สำนักข่าวไทยไทม์นิวส์ • ThaitimeNews
loader
Foto

ม.ขอนแก่น ผนึกธนาคารกสิกรไทยเสริมแกร่งนศ.ปั้นนักธุรกิจออนไลน์รุ่นใหม่

     

               ม.ขอนแก่นและธนาคารกสิกรไทย จับมือร่วมพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาในการทำธุรกิจออนไลน์ การบริหารจัดการทางการเงิน หรือระบบการบริหารจัดการต่าง ๆ ให้ก้าวไปเป็นนักบริหารธุรกิจ นักบัญชี และผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ที่พร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงานในระดับชาติและนานาชาติ

                นายวีรวัฒน์ ปัณฑวังกูร รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย  เปิดเผยว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีต่าง ๆ พัฒนาไปมาก มีการติดต่อสื่อสารผ่านทางออนไลน์มากขึ้น ทำให้การขายสินค้าและการทำธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านทางออนไลน์เป็นไปได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะเป็นยุคที่ทุกคนใช้โทรศัพท์มือถือกันตลอดเวลา การขายสินค้าออนไลน์จึงเป็นธุรกิจและอาชีพที่มีโอกาสทำเงินได้อย่างมหาศาล เพราะสามารถขายสินค้าให้ได้กับทุกคนทั่วประเทศ โดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องสถานที่และเวลา ซึ่งประเทศไทยมีการเติบโตของอีคอมเมิร์ชสูงมาก โดยมูลค่าการซื้อขายผ่านอีคอมเมิร์ซในปี 2560 มีประมาณ 2.8 ล้านล้านบาท เป็นการขายสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้าที่เป็นผู้บริโภค (B2C) มูลค่า 812,613 ล้านบาท และในปี 2561 คาดการณ์จะมีการซื้อขาย B2C เติบโต 17% มูลค่าซื้อขายอยู่ที่ 949,122 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนมูลค่าซื้อขายออนไลน์ผ่านโซเชียลมีเดียสูงสุดถึง 40% ซื้อขายผ่าน e-Marketplace 35% และซื้อขายผ่านช่องทางออนไลน์ของโมเดิร์นเทรด 25%

                ธนาคารกสิกรไทย จึงร่วมกับคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือจัดโครงการเสริมศักยภาพธุรกิจออนไลน์ หรือ KOS ON TOUR เปิดรับสมัครนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น 50 คน และประชาชนทั่วไป 20 คน ที่มีประสบการณ์การขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ Facebook, Instagram, LINE@ เพื่อส่งเสริม สนับสนุน รวมไปถึงการให้ความรู้เพิ่มเติม ทั้งในเรื่องของการทำธุรกิจค้าขายผ่านช่องทางออนไลน์ การบริหารการจัดการทางการเงิน หรือระบบการบริหารจัดการต่าง ๆ โดยเปิดรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฯ ตั้งแต่วันนี้ถึง 19 กุมภาพันธ์ 2562 สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Facebook : K SME

                นายวีรวัฒน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการศึกษาปัญหาของผู้ค้าออนไลน์ พบว่า ผู้ค้าออนไลน์จะประสบปัญหาที่คล้ายๆ กัน คือ ไม่มีความรู้ด้านบริหารจัดการธุรกิจ ทั้งการบริหารจัดการต้นทุน การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย การทำการตลาด และการทำ Content ขณะเดียวกันการขายของออนไลน์กลายเป็นอาชีพเสริมของคนรุ่นใหม่ในวัยเรียน โดยพบว่าร้อยละ 90  ของนักศึกษาปริญญาตรีจบใหม่ทั้งหมด เป็นกลุ่มที่เข้าสู่ตลาดแรงงาน ส่วนอีกร้อยละ 10 เป็นกลุ่มที่ไม่ต้องการเข้าสู่ตลาดแรงงาน หรือทำงานประจำ ซึ่งคาดการณ์ได้ว่า นักศึกษาที่จบปริญญาตรีและเข้าสู่ตลาดแรงงานรวมทั้งนักศึกษาที่ไม่ต้องการทำงานประจำ อาจยึดอาชีพค้าขายออนไลน์เป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม เพราะเป็นอาชีพที่สามารถเริ่มต้นได้ง่าย โดยไม่จำเป็นต้องมีทุนเยอะ เพียงแค่มีสินค้าก็สามารถเริ่มขายของได้ผ่านช่องทางหลากหลายที่ไม่จำเป็นต้องเสียเงิน ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, LINE@

