความสำคัญ นอกจากนี้ ล่าสุด ซีดีซี คริสตัล ดีไซน์ เซ็นเตอร์ เป็นศูนย์กลางการตกแต่งที่เดียวในทวีปเอเชีย ที่รวบรวมสินค้าแบรนด์เบอร์หนึ่งของโลกครอบคลุมทุกประเภทสินค้า อาทิ  หินอ่อนจากแบรนด์อันดับหนึ่งอิตาลี หินประดับยุโรปรุ่นพิเศษจากเหมืองดังรายใหญ่ที่สุดของโลก คริสตัลแชนเดอเลียจากอียิปต์เบอร์หนึ่งของโลก พรมจากเบลเยี่ยมซึ่งเป็นเบอร์หนึ่งของโลกเช่นกัน สุขภัณฑ์โคห์เลอร์ แบรนด์อันดับหนึ่งของอเมริกา ที่ซีดีซี มีโชว์รูมอาร์ทติส แกลเลอรี่ หรูที่สุดในเซ้าท์อีสต์เอเชีย นอกจากการรวมแบรนด์ที่หนึ่งของโลกได้มากที่สุดแล้วได้ ยังมี Flagship Store โชว์รูมของผู้ประกอบการรายใหญ่ในธุรกิจตกแต่งและก่อสร้าง มาตั้งเป็นศูนย์กลางความรู้และจำหน่ายสินค้าที่เป็นสินค้านวัตกรรมใหม่ให้กับวงการ อาทิ กลุ่มสีจระเข้ กลุ่มไม้ซีเมนต์คอนวูด กลุ่มหินนำเข้าจากยุโรปที่นำสินค้ารุ่นพิเศษระดับโลก โชว์รูมสุขภัณฑ์ โคห์เลอร์

อาร์ทติส แกลเลอรี่ที่หรูที่สุดในเซ้าท์อีสต์เอเชีย โชว์รูม นวัตกรรมโตโต้จากญี่ปุ่น  และ เอส บี ดีไซน์สแควร์ที่ขยายพื้นที่โชว์รูมขนาดใหญ่ พร้อมเสนอนวัตกรรมล่าสุด เป็นต้น

กลุ่มบริษัท เค.อี. ได้ให้ความสำคัญด้านเทคโนโลยี และแนวคิดสตาร์ทอัพระดับโลก เนื่องจากมีความมั่นใจว่า เทคโนโลยี และซอฟต์แวร์ยุคใหม่ จะช่วยพัฒนาองค์กรได้ในหลายด้าน บริษัทจึงได้เซ็นสัญญาเป็น  Founding Corporate Partner ในประเทศไทย  หนึ่งในสี่บริษัทไทย ( กลุ่มเค.อี., ปตท. ไทยออยล์ และ กลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ-BDMS) กับบริษัท  Plug and Play Tech Center (พลั๊ก แอนด์เพลย์ เทค เซ็นเตอร์) ที่เป็น Tech Ecosystem ที่ใหญ่ที่สุด ในซิลิคอนวัลเล่ย์ แคลิฟอร์เนีย ที่โด่งดังที่สุดในอเมริกา บริษัทนี้ เป็นนักลงทุนรุ่นก่อตั้งของ Google, Paypal และ Dropbox  ฯลฯ โดยบริษัทคาดว่า เทคด้านรีเทล พร๊อพเพอร์ตี้ และด้านอื่นๆ จะสามารถนำมาพัฒนาวงการอสังหาริมทรัพย์ไทยให้ก้าวไกลไปกับเทคโนโลยี ที่ตอนนี้ ทุกคนคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ยักษ์ใหญ่ของโลก โตมาจากอุตสาหกรรมเทค

กลุ่มธุรกิจด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของกลุ่มเค.อี. ยังคงเติบโตต่อเนื่อง ในปลายปีนี้ จะมีการเปิดให้ชมบ้านตัวอย่างโครงการ คริสตัล โซลานา ซึ่งเชื่อมั่นว่าจะขึ้นทำเนียบ บ้านหรูที่สุดของเมืองไทย นอกจากนี้ ยังมีโครงการออฟฟิศ สำหรับคนรุ่นใหม่ ชื่อ 111 Praditmanutham ด้วยแนวคิดที่โดดเด่นบนพื้นที่กว่า 6 ไร่ บนถนนประดิษฐ์มนูธรรม มีพื้นที่เช่าสำนักงาน 20,000 ตร.ม. รูปแบบที่เหนือชั้นกว่าด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการที่ให้ความสนุกทำให้พนักงานอยากมาทำงานมากกว่าออฟฟิศทั่วไป และล่าสุด บริษัทได้ลงทุนซื้อที่ดินที่วิลเลียม  สเบิร์ค นิวยอร์ค แหล่งฮิปทันสมัย เพื่อพัฒนาคอนโดมิเนียมเอ็กซ์คลูซีฟ เป็นต้น

โดยสรุป การจัดตั้งกองรีท BKER ระหว่างกลุ่มบริษัท เค.อี. ร่วมกับ บริษัท หลักทรัพย์จัดการ บัวหลวง จำกัด ในครั้งนี้นับเป็นการสร้างโฉมใหม่ให้กับวงการรีเทล ที่ทำให้ธุรกิจไลฟ์สไตล์คอมมูนิตี้มอลล์ในเมืองไทย มีความแข็งแรง มีศักยภาพ และเติบโต ร้านค้าผู้เช่าสามารถเพิ่มโอกาสทางการขายและมีพัฒนาการอย่างเป็นระบบ ผู้บริโภคได้รับประสบการณ์และมีไลฟ์สไตล์ที่ดี นักลงทุนมีทางเลือกที่ดีในการลงทุน และสิ่งสำคัญที่สุด ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย ที่พวกเราประชาชนทุกคนมุ่งหวังให้เศรษฐกิจเดินหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง

Political News