สำนักข่าวไทยไทม์นิวส์ • ThaitimeNews
loader
Foto

อุทยานการเรียนรู้ ชวนอาสา“ปันเสียง”ให้กับผู้บกพร่องทางการมองเห็น

การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและน วัตกรรมด้านการอ่านการเรียนรู้วั นนี้ แม้จะส่งผลให้โลกของการเรียนรู้ ของคนเราเปิดกว้างมากขนาดไหน  แต่...ปัจจุบันพบว่า ยังมีกลุ่มผู้บกพร่องทางการมองเ ห็นและผู้บกพร่องทางการอ่าน ที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเรี ยนรู้และขาดการสนับสนุ นในการเสาะแสวงหาความรู้เป็ นจำนวนมาก

          อุทยานการเรียนรู้ TK park จึงเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้กับ เยาวชน ได้มาร่วมกันทำความดี แบ่งปันความสุขจากการอ่าน เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงหนั งสือ และความรู้ดีๆ ให้กับผู้บกพร่องทางการมองเห็นแ ละผู้บกพร่องทางการอ่าน ด้วยการจัดทำโครงการ “ปันเสียง” เพื่อจัดทำหนังสือเสียงในระบบเด ซี (Daisy - Digital Accessible Information System)  มอบให้กับห้องสมุดคนตาบอดและผู้ พิการทางสื่อสิ่งพิมพ์แห่งชาติ มูลนิธิคนตาบอดไทย และศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาเพื่อ คนตาบอดมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งป ระเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์  รวมทั้งให้บริการหนังสือเสียงใน พื้นที่ของอุทยานการเรียนรู้ TK park และห้องสมุดเครือข่าย

           ดร. อธิปัตย์ บำรุง ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและพั ฒนาองค์ความรู้ กำกับดูแลอุทยานการเรียนรู้ TK park กล่าวว่าการจัดทำโครงการ“ปันเสี ยง” เป็นการเชิญชวนให้เยาวชนอายุตั้ งแต่ 16 ปีขึ้นไปจับคู่กันมาสมัครเป็นอา สาอ่านหนังสือเสียง ระบบเดซี ซึ่งเป็นการทำหนังสือเสียงที่ ได้นำเอาระบบดัชนีตามโครงสร้ างต่างๆ ของหนังสือ เช่น บท หน้า ย่อหน้าและบรรทัด มาใส่ไว้ในตัวชุดของหนังสือเสีย งด้วย โดยใช้โปรแกรมพิเศษในการบันทึกแ ละเรียบเรียงเสียงตามโครงสร้าง  จนได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นหนังสือ Daisy ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายหนังสือเล่ ม  โดยเมื่อเปิดฟังด้วยโปรแกรมที่ กำหนดไว้ก็จะสามารถเลือกหน้า เลือกบทหรือแม้แต่บรรทัดได้ ทำให้ผู้บกพร่องทางการมองเห็นแล ะผู้บกพร่องทางการอ่านสามารถเข้ าถึงหนังสือเสียงได้สะดวกและได้ รับความรู้ง่ายขึ้น

           โดยโครงการได้จัดกิจกรรมในรูปแบ บค่ายอาสาปันเสียง เริ่มรับสมัครตั้งแต่เดือนกุมภา พันธ์ 2561 จำนวนทั้งหมด 10 รุ่นๆ ละประมาณ 20-22 คน ซึ่งปรากฏว่ามีเยาวชนสนใจสมัครเ ข้ามาเป็นจำนวนมาก แต่เนื่องจากสามารถรับได้ จำนวนจำกัด กิจกรรมนี้นอกจากเป็นการปลูกฝัง จิตสำนึกการเป็นจิตอาสาให้กับน้ องๆ แล้วยัง  เป็นโอกาสในการฝึกอบรมพัฒนาทักษ ะการอ่านออกเสียงอย่างถูกต้อง  การใช้ซอฟต์แวร์ผลิตหนังสือเสีย ง และจัดทำหนังสือเสียงตั้งแต่ต้น จนจบกระบวนการ  โดยอบรมต่อเนื่องเป็นเวลา 2 วัน  ขณะนี้ได้ดำเนินการมาถึงรุ่นที่ 7 และจะดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องไปจ นถึงเดือนสิงหาคม 2561 ซึ่งคาดว่าจะสามารถผลิตหนังสือเ สียงระบบเดซี ได้ไม่ต่ำกว่า 50 เรื่อง

             สำหรับหนังสือเสียงที่เรียกว่า DAISY (Digital Accessible Information System) นี้เกิดขึ้นมาตั้งปี 2539 โดยองค์การมาตรฐานข้อมูลแห่ งชาติของสหรัฐอเมริกา (The National Information Standards Organization)   เป็นการต่อยอดจากระบบหนังสืออิ เล็กทรอนิกส์ หรือ E-book   เป็นหนังสือที่ประกอบด้วยทั้งเ สียง  ตัวหนังสือ หรือรูปภาพเช่นเดียวกับในเล่ มหนังสือ โดยส่วนต่างๆ ดังกล่าวสามารถแสดงผลไปได้พร้อม ๆ กัน คล้ายๆ กับการร้องเพลงคาราโอเกะ ที่ได้ยินทั้งเสียงดนตรีและเห็น เนื้อหาไปพร้อมๆ กัน

