สำนักข่าวไทยไทม์นิวส์ • ThaitimeNews
loader
Foto

สกว.เตรียมเสนอข้อมูลงานวิจัย จัดทำ“แผนแม่บทการจัดการน้ำ จ.พัทลุง”แก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก

ถอดรหัสน้ำท่วมพัทลุง - นักวิจัย สกว. ยอมรับสาเหตุน้ำท่วมหนักเมืองพั ทลุงเมื่อต้นปี 2560 มาจากสภาพอากาศและปริมาณฝนที่ตก หนักอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน แต่การบริหารจัดการน้ำไร้ประสิท ธิภาพเหตุเพราะขาดระบบข้อมูลสาร สนเทศและระบบเตือนภัยแบบเร่งด่ว นในพื้นที่เสี่ยง ขณะที่ชาวบ้านต้องสร้างเครือข่า ยเตือนภัยกันเอง ล่าสุดเตรียมเสนอผลงานวิจัยภายใ ต้ “โครงการการสนับสนุนกลไกการวางแ ผนจัดทำงบประมาณบูรณาการด้านทรั พยากรน้ำเพื่อการเกษตรด้วยระบบส ารสนเทศ จังหวัดพัทลุง” เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดทำ “แผนแม่บทการจัดการทรัพยากรน้ำข องจังหวัด” มั่นใจ จะช่วยให้การบริหารจัดการน้ำมีป ระสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและลดความ ซ้ำซ้อนในการจัดทำงบประมาณ

ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนถึงเดือน ธันวาคมของทุกปี จะเป็นช่วงเข้าสู่ฤดูมรสุมของภา คใต้ตอนล่าง ทำให้เสี่ยงพายุ ฝนตกหนักและน้ำท่วม แต่เชื่อว่าเหตุการณ์น้ำท่วมภาค ใต้ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2559 - 8 มกราคม 2560 ถือเป็นการเผชิญกับภัยพิบัติน้ำ ท่วมข้ามปีของพื้นที่ 12 จังหวัดภาคใต้ครั้งที่รุนแรงและ หนักที่สุดอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน สร้างความเสียหายอย่างหนักไปทั่ วทุกพื้นที่ แม้แต่เส้นทางคมนาคมขนส่งสายหลั กสู่ภาคใต้ทั้งหมดถูกตัดขาดทุกเ ส้นทางนานนับเดือนคิดเป็นมูลค่า ความเสียหายทางเศรษฐกิจนับหมื่น ล้านบาท

จากฝนที่ตกหนักทั้งวันทั้งคืนแบ บไม่ลืมหูลืมตา ตลอด 24 ชั่วโมง ติดต่อกันเป็นระยะเวลากว่าสิบวั นส่งผลให้น้ำท่วมฉับพลันทุกพื้น ที่แบบไม่มีใครได้ตั้งตัว โดยเฉพาะจังหวัดพัทลุงได้รับผลก ระทบจากภาวะน้ำท่วมอย่างหนัก บ้านเรือนประชาชนต้องจมอยู่ใต้ น้ำนานนับเดือน เนื่องจากสภาพอากาศและปริ มาณฝนที่ตกหนักมากเกินกว่าที่ เคยตกมาก่อน จากการตรวจสอบข้อมูลหลังสถานการ ณ์คลี่คลายพบว่า ฝนที่ตกสะสมเฉพาะในช่วงที่เกิดเ หตุเพียง 10 วันมีปริมาณฝนสะสมมากกว่า 1900 มม.เป็นปริมาณฝนสะสมที่สู งมากเมื่อเปรียบเทียบกับปริ มาณฝนสะสมโดยปกติของพื้นที่ ภาคใต้ตลอดทั้งปี ซึ่งเฉลี่ยอยู่ที่ 1800 – 2000 มม.ต่อปี ถือเป็นปรากฏการณ์ไม่ปกติที่ไม่ เคยเกิดขึ้นมาก่อนเรียกว่า “ฝน 1,000 ปี”

