สำนักข่าวไทยไทม์นิวส์ • ThaitimeNews
loader
Foto

EXIM BANK แนะผู้ส่งออก โดยเฉพาะ SMEs ใช้ประกันการส่งออกเป็นเครื่องมือขยายธุรกิจ

https://www.youtube.com/watch?v=HXpXyVoQuTE&t=144s

EXIM BANK แนะผู้ส่งออก โดยเฉพาะ SMEs ใช้ประกันการส่งออกเป็นเครื่องมือขยายธุรกิจ พิจารณาคู่ค้าและเสนอเทอมการชำระเงินอย่างมั่นใจในวิกฤตโควิด-19

ดร.กีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และกรรมการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) กล่าวเปิดงาน “EXIM One Solution Forum” ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ในหัวข้อ “วัคซีนประกันการส่งออก (Export Credit Insurance : ECI) ส่งออกมั่นใจ ยังไงก็ไม่โดนเท” ทางออนไลน์ให้แก่ผู้ประกอบการและสาธารณชน เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2564 ว่า ขณะที่ภาคการส่งออกไทยเป็นพระเอกขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในครึ่งหลังของปี 2564 หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนต้องร่วมมือกันส่งเสริมและยกระดับความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกไทย โดยเฉพาะ SMEs ซึ่งมีฐานทุนน้อยและเปราะบางต่อความเสี่ยงทางธุรกิจมากกว่า ประกอบกับวิกฤตโควิด-19 ส่งผลกระทบให้หลายกิจการทั่วโลกประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง ซึ่งบางแห่งอาจไม่แสดงอาการ เพราะได้อานิสงส์จากมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ ดังจะเห็นได้จากสถิติการล้มละลายในปี 2563 ของประเทศเศรษฐกิจสำคัญ อาทิ สหรัฐฯ เยอรมนี และญี่ปุ่น ลดลงสวนทางกับภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา ขณะเดียวกันหลายกิจการยังมีสภาพคล่องดี แต่ตั้งอยู่ในประเทศที่มีความเปราะบางทางเศรษฐกิจ หากผู้ส่งออกไทยค้าขายกับคู่ค้าเหล่านี้ก็มีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับชำระเงินค่าสินค้า “ประกันการส่งออก” จึงเป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงทางการค้าระหว่างประเทศ เพื่อคุ้มครองผู้ส่งออกจากการไม่ได้รับชำระเงินค่าสินค้าจนขาดสภาพคล่องธุรกิจ หรืออาจถึงขั้นต้องปิดกิจการ ทั้งยังช่วยให้เกิดปริมาณธุรกิจส่งออกของไทยเพิ่มมากขึ้น

ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยว่า วิกฤตโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจทั่วโลกใน 3 มิติสำคัญ ได้แก่ 1. มาตรการจำกัดการเดินทางของรัฐบาลทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามปกติได้ ทั้งภาคการผลิต การบริการ และการขนส่ง ส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการต้นทุนและรายได้ 2. การชะงักงันของห่วงโซ่การผลิต เนื่องจากการระบาดของโรคและมาตรการจำกัดการเดินทาง ทำให้เกิดการขาดแคลนวัตถุดิบบางรายการที่ใช้ในการผลิตสินค้า และ 3. กำลังซื้อลดลง เนื่องจากการชะลอตัวของการบริโภคและการลงทุน ทำให้เกิดการเลิกจ้างงานหรือลดชั่วโมงการทำงาน ภาคธุรกิจทั่วโลกจึงต้องปรับตัวและได้รับการสนับสนุนด้านการอัดฉีดสภาพคล่องและการพักชำระหนี้ EXIM BANK ในฐานะสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ จึงพร้อมสนับสนุนใน 4 ด้าน ได้แก่ เงินทุน ช่องทางการค้าออนไลน์ ความรู้ และเครื่องมือป้องกันความเสี่ยง เพื่อช่วยให้ภาคส่งออกเป็นพระเอกขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่อง

                                                          รักษ์ วรกิจโภคาทร

EXIM BANK เป็นองค์กรรับประกันแห่งเดียวของไทยที่มีบริการประกันการส่งออกคุ้มครองความเสี่ยงให้แก่ผู้ส่งออกไทยจากการไม่ได้รับชำระเงินค่าสินค้าจากผู้ซื้อในต่างประเทศในหลากหลายรูปแบบ อาทิ การปรับปรุงเงื่อนไขให้ยืดหยุ่นและสะดวก อนุมัติเร็ว เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ส่งออก โดยเฉพาะ SMEs นอกจากนี้ ประกันการส่งออกยังช่วยให้ผู้ส่งออกรู้จักผู้ซื้อดีขึ้น กล้าเสนอเทอมการชำระเงินที่ผ่อนปรน และขยายตลาดส่งออกได้อย่างมั่นใจ ทั้งในตลาดเดิมและตลาดใหม่ โดย EXIM BANK จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนและติดตามหนี้ เมื่อเกิดความเสียหายจากการไม่ได้รับชำระเงินค่าสินค้า นับตั้งแต่เปิดดำเนินการในปี 2537 บริการประกันการส่งออกของ EXIM BANK ก่อให้เกิดปริมาณธุรกิจส่งออกของไทยเป็นมูลค่ากว่า 1.55 ล้านล้านบาท ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2564 มีลูกค้าประกันการส่งออกของ EXIM BANK ยื่นขอรับค่าสินไหมทดแทนจำนวนทั้งสิ้น 12 ราย เป็นมูลค่ากว่า 22.6 ล้านบาท โดยประมาณ 66% มีสาเหตุจากผู้ซื้อในต่างประเทศปฏิเสธการชำระเงินค่าสินค้า รองลงมาอีก 26% ผู้ซื้อล้มละลาย และ 8% ผู้ซื้อปฏิเสธการรับมอบสินค้า

