สำนักข่าวไทยไทม์นิวส์ • ThaitimeNews
loader
Foto

Robot กับงานเอกสารดิจิทัล ก้าวแรกเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ยุคใหม่

โดย บริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ (ประเทศไทย) จำกัด

ผลสำรวจ Adoption of RPA in Asia-Myth or Reality? ของ PwC ที่ผ่านมาคาดการณ์ว่า ระบบอัตโนมัติจะถูกนำมาใช้ในกระบวนการทำงานต่างๆ มากกว่า 45% และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านแรงงานทั่วโลกได้มากถึง 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือราวกว่า 65 ล้านล้านบาท โดยประเมินตลาด RPA ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จะมีมูลค่าสูงถึง 2.9 พันล้านบาทในปี 2021 (เติบโต 203%) ข้อมูลเหล่านี้ตอกย้ำให้เห็นถึงกระแสดิจิทัลดิสรัปชั่นที่ยังคงถาโถมองค์กรธุรกิจทุกหย่อมหญ้า สำหรับประเทศไทยในปีนี้มีองค์กรธุรกิจรายใหญ่ ๆ หลายรายเดินหน้าประกาศกลยุทธ์และพัฒนาบริการใหม่ ๆ เปลี่ยนผ่านองค์กรไปสู่ “ความเป็นดิจิทัลอย่างเต็มตัว”  ซึ่งได้สร้างกระแสการตื่นตัวให้กับธุรกิจรายอื่น ๆ ที่ยังมีความกังวลและกำลังวางแผนปรับใช้ระบบอัตโนมัติกันอยู่

บันไดขั้นแรกของการเปลี่ยนผ่านองค์กรธุรกิจไปสู่ยุคดิจิทัล ก็คือ การนำกระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติ (Robotic Process Automation หรือ RPA) มาปรับใช้ในงานที่ทำเป็นประจำ หรืองาน routine เช่น งานเอกสารต่าง ๆ ที่องค์กรสามารถเซ็ตระบบอัตโนมัติเลียนแบบการทำงานของมนุษย์ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และช่วยลดเวลาและภาระต้นทุนต่าง ๆ ได้ ส่วนบันไดขั้นต่อ ๆ ไปของการเปลี่ยนผ่านในระดับที่ 2 คือ กระบวนการประมวลผลอัจฉริยะแบบอัตโนมัติ (Intelligent Process Automation: IPA) และระดับที่ 3 คือ กระบวนการรับรู้และเข้าใจแบบอัตโนมัติ (Cognitive Automation: CA)

สำหรับ Robotic Process Automation หรือตัวย่อ RPA คือ ระบบซอฟต์แวร์อัตโนมัติที่มีความสามารถในการจัดการข้อมูลจำนวนมากและงานประเภทที่ต้องทำซ้ำ ๆ ซึ่งระบบ RPA จะเข้าไปจัดทำและเปลี่ยนแปลงข้อมูลขั้นพื้นฐาน เช่น เอกสารพวกใบวางบิล ใบกำกับสินค้า รวมไปถึงกระบวนการรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า และการตรวจสอบการบันทึกต่าง ๆ เป็นต้น

ประโยชน์ที่องค์กรธุรกิจจะได้รับจากกระบวนการ RPA มีอะไรบ้าง

    ช่วยประหยัดต้นทุน และผสานรวมระบบการทำงาน (Save cost for integrating between system) ซึ่ง robot หรือหุ่นยนต์หนึ่งตัวเทียบเท่ากับพนักงานทำงานเต็มเวลา 3 คน

    องค์กรยังคงรูปแบบกระบวนการจัดการเอกสารได้ในแบบเดิม (Don’t need to change the business process)

    ลดเวลาในกระบวนการทำงาน (Reduce time-consuming in the work process) เพราะทำงานได้เร็วกว่าคนทำงานถึง 2 เท่า

    ลดภาระจากกระบวนการทำงาน (Reduce manual work process)

    เพิ่มความแม่นยำ (Increase accuracy) ในขณะที่ manual work process มักมี human error ประมาณ 5% แต่ถ้าเปลี่ยนมาใช้ RPA จะทำงานได้ถูกต้อง 100%

    ขจัดความผิดพลาดต่าง ๆ ที่เกิดจากการรวบรวมและนำส่งข้อมูลเข้าระบบ (Eliminate Errors by Automating Data Gathering and Input)

    เพิ่มโอกาสใหม่ ๆ ในการทำธุรกิจจากกระบวนการจัดการแบบอัตโนมัติ (Extend the Value of Business Process Automation)

เปรียบเทียบ RPA Process ที่ใช้ในปัจจุบัน

RPA Process

(แบบไม่มีทีมงานช่วยเหลือ)

RPA Process

(แบบมีทีมงานช่วยเหลือ)

ฟีเจอร์ที่น่าสนใจของโซลูชั่น RPA ที่ตอบโจทย์งานเอกสารดิจิทัลสำหรับองค์กร ได้แก่

    Robot Design Studio เพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งาน ไม่ต้องเขียนโปรแกรม ใช้เพียงโมดูลเดียวในกระบวนการสร้างหุ่นยนต์ (Robot Design Studio: No coding, a single design environment)

    หุ่นยนต์ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อเชื่อมต่อกับโปรแกรมการทำงานต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย (Design robots to connect to virtually any application)

    สามารถแปลงไฟล์ภาพเอกสาร ให้เป็นไฟล์ข้อความแบบอัตโนมัติ (OCR Document Extraction feature included)

    มีหน้าจออัจฉริยะในการควบคุมแบบอัตโนมัติ (Intelligent Screen Automation for virtualized environments)

    แดชบอร์ดสำหรับตรวจสอบการทำงานร่วมกันระหว่างหุ่นยนต์และพนักงาน (Process Intelligence Dashboard)

    ระบบควบคุมหุ่นยนต์จากส่วนกลาง และตั้งเวลาการทำงานได้ (Centrally manage & schedule robots)

    ติดตั้งเว็บเบราเซอร์, excel และ PDF มาเรียบร้อยแล้ว โดยไม่ต้องซื้อไลเซนส์เพิ่ม (Build-in web browser, excel capability, PDF file access without license required)

    ไลเซนส์การใช้งานต่อหุ่นยนต์ ซื้อแล้วใช้ได้ตลอด (Perceptual Robot license)

ทำความรู้จัก FX Robot

นอกจากการปรับใช้กระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติที่ล้ำสมัยแล้ว ผู้บริหารองค์กรสามารถวิเคราะห์ ออกแบบและวางแผนล่วงหน้า หรืออาจปรึกษาบริษัทผู้เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยจัดการนำซอฟต์แวร์ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้กับงานได้อย่างเหมาะสม เพิ่มประสิทธิภาพงานที่มีอยู่ ในขณะเดียวกันก็แบ่งเบาภาระงานที่เคยใช้แรงงานมนุษย์ในการปฏิบัติการเป็นหลัก เพื่อให้มนุษย์ทำงานที่สำคัญกว่าเดิม บริษัทที่ควรนำระบบอัตโนมัติ RPA เข้ามาประยุกต์ใช้ภายในองค์กร คือ บริษัทที่กำลังเผชิญกับปัญหาของระบบงานหลังบ้านที่มีปริมาณธุรกรรมมากมายมหาศาลในรูปแบบเดิม ๆ ทุก ๆ เดือน มีต้นทุนจากการจ้างแรงงานจากภายนอกอีกหลายร้อยคน

Political News