สำนักข่าวไทยไทม์นิวส์ • ThaitimeNews
loader
Foto

ธนาคารกสิกรไทย แจ้งผลประกอบการงวดครึ่งปีแรกปี65กำไร22,005ล้านบาท

นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2565 ยังคงเติบโตได้ต่อเนื่องจากไตรมาสแรกของปี โดยการบริโภค การลงทุนภาคเอกชน และการส่งออกขยายตัวต่อเนื่อง เช่นเดียวกับภาคการท่องเที่ยวซึ่งจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทยอยเพิ่มสูงขึ้น หลังทางการไทยผ่อนคลายมาตรการเปิดประเทศ อย่างไรก็ดีภาคการผลิตยังมีทิศทางอ่อนแอ เพราะต้องรับมือกับต้นทุนวัตถุดิบและพลังงานที่สูงขึ้น รวมถึงปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วน สำหรับแนวโน้มในช่วงที่เหลือของปี มองว่า แม้เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวต่อเนื่อง แต่ต้องติดตามแรงกดดันจากปัญหาเงินเฟ้อที่จะมีผลกระทบต่อภาคครัวเรือน และทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยเข้าสู่วัฏจักรขาขึ้น อย่างไรก็ตาม ธนาคารกสิกรไทยและบริษัทย่อยเดินหน้าเชิงกลยุทธ์ด้วยการใช้เทคโนโลยี และกระบวนการใหม่ ๆ รวมทั้งการผนึกกำลังพาร์ทเนอร์เชิงพาณิชย์ในการขยายโอกาสการเข้าถึงบริการธนาคารให้กับประชาชนในวงกว้างสามารถเข้ามาอยู่ในระบบธนาคารพาณิชย์ ให้ได้รับการสนับสนุนเงินทุนและสภาพคล่อง และใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ และบริการต่าง ๆ ของธนาคาร

ผลการดำเนินงานสำหรับงวดแรกปี 2565 เมื่อเปรียบเทียบกับงวดแรกปี 2564

ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิจำนวน 22,005 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนจำนวน 2,484 ล้านบาท หรือ 12.72% หลัก ๆ เกิดจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นจำนวน 5,913 ล้านบาท หรือ 10.22% จากรายได้ดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อซึ่งเพิ่มขึ้นตามการเติบโตของเงินให้สินเชื่อใหม่ตามยุทธศาสตร์ของธนาคาร และการให้สินเชื่อเพื่อสนับสนุนให้ลูกค้าดำเนินธุรกิจได้ตามปกติสอดคล้องกับการขยายตัวของเศรษฐกิจจากการผ่อนคลายมาตรการทั้งในและต่างประเทศ ในขณะที่รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลงจำนวน 4,671 ล้านบาท หรือ 20.28% ส่วนใหญ่เกิดจากการปรับมูลค่ายุติธรรม (Mark to market) ตามภาวะตลาดของสินทรัพย์ทางการเงินซึ่งเป็นการลงทุนตามธุรกิจปกติของบริษัทย่อย รวมทั้งรายได้สุทธิจากการรับประกันภัย และค่าธรรมเนียมรับจากการจัดการกองทุนที่ลดลง สำหรับค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ เพิ่มขึ้นจำนวน 1,860 ล้านบาท หรือ 5.53% หลัก ๆ จากค่าใช้จ่ายทางการตลาด และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน นอกจากนี้ ธนาคารและบริษัทย่อยตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss : ECL) ในระดับที่ใกล้เคียงกับงวดเดียวกันของปีก่อน โดยยังคงใช้หลักความระมัดระวังอย่างต่อเนื่องในการพิจารณาปัจจัยเชิงเศรษฐกิจต่าง ๆ อย่างรอบคอบ

ผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาส 2 ปี 2565 เปรียบเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2565

ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิไตรมาส 2 ปี 2565 จำนวน 10,794 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อน 417 ล้านบาท หรือ 3.72% โดยรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นจำนวน 261 ล้านบาท หรือ 0.82% ส่วนใหญ่จากรายได้ดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อซึ่งเพิ่มขึ้นตามการเติบโตของเงินให้สินเชื่อ ทำให้อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net interest margin : NIM) อยู่ที่ระดับ 3.21% นอกจากนี้ รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจำนวน 637 ล้านบาท หรือ 7.17% ส่วนใหญ่เกิดจากรายได้สุทธิจากการรับประกันภัยที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่การปรับมูลค่ายุติธรรม (Mark to market) ของสินทรัพย์ทางการเงิน ค่าธรรมเนียมรับจากการจัดการกองทุน และค่านายหน้าจากการซื้อขายหลักทรัพย์ลดลงตามภาวะตลาด สำหรับค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ เพิ่มขึ้นจำนวน 680 ล้านบาท หรือ 3.90% หลัก ๆ จากค่าใช้จ่ายทางการตลาด และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาคาร สถานที่และอุปกรณ์ ส่งผลให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ต่อรายได้จากการดำเนินงานสุทธิ (Cost to income ratio) ในไตรมาสนี้อยู่ที่ระดับ 43.53% นอกจากนี้ ธนาคารและบริษัทย่อยตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss : ECL) เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนจำนวน 516 ล้านบาท หรือ 5.53% สอดคล้องกับการเติบโตของเงินให้สินเชื่อ และปัจจัยเชิงเศรษฐกิจต่าง ๆ 

ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2565 ธนาคารและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมจำนวน 4,187,779 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2564 จำนวน 84,380 ล้านบาท หรือ 2.06% ส่วนใหญ่เป็นการเติบโตของเงินให้สินเชื่อ สำหรับเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อ (%NPL gross) ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2565 อยู่ที่ระดับ 3.80% โดยธนาคารได้เริ่มดำเนินการเชิงรุกผ่านการร่วมมือกับพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อยกระดับการบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพให้ดียิ่งขึ้น และยังมีเป้าหมายเพื่อช่วยคืนลูกหนี้ที่มีสถานะทางการเงินที่ดีสามารถกลับเข้าสู่ระบบสถาบันการเงินได้ในอนาคต สำหรับอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์เสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินธนาคารกสิกรไทยตามหลักเกณฑ์ Basel III ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2565 อยู่ที่ 18.37% โดยมีอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 อยู่ที่ 16.39%

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

KASIKORNBANK announced the the first half of 2022 net profit of Baht 22,005 Million 

Ms. Kattiya Indaravijaya, Chief Executive Officer of KASIKORNBANK, said the Thai economy continued to grow in the second quarter of 2022. Private consumption, investment, and exports increased along with positive signs in the tourism sector, showing that international tourist arrivals rose following the relaxation of international travel restrictions. However, industrial production remained subdued amid elevated production and energy costs, as well as multiple parts shortages. Looking into the remainder of 2022, the Thai economy will grow further, but the soaring inflation should be closely monitored as it may affect household spending and the Thai policy rate that would be on an upward trend. However, KBank and its subsidiaries have made a strategic move through using new technology and processes including commercial partnerships to boost access to banking services among a broader range of the public, that can help them enter the banking system to get capital and liquidity support and benefit from banking products and services.

Operating performance for the first half of 2022 compared with the first half of 2021,

KBank and its subsidiaries reported net profit of Baht 22,005 Million, an increase of Baht 2,484 Million or 12.72% over the same period of 2021 mainly due to an increase of net interest income by Baht 5,913 Million or 10.22% from interest income from loans to customers according to growth of new lending in line with the Bank’s business direction and lending to support customers to resume normal business operations in line with the economic expansion from the relaxation of both domestic and international measures. While non - interest income decreased by Baht 4,671 Million or 20.28%, mainly due to the mark to market according to market condition of financial assets which is the normal investment business of subsidiary. In addition, net premiums earned - net and fees from fund management decreased. Other operating expenses increased by Baht 1,860 Million or 5.53%, mainly due to marketing expenses and employee expenses. Moreover, KBank and its subsidiaries set aside expected credit loss that was approximate to the same period of 2021 with continuous prudent consideration on economic factors.

Operating performance for the second quarter of 2022 compared with the first quarter of 2022,

KBank and its subsidiaries reported net profit for the second quarter of 2022 amounting to Baht 10,794 Million, a decrease from the preceding quarter of Baht 417 Million or 3.72%. Net interest income increased by Baht 261 Million or 0.82% mainly due to interest income from loans to customers according to loans growth. NIM stood at 3.21%. In addition, non - interest income increased by Baht 637 Million or 7.17% mainly due to net premiums earned - net increased, while the mark to market of financial assets, fees from fund management and brokerage fees decreased according to market condition. Other operating expenses increased by Baht 680 Million or 3.90% mainly due to marketing expenses and premises and equipment expenses, resulting in the cost to income ratio that stood at 43.53% in this quarter. Moreover, KBank and its subsidiaries set aside higher expected credit loss from the preceding quarter by Baht 516 Million or 5.53% according to loans growth and economic factors.

As of 30 June 2022, KBank and its subsidiaries’ total assets were Baht 4,187,779 Million, an increase of Baht 84,380 Million or 2.06% over the end of 2021. The majority came from loans growth. As of 30 June 2022, NPL gross to total loans stood at 3.80%. KBank has proactively embarked on cooperation with professional partners not only enhance the effectiveness of non-performing loans management, but also revive customer’s financial status and return these customers to the financial system in the future. In addition, as of 30 June 2022, KASIKORNBANK FINANCIAL CONGLOMERATE’s Capital Adequacy Ratio (CAR) according to the Basel III Accord was 18.37%, with a Tier-1 Capital ratio of 16.39%.

Political News