สำนักข่าวไทยไทม์นิวส์ • ThaitimeNews
loader
Foto

กสิกรไทย เปิดตัวแคมเปญ“สติ”เตือนคนไทยสู้ภัยกลโกงออนไลน์

ธนาคารกสิกรไทย เปิดตัวแคมเปญ“สติ”เตือนคนไทยใช้สติป้องกันภัยกลโกงออนไลน์ที่เกิดขึ้นสูง พร้อมพัฒนาระบบการปฏิบัติงาน เทคโนโลยี บุคลากร และร่วมมือข้ามธนาคาร เสริมความแข็งแกร่งรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ ควบคู่กับการให้ความรู้แก่ลูกค้าเพื่อใช้บริการการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างปลอดภัย พบปี 61 มีการแจ้งความกับกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีคดีที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ 973 คดี เสียหายกว่า 500 ล้านบาท

นายพิพิธ เอนกนิธิ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า  ในยุคที่โลกเชื่อมโยงด้วยเทคโนโลยีและระบบคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือยิ่งทำให้เกิดความเสี่ยงของภัยไซเบอร์ (Cyber Threat)  โดยมิจฉาชีพหรือแฮกเกอร์ (Hacker) มีวิธีการหลอกลวงหลากหลายรูปแบบและซับซ้อนมากขึ้น ทั้งการโจรกรรมข้อมูล หลอกลวงหรือการยักยอกเงิน โดยในรายงานความเสี่ยงระดับโลกประจำปี 2019 (Global Risks Report) ของสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ระบุว่าการโจมตีทางไซเบอร์ขนาดใหญ่ (Large Scale Cyber Attack) ถือเป็น 1 ใน 10 ความเสี่ยงที่สำคัญระดับโลก และเป็นความเสี่ยงสำคัญของระบบการเงินของโลกและไทย  นอกจากนี้  ปัจจุบันประชาชนนิยมใช้งานสื่อโซเชียลในการติดต่อสื่อสาร ทำธุรกรรมทางการเงิน โอนเงินชำระค่าสินค้าหรือซื้อขายผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งมิจฉาชีพเองก็อาศัยช่องทางเหล่านี้ในการหลอกลวงหรือฉ้อโกงเงินมากขึ้นตามไปด้วย

“ธนาคารกสิกรไทย ตระหนักถึงภัยไซเบอร์ดังกล่าว จึงได้พัฒนาทั้งด้านระบบการปฏิบัติงาน เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ ตลอดจนศักยภาพของบุคลากร เพื่อรองรับภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งรวมถึงการป้องกัน การติดตามตรวจจับ การรับมือ และการเยียวยาฟื้นฟู เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ใช้บริการของธนาคาร นอกจากนี้ยังได้ให้ความสำคัญกับการให้ความรู้แก่ลูกค้าถึงวิธีการใช้บริการการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างปลอดภัยด้วย”  นายพิพิธ กล่าว

ล่าสุด ธนาคารกสิกรไทย ได้ออกแคมเปญ “สติ” รณรงค์ให้คนไทยมีสติ ไม่ตื่นตระหนกเมื่อเจอเหตุการณ์ที่อาจตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพในโลกออนไลน์ ผ่านแฮชแท็กที่จำได้ง่ายๆ คือ #ใช้สติป้องกันสตางค์ โดยมุ่งเน้น 3 ภัยไซเบอร์ที่มีประชาชนตกเป็นเหยื่อบ่อยครั้ง ได้แก่

1) ฟิชชิ่ง (Phishing) เทคนิคหลอกลวงทางอีเมล SMS หรือหน้าเว็บไซต์ปลอม โดยสร้างสถานการณ์ให้ลูกค้าที่ตกเป็นเหยื่อเกิดความตื่นตระหนก หรือเข้าใจผิดว่าได้รับผลประโยชน์บางอย่าง จนนำไปสู่การกดลิงก์เพื่อหลอกให้กรอกข้อมูลสำคัญ หรือเปิดไฟล์แนบที่มีโปรแกรมประสงค์ร้ายและนำไปสู่ความเสียหายต่าง ๆ กับเหยื่อ เช่น นำชื่อบัญชีและรหัสผ่านไปเข้าระบบออนไลน์ แบงกิ้งและโอนเงินออกจากบัญชี หรือใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของเหยื่อเพื่อสวมตัวตนสมัครใช้บริการทางการเงิน

2) การหลอกลวงทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยมิจฉาชีพจะแอบอ้าง หรือสวมตัวตนเป็นเหยื่อ แล้วไปทำทุจริต หรือหลอกลวงบุคคลอื่นจนทำให้เกิดความเสียหาย โดยเหยื่อที่ถูกหลอกลวงอาจจะสูญเงินในบัญชี และบุคคลที่ถูกสวมตัวตนอาจตกเป็นผู้ต้องสงสัยว่ากระทำความผิด ซึ่งอาจถูกลงโทษทางกฎหมายได้

3) แก๊งคอลเซ็นเตอร์ เป็นขบวนการหลอกเหยื่อทางโทรศัพท์โดยสร้างสถานการณ์ให้เหยื่อเกิดความตื่นตระหนก หรือเข้าใจผิดว่าได้รับผลประโยชน์บางอย่าง หากเหยื่อหลงเชื่อและทำตามที่มิจฉาชีพบอก อาจเกิดความเสียหายถึงขั้นถูกหลอกให้โอนเงินจนหมดบัญชี หรือถูกหลอกให้บอกข้อมูลของบัตรเครดิต เพื่อนำไปซื้อสินค้าออนไลน์ จนทำให้เจ้าของบัตรเครดิตเป็นหนี้โดยไม่รู้ตัว