ทั้งนี้ EXIM BANK มีบริการประเมินความเสี่ยงผู้ซื้อ/ธนาคารผู้ซื้อ ตลอดจนบริการประกันการส่งออก คุ้มครองความเสี่ยงของผู้ซื้อหรือความเสี่ยงทางการค้า ได้แก่ ผู้ซื้อล้มละลาย ผู้ซื้อปฏิเสธการชำระเงินค่าสินค้า และผู้ซื้อปฏิเสธการรับมอบสินค้า และความเสี่ยงของประเทศผู้ซื้อหรือความเสี่ยงทางการเมือง ได้แก่ การควบคุมการโอนเงินจากประเทศผู้ซื้อมายังประเทศไทย การห้ามนำเข้าสินค้าหรือยกเลิกสิทธิการนำเข้า และการเกิดสงคราม จลาจล ปฏิวัติ รัฐประหาร บริการประกันการส่งออกเพื่อ SMEs ในปี 2564 ได้แก่ EXIM for Small Biz  สำหรับ SMEs ที่มีมูลค่าการส่งออกไม่เกิน 100 ล้านบาท ค่าเบี้ยเริ่มต้นเพียง 600 บาท คุ้มครองสูงถึง 1 แสนบาท ให้ความคุ้มครอง 80% ของมูลค่าความเสียหาย และ EXIM Smart SMEs สำหรับ SMEs ที่มีมูลค่าการส่งออกไม่เกิน 500 ล้านบาท ให้ความคุ้มครองสูงถึง 90% ของมูลค่าความเสียหาย ผู้ส่งออกที่มีประวัติดี ไม่มีเคลม จะได้รับเงินคืนสูงสุด 10% 

“ในวิกฤตโควิด-19 ความเสี่ยงทางการค้าระหว่างประเทศที่พบบ่อยที่สุดคือ ผู้ซื้อในต่างประเทศไม่ชำระเงินค่าสินค้าหรือชำระไม่ครบถ้วน ซึ่งผู้ส่งออกไทยจะมีความยากลำบากและต้นทุนสูงมากในการติดตามหนี้ กลายเป็นหนี้สูญเพราะผู้ซื้อในต่างประเทศขาดสภาพคล่องหรือล้มละลาย โดยส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับการค้าขายล็อตใหญ่กับผู้ซื้อที่ดูน่าเชื่อถือหรือมีความเสี่ยงต่ำ EXIM BANK ร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชนจึงเร่งขยายบริการประกันการส่งออกให้ผู้ส่งออกไทยใช้เป็นเครื่องมือสร้างความมั่นใจในการตัดสินใจค้าขายกับใคร ตลาดใด จำนวนเท่าไร หรือแม้แต่ให้เครดิตเทอมนานขึ้นแก่ผู้ซื้อที่ EXIM BANK ให้การรับประกัน ทำให้ธุรกิจส่งออกของไทยเติบโตได้อย่างมั่นคงในโลกที่เต็มไปด้วยการแข่งขันและความเสี่ยงทางการค้าระหว่างประเทศ” ดร.รักษ์ กล่าว

ทั้งนี้ คุณจักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการและจำหน่ายลิขสิทธิ์คอนเทนต์ รวมถึงให้บริการเวลาเพื่อโฆษณาและประชาสัมพันธ์สินค้าทางสถานีโทรทัศน์ และคุณจิระพงษ์ สันติภิรมย์กุล กรรมการ และรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายขนมขบเคี้ยวประเภทสาหร่ายทั้งในและต่างประเทศภายใต้ตราสินค้า “เถ้าแก่น้อย” รวมถึงขนมขบเคี้ยวและผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การส่งออก โดยใช้บริการประกันการส่งออกเป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงทางการค้าระหว่างประเทศ

EXIM Thailand Recommends Exporters, Particularly SMEs, Using Export Credit Insurance as a Tool for Business Expansion, Consideration of Trade Counterparts and Offering of Payment Terms with Confidence amid COVID-19 Pandemic

