สำนักข่าวไทยไทม์นิวส์ • ThaitimeNews
loader
Foto

บล.ไทยพาณิชย์ คงมุมมองเชิงบวกต่อเศรษฐกิจ คาดSET indexพลิกฟื้นไตรมาส3และขยับสู่เป้าหมาย1900จุด

บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด (SCBS) คงมุมมองเศรษฐกิจเชิงบวก ด้วยปัจจัยสนับสนุนทั้ งจากในประเทศและต่างประเทศบ่งชี้ ดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจยังคงเติ บโตดี คาด SET index พลิกฟื้นในไตรมาส 3/61 และปรับตัวขึ้นสู่ระดับเป้ าหมายที่ 1900 จุดภายในสิ้นปีนี้ โดยได้รับแรงสนับสนุนจากทั้ งการปรับขึ้นของ PE Ratio และการเติบโตของกำไรบริษัท  ทั้งนี้ตั้งแต่ต้นปี 2561 เป็นต้นมามีพัฒนาการที่น่าสนใจ 2 อย่างในด้านเศรษฐกิจมหภาค คือ การกลับมาปรับตัวขึ้นของอั ตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรั ฐฯ และการกลับมาแข็งค่าของดอลลาร์ สหรัฐซึ่งน่าจะมีโมเมนตัมต่อเนื่ องไปในครึ่งหลังของปี กลุ่มกิจการที่น่าจะได้รับอานิ สงส์จากเงินบาทอ่อนค่าและอั ตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นได้แก่ กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อาหาร และธนาคาร

นายอิสระ อรดีดลเชษฐ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน สายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด (SCBS) กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยขยายตัวอย่างแข็ งแกร่งถึง 4.8%YoY ในไตรมาสแรกของปี 61 โดยเติบโตสูงกว่าที่ตลาดคาด (4.0% YoY) และค่าเฉลี่ยระยะยาวที่ 4.25% ในขณะที่เมื่อเทียบไตรมาสต่ อไตรมาสเศรษฐกิจไทยก็ขยายตัว 1.3% ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่ดี และกระจายตัวในหลายธุรกิจ เช่น ผลผลิตสินค้าเกษตรปรับตัวเพิ่ มขึ้น 6.5%YoY ในขณะที่ผลผลิตนอกกลุ่มสินค้ าเกษตรปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.7%YoY โดยมีธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร (5.8% ของ GDP) เติบโตอย่างโดดเด่นถึง 12.8%YoY สอดคล้องกับธุรกิจท่องเที่ยวที่ เติบโตอย่างแข็งแกร่ง นอกจากนี้อุปสงค์ในประเทศ ทั้งการบริโภคและลงทุนต่างก็มี โมเมนตัมที่ดี ซึ่งหากแนวโน้มเช่นนี้ยังดำเนิ นต่อไปจะทำให้เศรษฐกิจยั งคงขยายตัวได้ดีและต่อเนื่ องไปในอนาคต

ด้านเศรษฐกิจต่างประเทศดอลลาร์ สหรัฐมีแนวโน้มจะแข็งค่าอย่างต่ อเนื่อง เห็นได้จากดัชนีดอลลาร์สหรัฐ (DXY) ปรับตัวเพิ่มขึ้น 6% มาตั้งแต่กลางเดือนเม.ย. โดยล่าสุดเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 93.5-94.5 ซึ่งการปรับตัวเพิ่มขึ้ นในระยะหลังนี้ได้รับแรงขับเคลื่ อนจากปัจจัยทางพื้นฐานมากกว่าปั จจัยทางเทคนิค  ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรั ฐบาลสหรัฐฯ กลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรั ฐบาลอายุ 10 ปีของสหรัฐฯ ฟื้นตัวจากระดับตํ่าสุดนับตั้ งแต่ต้นปี 2561 ที่ 2.4% ในช่วงต้นเดือนม.ค. ขึ้นมาอยู่ที่ 2.9% ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้ งแต่ต้นปี 2557 เชื่อว่าเทรนด์นี้จะดำเนินไปอย่ างต่อเนื่อง สนับสนุนโดยการปรับขึ้นอั ตราดอกเบี้ยนโยบายตามอัตราเงิ นเฟ้อและอัตราการขยายตั วทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการเติบโตของค่าจ้ างและการตึงตั วของตลาดแรงงานในสหรัฐฯ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยพันธบั ตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น ดันอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรไทยปรั บขึ้นตามไปด้วย  ทั้งนี้ล่าสุดดอกเบี้ยพันธบั ตรสหรัฐฯ ก็สูงกว่าพันธบัตรไทยไปแล้วซึ่ งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2559