                นายวีรวัฒน์ กล่าวในตอนท้ายว่า โครงการฯ ดังกล่าว ธนาคารมีนโยบายในการส่งเสริมความรู้ในเรื่องการขายออนไลน์อย่างเป็นรูปธรรม และต้องการขยายโอกาสในการส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับผู้ค้าออนไลน์ไปทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกที่ธนาคารเลือกที่จะเริ่มต้นโครงการ KOS ON TOUR เนื่องจากเป็นสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงในระดับประเทศ มีกลุ่มนักศึกษาที่ให้ความสนใจในการทำธุรกิจออนไลน์เป็นจำนวนมาก สำหรับโครงการนี้ ผู้เข้าอบรมหลักจะเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแก่น และเพิ่มโอกาสให้กับบุคคลทั่วไปที่สนใจพัฒนาธุรกิจตนเองในการค้าขายผ่านออนไลน์ ก็สามารถสมัครเข้าร่วมได้ ธนาคารมุ่งหวังให้ผู้ที่เข้ามาเวิร์คช้อปครั้งนี้ ได้นำความรู้ไปใช้ในการทำธุรกิจอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะในการต่อยอดการขายออนไลน์เพื่อให้ธุรกิจเติบโตต่อไปในอนาคต

                ด้านรองศาสตราจารย์ ดร.เพ็ญศรี เจริญวานิช คณบดีคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ปัจจุบันเป็นยุค 4.0 เทคโนโลยีจึงเป็นเรื่องสำคัญ นักธุรกิจเปลี่ยนโฉมใหม่หันมาพึ่งพาโลกออนไลน์ ทำให้สามารถประกอบธุรกิจเองได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษา ที่สามารถใช้ช่องทางออนไลน์ในการทำธุรกิจและเป็นผู้ประกอบการตั้งแต่เรียนในมหาวิทยาลัย ดำเนินกิจการผ่านบริการบนเว็บไซต์ ไม่ว่าจะขายสินค้าบนเว็บไซต์หรือบนโซเชียลมีเดีย เช่น เฟสบุค ไลน์ หรือการนำสินค้าไปโพสต์ไว้กับเว็บที่ให้บริการลงโฆษณาฟรี

                การบันทึกความร่วมมือในครั้งนี้ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น และธนาคารกสิกรไทย จะมีการจัดกิจกรรม เช่น งานอบรมสัมมนาให้แก่นักศึกษา บุคลากร หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจในเรื่องที่เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน  รวมไปถึงการให้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องของการทำธุรกิจค้าขายผ่านทางออนไลน์ การบริหารจัดการทางการเงิน หรือระบบการบริหารจัดการต่าง ๆ โดยเริ่มตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ 2562 นี้เป็นต้นไป และสำหรับกิจกรรมแรกได้แก่ “โครงการเสริมศักยภาพธุรกิจออนไลน์ หรือ KOS ON TOUR” เวิร์คช็อปเพื่อพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์วัยใสวัยทีนที่ต้องการอัพแรงบันดาลใจในการทำธุรกิจออนไลน์ และอยากเพิ่มความรู้ในการทำธุรกิจออนไลน์ ทั้งในเรื่องของการทำธุรกิจค้าขายผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อให้ขายง่าย ขายดี มีกำไร ลูกค้าเพิ่มได้ดั่งใจ โดยจะจัด 4 ครั้ง ครั้งแรกในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 13.00 น.-16.30 น. ต่อด้วยวันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม, 21 มีนาคม และ 28 มีนาคม 2562 แต่ละครั้งหัวข้อการบรรยายน่าสนใจและเหมาะกับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์อย่างมาก อาทิ ใช้ Social Media อย่างไรให้เวิร์ค แคปชันเจ๋งรูปโดนใจ สินค้าอะไรก็ขายดี สร้าง Content อย่างไร ให้โดนใจลูกค้า เทคนิคปิดการขาย ที่แม่ค้าออนไลน์ต้องรู้ โดยจะมีครูทิป ผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลจาก Digital Tips Academy เป็นวิทยากรในการเวิร์คช็อปเปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ถึง 19 กุมภาพันธ์ 2562

                เราได้เข้าสู่ยุคการแข่งขันทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ซึ่งมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด กระแสการปรับตัวของการพัฒนาในศตวรรษที่ 21 มีวิวัฒนาการอย่างรวดเร็วส่งผลต่อวิถีการดำรงชีวิตของทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  การปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติรอบด้านจึงเป็นความท้าทายที่สำคัญอย่างยิ่ง  มหาวิทยาลัยซึ่งมีหน้าที่หลักในการผลิตบัณฑิตเพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานจึงต้องมีการปรับตัวอย่างมากในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัตน์ตรงกับความต้องการ ความคาดหวังของสังคมและตลาดแรงงาน

