สำนักข่าวไทยไทม์นิวส์ • ThaitimeNews
loader
Foto

สภาวิศวกร ชี้บทเรียนเหตุการณ์สะพานถล่มที่อิตาลี สู่กรณีไทยต้องเตรียมความพร้อมที่ไม่ประมาท

ศ.ดร. อมร พิมานมาศ เลขาธิการสภาวิศวกร  ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุการณ์สะพานโมรานดิที่ประเทศอิตาลีพังถล่มลงมามีผู้เสี ยชีวิตจนถึงปัจจุบัน 39 รายแล้ว ปัจจุบันก็ยังอยู่ระหว่างค้นหาผู้ ที่ยังติดใต้ซากสะพานอีก การถล่มของสะพานที่อิตาลีครั้งนี้ เป็นเรื่องใหญ่มาก และแม้ว่าจะเกิดขึ้นห่างไกลจากป ระเทศไทย แต่ก็ถือว่าไม่ได้เป็นเรื่องที่ ไกลตัวเลย เพราะแต่ละประเทศก็มีสะพานใช้งา นจำนวนมาก รวมถึงประเทศไทยด้วย

ในทางวิศวกรรม สะพานจำแนกได้ หลายรูปแบบ เช่น สะพานช่วงสั้น มักมีช่วงพาดไม่เกิน 20-40 ม. สะพานช่วงปานกลางมีช่วงพาดประมา ณ 40-80 ม. และ สะพานช่วงยาวมีช่วงพาดเกิน 100 ม. ขึ้นไป สะพานยังอาจแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ตามวัสดุที่ใช้ก่อสร้างได้แก่ สะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก สะพานคอนกรีตอัดแรง และ สะพานเหล็ก สะพานที่มีขนาดใหญ่และช่วงพาดยิ่งยาว และที่ผ่านการใช้งานมานานก็ยิ่ง มีระบบโครงสร้างที่ซับซ้อน ก็อาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอีก

ปัจจัยที่ทำให้สะพานถล่ม มี 5 สาเหตุหลักคือ 1. การออกแบบผิดพลาด 2. การก่อสร้างผิดพลาดหรือไม่ถูกวิ ธี 3. วัสดุเสื่อมสภาพ 4. น้ำหนักบรรทุกมากเกินไป เช่น รถบรรทุกขนาดใหญ่ และ 5. ภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว และ แรงลม เป็นต้น

การถล่มของสะพานอาจเกิดขึ้นได้ ทั้งขณะที่อยู่ระหว่างการก่อสร้ าง และ ที่เปิดใช้งานแล้ว ในบ้านเราพบการพังถล่มของสะพานเ กิดขึ้นระหว่างการก่อสร้าง สาเหตุเกิดขึ้นจากระบบค้ำยันและ นั่งร้านไม่แข็งแรงพอ แต่การวิบัติของสะพานโมรานดิในป ระเทศอิตาลี เป็นการวิบัติของสะพาน ที่มีอายุการใช้งานมากว่า 50 ปีแล้ว เพราะสะพานแห่งนี้เริ่มเปิดใช้ง านมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 การวิบัติที่เกิดขึ้นจัดว่าเป็น การวิบัติแบบเฉียบพลัน สาเหตของการวิบัติยังไม่ทราบแน่ ชัด และต้องรอการพิสูจน์ทางนิติวิศว กรรมศาสตร์โดยผู้เชี่ยวชาญ

อย่างไรก็ตาม สะพานโมรานดิ มีลักษะเป็นสะพานขึงช่วงยาว เหล็กที่ใช้ขึงตัวสะพานฝังอยู่ใ นแท่งคอนกรีต ที่ดึงพื้นสะพานเพียงด้านละ 1 จุดเท่านั้น สันนิษฐานว่า วัสดุในการรับน้ำหนัก ได้แก่ เหล็กที่ใช้ขึงสะพาน อาจเกิดการวิบัติที่ตัวเหล็กเอง หรือ ที่ข้อต่อเหล็ก เนื่องจากการเสื่อมสภาพ การเกิดสนิม หรือ ความล้าของข้อต่อที่เกิดจากน้ำห นักรถบรรทุกและยานพาหนะอื่นที่วิ่ งผ่านไปมาหลายล้านรอบตลอด 50 กว่าปีที่ผ่านมา

การถล่มของสะพานที่อิตาลีนี้ ถือเป็นบทเรียนสำคัญว่าเหตุการณ์ ลักษณะนี้ อาจเกิดขึ้นได้อีก ณ ที่ใดก็ได้ในโลกนี้ ในทางวิศวกรรม เหตุการณ์ดังกล่าวมีหนทางป้องกั นได้โดยใช้วิธีการตรวจติดตามสุข ภาพโครงสร้างสะพาน (Structural health monitoring system) ซึ่งเหมือนการตรวจสุขภาพร่างกาย คน โดยแบ่งได้เป็น การตรวจสอบรายวัน รายปี และการตรวจสอบพิเศษ การตรวจสอบทำได้ทั้งการตรวจสอบด้ วยสายตา โดยสังเกตรอยร้าว การบิด การเคลื่อนตัว หรือ แม้กระทั่งเสียงโครงสร้างที่ดัง ลั่นผิดปกติ หรือ การสั่นสะเทือนที่มากผิดสังเกต ล้วนแล้วแต่เป็นสัญญานเตือนภัยบ อกเหตุผิดปกติในโครงสร้างล่วงหน้ าได้ทั้งสิ้น นอกจากการตรวจสอบด้วยสายตาแล้ว การตรวจวัดด้วยเครื่องมือทางวิศ วกรรม อาศัยเทคโนโลยีขั้นสูงแบบไม่ทำล าย ในปัจจุบันสามารถวัดค่าความเค้น ความเครียด การเสียรูปของสะพานและทำการประม วลผลแบบเรียลไทม์ได้ ช่วยให้มีข้อมูลประกอบการตัดสิน ใจที่ซ่อมแซมหรือเสริมกำลังได้ทั นท่วงที

สาเหตุหนึ่งที่สะพานพังถล่ม อาจจะเกิดจากการละเลยเรื่องการต รวจสอบและดูแลรักษา อย่าลืมว่าโครงสร้างทุกประเภท มีอายุการใช้งาน โดยเฉพาะโครงสร้างประเภทสะพาน ที่ต้องรับรองน้ำหนักยานพาหนะที่เคลื่อนผ่านไปมา ทำให้เกิดแรงพลศาสตร์กระทำต่อโค รงสร้าง เป็นอันตรายยิ่งกว่า น้ำหนักที่แช่อยู่นิ่งๆ เสียอีก และเมื่อถึงจุดๆ หนึ่งโครงสร้างจะเกิดความล้า (fatigue) นำไปสู่การวิบัติได้ หนทางที่ดีที่สุดคือต้องไม่ประม าท ต้องจัดให้มีโปรแกรมการตรวจสอบแ ละดูแลรักษาสะพานอย่างเคร่งครัด จะช่วยลดความเสี่ยงการถล่มของสะ พานได้

Political News