ภัยไซเบอร์ถือเป็นภัยใกล้ตัวที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวันของคนไทยมากยิ่งขึ้น ในปี 2561 ประเทศไทยพบคดีที่เกี่ยวกับการกระทำผิด ซึ่งมีระบบคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ จำนวน 973 คดี คิดเป็นร้อยละ 35 ของคดีที่มีการแจ้งความทั้งหมดกับกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) มีมูลค่าความเสียหายมากกว่า 500 ล้านบาท โดยมีรูปแบบครอบคลุมตั้งแต่การหลอกขายสินค้า หลอกโอนเงินผ่านอีเมล หลอกโอนเงินผ่านโทรศัพท์  ปลอมเป็นบุคคลอื่นเพื่อหลอกโอนเงิน ด้วยวิถีชีวิตที่มีเทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่ง ทำให้มิจฉาชีพใช้กลโกงหาช่องทางและสร้างสถานการณ์ต่าง ๆ ทำให้คนหลงเชื่อ และคิดว่าตนเองจะได้รับผลประโยชน์มากมายได้โดยง่าย การที่ #ใช้สติป้องกันสตางค์ จึงถือเป็นเครื่องมือสำคัญ ในการป้องกันกลโกงจากภัยไซเบอร์ที่จำเป็นสำหรับทุกคน ทั้งนี้ ธนาคารกสิกรไทยจะมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร สาระความรู้ด้านการใช้บริการทางการเงินบนโลกออนไลน์อย่างปลอดภัยอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันแก่คนไทยผู้ใช้งาน สามารถติดตามได้ที่ https://www.kasikornbank.com/th/personal/Digital-banking/KBankCyberRisk/Pages/index.aspx

KBank unveils “SATI” campaign to warn Thais of online scams

KASIKORNBANK launches “SATI” campaign to raise awareness among Thai consumers in order to stay ahead of the proliferation of online frauds. To this end, KBank has enhanced efficiency in its operational systems, technologies and personnel while also strengthening cross-bank collaboration as part of preventative efforts against cyber threats. Along with this, customers have been equipped with online security knowledge to ensure that they can use electronic financial services wisely and safely. In 2018, there were 973 technology crime cases involved with computer system, with loss over 500 million Baht, according to Technology Crime Suppression Division.

Mr. Pipit Aneaknithi, KBank President, disclosed that in the era where the world is connected through technology and computer, especially amid the widespread use of mobile phones, we are more exposed to cyber security risks. As evidenced, hackers have used more sophisticated and advanced techniques in committing identity crime. According to the 2019 Global Risks Report published by the World Economic Forum, large-scale cyber attacks are among the top ten global risks and are critical for the financial system globally. As consumers have increasingly relied on social media for communicating with one another, conducting financial transactions and making funds transfer for online trade, criminals have taken advantage of vulnerabilities in cyber security to commit crimes.

“KBank is fully aware of such cyber threats and has developed various operational systems, technologies and innovations, as well as improving the capacities of our personnel to cope with those risks, including prevention, monitoring, detection and disaster recovering planning, aimed at building confidence of users towards KBank services. In addition, we have attached importance to providing knowledge to our clients on how to use electronic financial services with enhanced security”, Mr. Pipit said.

 Recently, KBank launched the “SATI” campaign to promote Thais to be conscious and not be frightened when falling victim to online scams via an easy-to-remember hashtag #UseSATIToProtectSATANG. This campaign is intended to create the awareness of the three most common cyber treats, as follows:

1) Phishing is a cybercrime in which an attacker, masquerading as a trusted entity, dupes a victim into opening an email, SMS or website. The victim is then tricked into clicking a malicious link or downloading an attachment. An attack can have devastating results, including the stealing of funds via unauthorized use of the victim’s account and password or identity theft. 

2) Social media scam is committed by cybercriminals who impersonate the victims for illegal purposes or deceive others and cause financial damages.  The victims may lose money in their banking accounts while some victims may also be accused of committing a crime and be punished by law.

3) Call Center gang is a phone scam that fraudsters create a situation to make the victims panic or deceive them to believe that they receive certain benefits. Once convinced, the victims may follow the gang’s instructions by transferring all money in their bank accounts or revealing their credit card information to perpetrators in order to purchase online goods, driving them into credit card debt unknowingly.

Cyber threat is a danger associated with daily routines of Thais.  In 2018, there were 973 criminal cases involved with computer system, representing 35 percent of all cases reported to Technology Crime Suppression Division, with a total damage worth over THB500 million. The scam patterns include sales frauds, or perpetrators manipulating victims to transfer money via or email or by phone. Some also claim to be someone else to dupe the victims to swindle their money. As digital technology has become a big part of people’s lives, cybercriminals have used new tricks and created situations to mislead people that they could receive easy windfalls. Therefore, #UseSATIToProtectSATANG is an essential tool to protect themselves from cyber threats.  KBank will publicize information and knowledge about safety tips for online financial services regularly to create immunity for all users in Thailand. More information can be found at https://www.kasikornbank.com/th/personal/Digital-banking/KBankCyberRisk/Pages/index.aspx.

Political News