                ในส่วนของคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ตอบสนองความต้องการ ความคาดหวังของสังคมและตลาดแรงงาน  เมื่อปีการศึกษา 2560  คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ได้มีแนวคิดริเริ่มจัดตั้ง “ศูนย์พัฒนาความเป็นเลิศแห่งอาชีพ” เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาก่อนสำเร็จการศึกษา  ภายใต้กรอบการพัฒนาทักษะ และการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21  โดยภารกิจของ “ศูนย์พัฒนาความเป็นเลิศแห่งอาชีพ”  คือ  ทำหน้าที่บริหารจัดการ สนับสนุน ส่งเสริม การจัดกิจกรรมนอกห้องเรียนพัฒนาศักยภาพนักศึกษา ทั้งด้านทักษะความรู้ (Hard Skills) และทักษะอารมณ์ (Soft Skill)  เช่น การฝึกปฏิบัติจัดทำเอกสารสมัครงาน  การฝึกความคิดสร้างสรรค์   การอบรมเทคนิคการสื่อสารอย่างมืออาชีพ  การเรียนรู้มารยาทสังคม หลังจากนั้นคณะฯ ก็ได้เริ่มวางกรอบแนวคิดในการพัฒนานักศึกษา โดยแบ่งการพัฒนาเป็น การพัฒนาทักษะการเรียนรู้/วิชาชีพ, ทักษะการใช้ชีวิต และทักษะการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21

                “เพื่อที่จะดำเนินการตามกรอบให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมชัดเจนที่สุดเราจึงได้หาเครือข่ายที่มีความเป็นมืออาชีพ เพื่อเข้ามาเปิดโลกทัศน์ของนักศึกษาให้กว้าง ตลอดจนเสริมสร้างทักษะการเป็นผู้ประกอบการเพื่อสร้างความมั่นคงจึงได้ชักชวน ธนาคารกสิกรไทย ซึ่งเป็นองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการทางการเงิน และที่สำคัญการทำระบบธุรกิจออนไลน์  ตามที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า ธนาคารกสิกรไทย เป็นสถาบันการเงินแรกๆ ของประเทศไทยที่นำเอาระบบธุรกรรมออนไลน์มาใช้ และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการนำระบบออนไลน์มาใช้ประโยชน์ในการทำธุรกิจหรือธุรกรรมการเงินต่างๆ โดย คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี และธนาคารกสิกรไทย ได้ร่วมมือทางวิชาการ เพื่อเสริมสร้าง สนับสนุน รวมไปถึงการให้ความรู้เพิ่มเติมแก่นักศึกษาที่กำลังประกอบธุรกิจออนไลน์อยู่ หรือกำลังจะก้าวเข้ามาเป็นผู้ประกอบการออนไลน์ในอนาคต ทั้งในเรื่องของการทำธุรกิจออนไลน์ การบริหารจัดการทางการเงิน หรือระบบการบริหารจัดการต่างๆ จะเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษาในมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีศักยภาพและสามารถประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจ และก้าวไปเป็นนักบริหารธุรกิจ นักบัญชี และผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่พร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงานในระดับชาติและนานาชาติต่อไป” คณบดีคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี กล่าวเพิ่มเติม

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

Khon Kaen University joins forces with KBank to foster new generation of online entrepreneurs

          Khon Kaen University and KBank join forces to enhance university students’ potential in online business, financial management and other management systems as a stepping stone for them to become business executives, accountants or entrepreneurs to serve labor market both at home and abroad.

Mr. Wirawat Panthawangkul, KBank Senior Executive Vice President, said that technological advancements and growing communications via online channels have made it easier to sell products and conduct various transactions on line. During the era in which everybody use mobile phones, e-commerce allows related entrepreneurs to make huge profit because they can sell products to anyone throughout the country without limitations concerning the venue and time. E-commerce in Thailand has reported high growth in recent years. In 2017, the value of e-commerce in Thailand reached approximately 2.8 trillion Baht, 812.613 billion Baht of which were transactions conducted directly between companies and consumers (B2C). In 2018, B2C transactions may grow 17 percent to 949.122 billion Baht. Online trading via social media accounted for the highest share of 40 percent while trading via e-Marketplace and trading via modern trade accounted for 35 percent and 25 percent, respectively.