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ดร.อนิศรา เพ็ญสุข ติ๊บแก้ว อาจารย์จากคณะเทคโนโลยีและการพั ฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ในฐานะนักวิจัย สกว.ด้านการบริหารจัดการน้ำ กล่าวว่า “จากปริมาณน้ำฝนที่ตกหนักมากกว่ าปกติจนทำให้ความสามารถในการรอง รับน้ำของ 7 ลุ่มน้ำในพื้นที่จังหวัดพัทลุง ไม่สามารถเก็บกักน้ำในปริมาณที่ มากขนาดนั้นไว้ได้ บวกกับลักษณะภูมิประเทศของพัทลุ งฝั่งตะวันตกที่เป็นเทือกเขา พื้นที่ค่อนข้างสูงขณะที่ฝั่งตะ วันออกเป็นพื้นที่ราบลุ่มเมื่อเ กิดฝนตกมวลน้ำป่าจากภู เขาจะไหลบ่ามาทางฝั่งตะวั นออกเพื่อลงสู่ทะเลสาบสงขลาซึ่ งใช้เป็นเส้นทางเดียวในการผันน้ำ ออกสู่ทะเลอ่าวไทย ขณะที่จังหวัดสงขลาก็ประสบปัญหา น้ำท่วมเช่นกัน ทำให้ไม่สามารถรับน้ำจากพัทลุงไ ด้อีก ส่งผลให้ระดับน้ำขังในพื้นที่พั ทลุงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เกิดน้ำท่วมหนักเป็นวงกว้ างและท่วมขังอยู่เป็นเวลานานอย่ างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนในรอบ1, 000ปี จึงยากต่อการจัดการ ซึ่งไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น”

แต่คำถามคือหากสถานการณ์เช่นนี้ เกิดขึ้นอีกจังหวัดจะต้องมีวิธี อย่างไรที่จะเตรียมรับมือกับสภา พอากาศที่แปรปรวนนี้หรือจะแก้ไข ปัญหาเบื้องต้นอย่างไรไม่ให้ต้ องเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมเป็นระยะ เวลานานหรือไม่ให้เกิดภาวะน้ำท่ วมขังเป็นเวลานานๆ ขึ้นอีก จึงเป็นที่มาของการจัดทำ “โครงการการสนับสนุนกลไกการวางแ ผนจัดทำงบประมาณบูรณาการด้านทรั พยากรน้ำเพื่อการเกษตรด้วยระบบส ารสนเทศ จังหวัดพัทลุง” ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการภายใต้ “ชุดโครงการการพัฒนาฐานข้อมู ลเชิงพื้นที่ด้านน้ำเพื่อสนั บสนุนการวิเคราะห์และการจั ดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนงานด้ านบริหารจัดการน้ำของจังหวัด” ซึ่งมีทั้งหมด 5 จังหวัด ประกอบด้วย ลำพูน ชัยนาท นครพนม ระยอง และพัทลุง โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงา นกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นโครงการวิจัยเชิงนโยบายเพื่ อผลักดันให้เกิดกลไกระดับจังหวั ด เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยาก รน้ำทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดการซ้ำซ้อนของการจัดทำงบปร ะมาณ

ดร.อนิศรา  กล่าวว่า  พัทลุงเป็น 1 ใน 5 จังหวัดนำร่องภายใต้ชุ ดโครงการดังกล่าว โดยมีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ร่วมกันทำวิจัย การที่จังหวัดพัทลุงได้รับเลือก เข้าร่วมโครงการวิจัยครั้งนี้เพ ราะพัทลุงเป็นพื้นที่น้ำท่วมซ้ำ ซากทุกปี แต่เป็นชุมชนเข้มแข็งจึงต้องการ ใช้ความเข้มแข็งของชุมชนเข้ามามี ส่วนร่วมในการแก้ไขและผลักดั นให้เกิดแผนแม่บทในการบริหารจั ดการน้ำของจังหวัดเพื่อแก้ไขปั ญหาให้กับเกษตรกรที่ได้รับผลกระ ทบจากภาวะน้ำท่วมและน้ำแล้งให้ น้อยที่สุด

“เพราะ“น้ำ”เป็นเรื่องที่ค่อนข้ างอ่อนไหว และค่อนข้างเกี่ยวเนื่องกันหลาย ภาคส่วน เพราะน้ำเป็นทรัพยากรที่มีค่า ที่ต้องบริหารจัดการให้เหมาะสม จึงจะสร้างมูลค่าในตัวของตัวเอง ได้”

เมื่อมองว่าน้ำท่วมเป็นปัญหาของ ภาคเกษตรเช่นกัน จึงนำมาสู่การศึกษาวิจัยเรื่ องน้ำให้เกิดความครอบคลุมทุกมิ ติเพื่อเตรียมรับมือกั บสถานการณ์น้ำท่วมที่นับวั นจะทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเริ่มจากการดำเนินการรวบรวมแ ผนงานที่เกี่ยวข้องกับน้ำจากทุก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ทำให้พบว่าที่ผ่านมา ขาดการจัดทำระบบสารสนเทศ ข้อมูลที่มีอยู่ไม่ครอบคลุม ไม่มีการจดบันทึกข้อมูลการทำโคร งการที่ผ่านมา และยังขาดระบบเตือนภัยที่มี ประสิทธิภาพแบบทันเหตุการณ์ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีความเสี่ ยงสูงที่ควรจะต้องมีการแจ้งเตือ นจากหน่วยงานภาครัฐอย่างเร่งด่ว น