ปัจจัยดังกล่าวจะทำให้ค่าเงิ นบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง โดยอัตราแลกเปลี่ยนบาท/ดอลลาร์ สหรัฐอ่อนค่าจาก  31 บาท/ดอลลาร์เมื่อปลายเดือนมี.ค. มาอยู่ที่ 33 บาท/ดอลลาร์สหรัฐในปัจจุบัน ซึ่งเป็นระดับที่อ่อนค่าที่สุ ดนับแต่เดือนพ.ย. 2560 โดยปัจจัยขับเคลื่อนทิศทางอั ตราแลกเปลี่ยน THB/USD ที่สำคัญที่สุด คือ ตัวดอลลาร์เองที่แข็งค่าขึ้น นอกเหนือไปจากปัจจัยอื่นๆ เช่นผลต่างอัตราดอกเบี้ย อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ ความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจ และดุลบัญชีเดินสะพัด ทั้งนี้อีกปัจจัยที่จะทำให้ ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นคือ การชะลอตัวของเศรษฐกิจยูโรโซนที่ เผชิญกับแรงเสียดทานหลายอย่ างในเดือนที่ผ่านๆ มาเริ่มตั้งแต่สภาพอากาศที่ยํ่ าแย่ อุปสงค์ที่ชะลอตัวลง ข้อจำกัดทางด้านอุปทาน และปัญหาการเมืองในบางประเทศหลั กๆ ในอิตาลี ส่งผลทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิ จปรับตัวลดลงตั้งแต่ต้นปีนี้ และยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัวนับถึ งปัจจุบัน ทำให้เมื่อเทียบกันเงินดอลลาร์ สหรัฐยังคงมีแนวโน้มแข็งค่าต่ อไป

ความเสี่ยงสำคัญที่ต้องจั บตามองและกำลังส่งผลกระทบต่ อตลาดตอนนี้คือ นโยบายประชานิยมในรูปแบบที่ก่ อให้เกิดการกีดกันทางการค้า โดยเห็นกันมาแล้วตั้งแต่การโหวต Brexit การมีข่าวเรื่องอาจมีการแยกตั วจากสหภาพยุโรปของสมาชิ กบางประเทศ ต่อเนื่องมาจนถึงสหรัฐฯ ที่นอกจากจะมีเรื่องสงครามภาษี กับจีนแล้ว ยังหันมาขึ้นภาษีกีดกันทางการค้ ากับประเทศพันธมิตรอย่างเพื่ อนบ้านแคนาดาและเม็กซิโก ไปจนถึงพันธมิตรในยุโรป ซึ่งอาจส่งผลต่อการเติ บโตของเศรษฐกิจโลกในระยะต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้ ภาวะนโยบายการเงินที่ตึงตัวขึ้ นอย่างการขึ้นดอกเบี้ย ทั้งนี้ เรายังมีมุมมองว่าสุดท้ายจะมี การเจรจาเพื่อหาข้อตกลงกันได้ เพียงแต่ในช่วงนี้ข่าวสารต่างๆ น่าจะยังส่งผลลบต่อตลาดอยู่

แนวโน้มตลาดและ top picks ในไตรมาส 3/61 การปรับตัวลดลงของ SET index มาตั้งแต่ต้นไตรมาส 2/61 ส่งผลทำให้ valuation ของ SET ลดความแพงลง โดยอัตราส่วน 12-month forward PE ratio ลดลงจากราว 16 เท่ามาสู่ 14 เท่า โดยเรามองว่าน่าจะเห็นการรี บาวด์ในไตรมาส 3/61 ตามพื้นฐานเศรษฐกิ จของประเทศไทยที่ดี สภาพคล่องที่อยู่ในระดับสูง โดยหุ้น top picks ประจำไตรมาส 3/61 ของเราจึงจัดทัพรับเรทขึ้น เน้นหุ้นที่ราคายังขึ้นน้อยกว่ าตลาดและมีปัจจัยสนับสนุ นจากการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐ และอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น โดยกลุ่มที่จะได้ประโยชน์จากเรื่ องดังกล่าวหลัก ๆ คือ กลุ่มส่งออก และ กลุ่มธนาคาร

  • BBL: ได้ประโยชน์มากที่สุดจากแรงส่ งเศรษฐกิจ รายได้ค่าธรรมเนียมจะเติ บโตโดดเด่น ROE จะกลับขึ้นมาอยู่ในระดับก่อนวั ฏจักร NPL ได้ประโยชน์จากอัตราผลตอบแทนพั นธบัตรที่สูงขึ้น
  • KTB: กลับมาขยายสินเชื่อเพิ่มพร้อมกั บตั้งสำรองลดลง valuation น่าสนใจที่ PBV 0.8 เท่า (-1SD) ได้ประโยชน์จากอัตราผลตอบแทนพั นธบัตรที่สูงขึ้น
  • HANA: ราคาหุ้น และ valuation ล้าหลังกว่าตลาด จะได้รับประโยชน์จากดอลลาร์สหรั ฐแข็งค่าและความต้องการชิ้นส่ วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ยังเติบโตดี
  • KCE: ราคาหุ้นล้าหลังกว่าตลาด รับประโยชน์จากดอลลาร์สหรัฐที่ แข็งค่าขึ้น ต้นทุนวัตถุดิบที่มีเสถี ยรภาพและปัญหาคอขวดการผลิตที่ คลี่คลายลงจะช่วยสนับสนุ นผลการดำเนินงาน
  • CPF: ราคาหุ้นล้าหลังได้ประโยชน์ จากดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้น ธุรกิจหมูมีแนวโน้มฟื้นตั วในไตรมาส 2/61 และกำไรจากการแปลงสภาพหุ้นกู้ อนุพันธ์ (EB) จะช่วยกระตุ้นให้ราคาหุ้นปรับขึ้ น
  • TU: ราคาหุ้นล้าหลัง แต่กำไรจะกลับมาเติบโตตั้งแต่ ไตรมาส 2/61 หลังจากต้นทุนวัตถุดิบลดลง ได้ประโยชน์จากดอลลาร์สหรัฐแข็ งค่า

Political News