KBank has collaborated with Khon Kaen University’s Faculty of Business Administration and Accountancy to establish the KOS ON TOUR project, aimed at promoting the potential of e-commerce. This project will accept applications from 50 students of Khon Kaen University and 20 general public members having online trading experience via Facebook, Instagram and LINE@. The selected participants will be equipped with additional knowledge on e-commerce, financial management or system management. The application is open now until February 19, 2019.  More information can be obtained from Facebook: K SME.

Mr. Wirawat said that a study on problems of online traders shows that they tend to have similar problems, i.e., insufficient knowledge on business and cost management, accounting, marketing and content development. In addition, e-commerce has become a part-time job for students as evidenced by the fact that 90 percent of all fresh university graduates enter the workforce, whereas the rest 10 percent do not want to enter the workforce or take a full-time job. Given this, it is expected that new university graduates, who enter the workforce, plus those who do not want to have a full-time job will make e-commerce either their full-time or part-time job because it is easy to start the business without substantial capital requirement. With only merchandises, they can start the e-commerce business through a number of channels, including Facebook, Instagram and LINE@.

Mr. Wirawat added that under the KOS ON TOUR project, KBank intends to promote e-commerce knowledge in a concrete manner to online traders nationwide. Khon Kaen University is the first educational institution that KBank has chosen to begin the KOS ON TOUR project because it is well known at a national level and has many students interested in e-commerce. Participants in the project are largely students of Khon Kaen University and general public members interested in e-commerce. KBank hopes that they will be able to maximize the knowledge gained in their online businesses in the future.  

Assoc. Prof. Pensri Jaroenwanit, Ph.D., Dean of Faculty of Business Administration and Accountancy, Khon Kaen University, said that in the 4.0 era, businesspeople have shifted to online channels which enable them to run their own business. In particular, students can use online platforms such as Facebook and LINE to kick off their college startup, or some can promote their merchandises on websites offering free advertising.

Faculty of Business Administration and Accountancy, Khon Kaen University, signed an MOU with KBank to jointly organize various activities including seminars for university students and personnel as well as the general public, especially those who are interested in providing support and knowledge about online business, financial management or other management systems, starting this February. The first event will be “KOS ON TOUR” featuring a workshop for online teenagers seeking inspiration in doing online business and wishing to broaden their horizons in this field, wherein they will learn how to build a profitable business online. KOS ON TOUR will be organized in four occasions, i.e., February 28, 1:00 p.m. - 4:30 p.m., and followed by on Thursday of March 7, 21 and 28. Each session will involve interesting topics suitable for online traders, namely how to efficiently use social media, how to present cool captions and photos, what’s hot in the market, how to create appealing contents to win customers’ hearts and tips for sale closing. The workshop will be provided by Kru Tip – a digital guru from Digital Tips Academy. Application for this workshop will run from today to February 19, 2019.

“As socioeconomic and technological competition in the 21st century leads to rapid evolution and inevitably affects every walk of life, people face a daunting challenge in adapting to changes in every aspect. Since Khon Kaen University has the mission to produce graduates to serve the labor market, we have to adjust ourselves to produce quality graduates, taking into account the globalization trends, to ensure that our graduates meet demands and expectations of the society and the labor market,” she said.  

Realizing the importance of such mission, in the academic year of 2017, Faculty of Business Administration and Accountancy established the Center of Excellence for career advancement to get students ready before graduation. Aimed at developing skills and knowledge required for the 21st century, the Center of Excellence has the mission to manage, support and promote the hands-on learning outside the classroom to enhance students’ potential regarding hard skills and soft skills such as preparation of document for job application, innovative thinking, effective and professional communications and social etiquette.  The faculty also lays down principles to educate students by categorizing courses into academic learning/occupational skills, life skills and skills relating to living in the 21st century.

“To produce tangible results, we have sought a professional network to widen the students’ perspectives and enhance their entrepreneurial skills. Hence, we have invited KBank, an expert in financial management and online business, to be our partner.   KBank is recognized as a pioneer in adopting digital technology in financial transactions and encouraging startups to use e-commerce in their business or financial transactions. Faculty of Business Administration and Accountancy and KBank have formed an academic collaboration to promote, support and provide additional knowledge to students or aspiring startups on e-marketplace, financial management and other administrative systems. By strengthening capacity of students of Khon Kaen University, the collaboration serves as a stepping stone for them to become successful business managers and accountants or joining a new breed of entrepreneurs for the local and international labor markets,” Dean of Faculty of Business Administration and Accountancy said.

Political News