Dr. Keerati Ratchano, Director-General of Foreign Trade Department, Ministry of Commerce, and Director of Export-Import Bank of Thailand (EXIM Thailand), delivered an opening remark at “EXIM One Solution Forum” held for the second time for entrepreneurs and the general public by online channel on August 13, 2021 under the topic “Export Credit Insurance (ECI) Vaccination: Export with Confidence, No Worry about Payment Default.” He said that, viewing Thai export as the hero to drive Thai economy in the second half of 2021, public and private agencies have to collaborate in promoting and enhancing competitiveness of Thai exporters, SMEs in particular, whose capital base is limited and fragile making them vulnerable to business risks. Coupled with the COVID-19 crisis, several businesses across the world have suffered from liquidity crunch. Some of them have not clearly signaled such condition due to supports from their governments’ rescue packages. As evident from bankruptcy statistics in 2020 of major global economies like the USA, Germany and Japan, bankruptcy cases declined in contrast to the economic slowdown. Meanwhile, several businesses have maintained sound liquidity, but they are located in the countries with economic vulnerability. If Thai exporters trade with these trade counterparts, they could be exposed to payment defaults. The “export credit insurance (ECI)” facility is thus a risk hedging tool for international trade in order to safeguard exporters against non-payment by foreign buyers until that they may fall short of business liquidity or even be forced to close down their businesses. Such risk hedging tool could also help boost Thai export volume to a greater extent.       

Dr. Rak Vorrakitpokatorn, President of EXIM Thailand, revealed that the COVID-19 pandemic has hurt global business sectors in 3 dimensions. Firstly, governments’ travel restrictions have disrupted normal economic activities, e.g. manufacturing, service and transportation, thus affecting cost and income management. Secondly, supply chain disruptions amid the virus spread crisis and travel restrictions have caused shortage of certain items of raw materials for manufacturing processes. Thirdly, decline in purchasing power in the face of sluggish consumption and investment has prompted labor layoff/redundancy or short-time working. Business sectors around the world have to adjust themselves to suit the current situations and obtain assistances in the form of liquidity injection and debt payment suspension. EXIM Thailand, as a state-owned specialized financial institution, is fully equipped to support business sectors in 4 areas, namely capital, online trade channel, knowledge base and risk hedging tool, to highlight the role of Thai export sector as the hero to consistently propel Thai economic growth. 

EXIM Thailand is the only export credit agency in Thailand that offers ECI facility to help Thai exporters hedge risks of payment defaults by foreign buyers in various forms, such as revision of conditions to be more flexible and convenient to allow for quick approval in response to demand of exporters, SMEs in particular. Moreover, ECI will enable exporters to know their customers better so that they would be confident in offering relaxed payment terms and expanding their export markets covering both existing and new frontier markets. EXIM Thailand will make claim payment and debt recovery in case of loss due to buyers’ payment defaults. Since its business inception in 1994, the Bank’s ECI facility has brought about a total export business turnover of more than 1.55 trillion baht. In the first 7 months of 2021, a total of 12 ECI clients filed for claim payment in the amount of over 22.6 million baht, of which 66% was due to foreign buyers’ payment defaults, 26% buyers’ bankruptcy, and 8% buyers’ rejection of delivered goods.

EXIM Thailand renders a buyer/buyer bank risk assessment service and ECI facility to cover buyer risk or trade risk, for example, buyer’s bankruptcy, buyer’s non-payment for goods, and buyer’s rejection of delivered goods, while buyer country risk or political risk includes buyer country’s control of fund remittance to Thailand, ban on import of goods or revocation of import entitlements, and eruption of war, riot, revolution or coup d’etat. EXIM Thailand’s ECI programs for SMEs in 2021 comprise EXIM for Small Biz for SMEs with export value of not exceeding 100 million baht, starting premium of only 600 baht to cover as high as 100,000 baht, and maximum coverage of 80% of loss value, and EXIM Smart SMEs for SMEs with export value of not exceeding 500 million baht and maximum coverage of 90% of loss value. Exporters with good track record without filing for claim payment will be entitled to a maximum refund of 10%.   

“Due to the COVID-19 pandemic, the international trade risk most frequently found is overseas buyers’ non-payment or incomplete payment. It has been difficult and costly for Thai exporters to recover debts, hence incurrence of bad debts once foreign buyers fall short of liquidity or become bankrupt. This has mostly been the case for big lot sales to reliable and low-risk buyers. EXIM Thailand has thus collaborated with the public and private sectors in accelerating expansion of ECI facility for Thai exporters for use as a tool to boost confidence in making decision to trade with which party, in which market and in how much volume, or even in offering longer payment terms for buyers covered by EXIM Thailand’s ECI. This should ensure strong growth of Thai export in today’s business world of fierce competition and international trade risks,” added Dr. Rak. 

Khun Jakkaphong Jakrajutatip, Chief Executive Officer and Managing Director of JKN Global Media PCL. (JKN), provider and distributor of advertising/media content copyright and airtime services, and Khun Jirapong Suntipiromkul, Director and Deputy Managing Director of Taokaenoi Food & Marketing PCL, producer and distributor of seaweed snacks both at home and overseas under the “Taokaenoi” brand, as well as health snacks and foods, were guest speakers at the forum to share their export experiences using ECI as a tool for international trade risk management.   

 

Political News