สำนักข่าวไทยไทม์นิวส์ • ThaitimeNews
loader
Foto

KTAM แนะลงทุนเวียดนามมองสถานการณ์ผ่อนคลาย หลังรัฐบาลออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง

บลจ.กรุงไทย หรือ KTAM แนะนำการลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนาม โดยมองว่าสถานการณ์การลงทุนในประเทศเวียดนามเริ่มคลี่คลาย หลังจากประเด็นการผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้ และปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์ลดลง รวมถึงการที่รัฐบาลได้ออกมาตรการช่วยเหลือหลายทาง จึงได้แนะนำกองทุนเปิดเคแทมเวียดนาม อิควิตี้ (KT-VIETNAM) เหมาะสมสําหรับผู้ลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงและความผันผวนของราคาหุ้นจากการลงทุนในประเทศเวียดนาม และต้องการลงทุนในระยะปานกลางจนถึงระยะยาว

นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า หลังจากรัฐบาลเวียดนามได้เดินหน้าออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ทั้งนโยบายการเงินผ่านการปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย โดยล่าสุดปรับลดลง 0.50% เป็นครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 16 มิ.ย. 2566 ที่ผ่านมา (ที่มา: The Business Times ณ วันที่ 16 มิ.ย. 2566) ซึ่งจะเป็นการช่วยสนับสนุนให้ธนาคารพาณิชย์ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อช่วยเหลือธุรกิจ ทั้งนโยบายการคลังผ่านการเร่งใช้จ่ายและการลงทุนของภาครัฐ รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอื่นๆ ที่จะทยอยประกาศออกมาในการประชุมสมัชชาแห่งชาติในช่วงตลอดเดือน มิ.ย. นี้ ประกอบกับการผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้ และปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์ลดลง จะเป็นปัจจัยที่ช่วยให้เศรษฐกิจในประเทศเวียดนามขับเคลื่อนได้อย่างต่อเนื่อง

“ทาง KTAM มองว่า เศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังของเวียดนามมีแนวโน้มจะเติบโตได้ดีกว่าในช่วงครึ่งปีแรก จากผลของนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ที่จะสะท้อนผลให้เห็นผ่านทางตัวเลขเศรษฐกิจที่คาดว่าจะค่อย ๆ ดีขึ้นตั้งแต่ช่วงครึ่งปีหลังเป็นต้นไป นอกจากนี้ ทิศทางนโยบายและมาตรการสนับสนุนเศรษฐกิจของภาครัฐยังส่งผลบวกต่ออารมณ์ของตลาด (Market Sentiment) ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ปรับตัวลงช่วยให้เงินบางส่วนไหลกลับเข้าสู่ตลาดหุ้น ซึ่งเห็นได้จากข้อมูลในเดือน พ.ค. 2566 ที่มูลค่าการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เวียดนามเพิ่มขึ้น และยอดการเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ ที่สูงสุดในรอบ 9 เดือน ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่ช่วยผลักดันตลาดหุ้นเวียดนามให้เติบโตได้ อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงในสหรัฐฯ และยุโรป ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจของเวียดนามได้เช่นเดียวกัน” นางชวินดา กล่าว

สำหรับกองทุน KT-VIETNAM มีนโยบายการลงทุนแบบเชิงรุก เพื่อสร้างผลตอบแทนที่เหนือกว่าตลาด เน้นลงทุนในหุ้นที่ได้รับประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศเวียดนาม ผ่านการลงทุนในตราสารทุน หน่วย CIS กองทุน ETF ซึ่งจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ประเทศเวียดนามและต่างประเทศ เฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยกองทุนมีกระบวนการลงทุนแบบผสานรูปแบบการลงทุนทั้ง Top-down และ Bottom-up Approach ด้วยการคัดเลือกหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีความมั่นคง ทั้งยังมีการประเมินมูลค่าหุ้นตามปัจจัยพื้นฐาน โดยใช้วิธีการประเมินในรูปแบบต่างๆ

โดยปัจจุบันพอร์ตการลงทุนของกองทุน KT-VIETNAM เน้นการลงทุนในกลุ่มหุ้นขนาดใหญ่ และหุ้นในดัชนี VN30 เป็นหลัก ภายใต้ธีมที่ได้รับประโยชน์จากการเติบโตของเศรษฐกิจเวียดนามในระยะยาว ได้แก่ ธีม Domestic Consumption (กลุ่ม Consumer Goods และ Retail), ธีม Urbanization (กลุ่ม Property และ Utilities), ธีม Industrialization (กลุ่ม Export, Logistic และ Infrastructure) และธีม Banking (กลุ่ม Bank) โดยกองทุน KT-VIETNAM มีสัดส่วนการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรม 5 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่มธนาคาร 27.21% กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ 17.46% กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม 10.17% กลุ่มวัสดุก่อสร้าง 6.64% และกลุ่มพาณิชย์ 5.42% (ที่มา: KTAM ข้อมูล ณ วันที่ 31 พ.ค. 2566)

นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้เปิดให้นักลงทุนได้เลือกลงทุนใน KT-VIETNAM ด้วยกันถึง 3 ชนิด ได้แก่ KT-VIETNAM-A (ชนิดสะสมมูลค่า) และสำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนเพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษี ได้แก่ กองทุนเปิดเคแทม เวียดนาม อิควิตี้ (ชนิดเพื่อการออม) (KT-VIETNAM-SSF) และกองทุนเปิดเคแทม เวียดนาม อิควิตี้ เพื่อการเลี้ยงชีพ (KT-VIETNAM RMF) ทั้งสามกองทุนมีระดับความเสี่ยงกองทุน 6

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลและขอรับหนังสือชี้ชวนได้ทุกวันทำการได้ที่ บลจ.กรุงไทย โทร. 0-2686-6100 กด 9 หรือธนาคารกรุงไทยและผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ถ้ามี) หรือศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ktam.co.th สนใจเปิดบัญชีผ่านแอปพลิเคชั่น KTAM Smart Trade ได้ที่ https://bit.ly/KTSTSignIn

ปัจจัยความเสี่ยงของกองทุน KT-VIETNAM ที่สำคัญ : ความเสี่ยงทางตลาด ความเสี่ยงจากการดำเนินงานของผู้ออกตราสาร ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องของหลกัทรัพย์ ความเสี่ยงจากความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ออกตราสาร ความเสี่ยงจากการลงทุนในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง  ความเสี่ยงของประเทศที่ลงทุน และความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน

กองทุนนี้มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ในกรณีที่กองทุนไม่ได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/ หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ / ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุนรวม SSF / RMF และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ หากลงทุนไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด อาจต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีและเสียเงินเพิ่ม

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

 

Political News