“ เช่นเหตุการณ์น้ำท่วมไปแล้วประม าณ 1 สัปดาห์หน่วยงานจึงจะสามารถเข้า ไปให้ความช่วยเหลือเพราะขาดระบบ การเตือนภัย ขณะที่ชาวบ้านมีการสร้างกลุ่ มเตือนภัยกันเองสามารถเข้าไปให้ ความช่วยเหลือได้หลังเกิดเหตุ เพียง 2-3 วัน นอกจากนี้ยังมีระบบเตือนภัยเครื อข่ายที่มีคณะกรรมการของแต่ละลุ่ มน้ำค่อยแจ้งข่าวสารระหว่างกลุ่ มต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยการสื่อสารผ่านโซเซียลมีเดีย ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของความเข้มแ ข็งของชุมชน 

จากประสบการณ์เมื่อเกิดฝนตกหนัก ติดต่อกัน 3 วัน ชาวบ้านก็เริ่มใจไม่ดี จึงเตรียมยกของขึ้นที่สูงแม้ จะดูว่าเป็นความตื่นตัวของชาวบ้ าน แต่ถือเป็นหน้าที่หลักของภาครัฐ และหน่วยงานที่จะต้องเข้าไปให้ค วามรู้เรื่องของระบบเตือนภัยแก่ ชาวบ้านได้เข้าใจว่าฝนตกหนักลัก ษณะไหนที่ควรระวัง หรือตกกี่วันจึงควรตื่นตัว และควรจะต้องทำอย่างไรหรือควรมี การแจ้งเตือนอย่างไร ซึ่งตรงนี้ถือเป็นจุดอ่อนของหน่ วยงานที่ควรต้องเร่งปรับปรุง” ดร.อนิศรา กล่าว

สำหรับข้อเสนอแนะหรือแนวทางในกา รแก้ปัญหาเบื้องต้น แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะสั้นให้เร่งเคลียร์สิ่งกีดข วางทางไหลของน้ำให้ออกไปจากพื้น ที่  และระยะยาวจะต้องแก้ปัญหาลุ่มน้ำ อย่างเป็นระบบ  โดยผลการดำเนินงานขณะนี้ได้รวบ รวมข้อมูลและแผนการดำเนินงานโคร งการต่างๆที่เกี่ยวกับน้ำจากทุก หน่วยงานในพื้นที่ทั้งในส่วนของ กรมชลประทานและองค์การบริหารส่ วนตำบล หรือ อบต.นำมาจัดทำเป็นฐานข้อมูล( Database )เสร็จเรียบร้อยแล้ว เพื่อนำไปใช้ในการจัดทำ “แผนแม่บทการจัดการทรัพยากรน้ำข องจังหวัดพัทลุง” ในการประชุมร่วมระหว่างผู้ว่ารา ชการจังหวัดพัทลุงกับคณะกรรมการ ลุ่มน้ำทั้ง 7 ลุ่มน้ำของจังหวัดราวกลางเดื อนธันวาคมนี้ก่อนที่จะนำแผนดั งกล่าวเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของยุ ทธศาสตร์จังหวัดเพื่อใช้เป็ นแนวทางประกอบการพิจารณาจั ดทำงบประมาณที่เกี่ยวกับน้ำในพื้ นที่ในปีต่อๆไป

ดร.อนิศรา กล่าวอีกว่า “เรื่องของระบบสารสนเทศหรื อการจัดทำข้อมูลถือเป็นจุดอ่ อนของหน่วยงานในการบริหารจั ดการเพราะเป็นเรื่องสำคัญที่ จะทำให้ทุกคนรู้ว่ามีทำอะไรอยู่ ตรงไหนและส่งผลกระทบอย่างไรต่ อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบ้ าง ดังนั้นการจัดทำแผนแม่บทดังกล่า วนี้ ยังช่วยอัพเดทข้อมูลการทำโครงกา รเกี่ยวกับน้ำในพื้นที่จังหวัดพั ทลุงได้ว่า ปัจจุบันมีโครงการอะไรที่ ทำไปแล้ว และที่กำลังทำอยู่ แต่ละจุดสามารถแก้ไขปัญหาให้กับ ชุมชนได้ดีพอหรือไม่ หรือยังมีพื้นที่ไหนที่ยังไม่ ได้รับการแก้ไข เพื่อให้ครอบคลุมการแก้ปัญหาและ ป้องกัน ที่จะนำไปสู่การพัฒนาได้ในที่สุ ด อีกทั้งยังช่วยดลความซ้ำซ้อนของ การจัดทำงบประมาณอีกด้วย มีความมั่นใจมากว่าผลงานวิจัยนี้ จะเข้าไปเติมเต็มให้กั บแผนการบริหารจัดการน้ำของจั งหวัดพัทลุงได้อย่างมีประสิทธิ ภาพมากยิ่งขึ้น”

Political News