           ในความเป็นจริงแล้วหนังสือเสียง มีความสำคัญและจำเป็นอย่างไรกับ กลุ่มผู้บกพร่องทางการมองเห็นแล ะผู้บกพร่องทางการอ่าน พัชรพร ไตรอังกูร บรรณารักษ์ห้องสมุดคนตาบอดและผู้ พิการทางสื่อสิ่งพิมพ์แห่งชาติ มูลนิธิคนตาบอดไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีจำนวนผู้พิการทางสายต าในประเทศไทยที่ลงทะเบียนไว้มีจำ นวนประมาณ 200,000 คน ส่วนใหญ่มีความพิการมาแต่กำเนิด ส่วนที่พิการภายหลัง มาจากสาเหตุ อุบัติเหตุ เบาหวาน ต้อหิน โดยผู้พิการแต่กำเนิดพัฒนาการกา รเรียนรู้ของเขาจะดีกว่าผู้พิกา รที่ตาบอดทีหลัง  ใช้ชีวิตเหมือนคนปกติทั่วไป การเรียนรู้ส่วนใหญ่ผ่านการสั มผัส การฟัง และแหล่งเรียนรู้ได้ดีที่สุดของ เขาคือ หนังสือเสียง

            “หนังสือเสียงเป็นสิ่งที่จำเป็น และสำคัญมากของผู้พิการทางสายตา เพราะนั่นคือ แหล่งการเรียนรู้ของพวกเขา นอกจากจะเป็นแหล่งเรียนรู้และพั ฒนาตนเองแล้ว หนังสือเสียงยังช่วยด้านจิตใจ ลดความเครียด เป็นการพักผ่อน คนปกติดูทีวีดูหนังเพื่อผ่อนคลา ย ผู้พิการทางสายตาก็ใช้หนังสื อเสียงเพื่อการผ่อนคลายเช่นกัน หนังสือเสียงที่ผู้พิการทางสายต านิยมฟัง คือ นิยาย ซึ่งอยู่ในหมวดเพื่อการบันเทิง ต่อมาหมวดความรู้ เพราะเขาฟังและนำไปพัฒนา-ปรั บใช้กับตนเอง”

              นอกจากนี้บรรณารักษ์ห้องสมุดคนต าบอดและผู้พิการทางสื่อสิ่งพิมพ์ แห่งชาติ ยังกล่าวด้วยว่าอาสาสมัครการอ่านหนังสือเสียง 90% มาจากกิจกรรมปันเสียงที่ทางอุทย านการเรียนรู้ TK park จัดขึ้น ซึ่งเป็นการให้ที่ยิ่งใหญ่ เพราะเสียงที่คุณให้เขาฟัง มันคือโอกาสของเขา โอกาสที่จะเรียนรู้วิชาชีพ โอกาสได้รับความรู้ โอกาสให้เขาพัฒนาตนเอง มันคือการแบ่งปันที่ยิ่งใหญ่ของ เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

               ด้านศวัสมน ใจดี หรือน้องไอเดีย หนึ่งในอาสาสมัครโครงการปันเสีย ง ซึ่งปัจจุบันกำลังจะเข้าศึกษาต่ อในชั้นปีที่ 1 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เล่าว่า  หนังสือเสียงมีความสำคัญมาก  เราคนปกติ เราอ่านหนังสือเราได้เรียนรู้ ได้ความรู้ ได้ความสนุกสนานจากการอ่าน เหมือนกันค่ะ คนพิการทางสายตา เขารับรู้ได้ด้วยเสียง เขาก็ได้ความรู้ ความสนุกเช่นกัน กลับกันที่เราคนปกติเราอ่านได้เ อง แต่เค้าอ่านด้วยเสียงของเรา เราต้องสร้างภาพภายในหัวให้กับเ ขา เขาก็จะได้รับโอกาสมากมายในชีวิ ตจากที่เราปันเสียงของเราเพื่อเ สริมสร้างการเรียนรู้ของเขา

              นอกจากนี้น้องยังบอกว่าด้วยว่า  หนังสือเสียงที่ดี ต้องเป็นเสียงธรรมชาติ เราตื่นเต้น เราเสียใจ เสียงถ่ายทอดได้ ที่สำคัญการพรรณนาโวหาร พยายามอธิบายให้เขาได้เห็นภาพที่ ชัดเจน เพื่อเขาได้ต่อภาพในจินตนาการขอ งเขาได้ เราคนปกติเห็นภาพจากหนังสือ ผู้พิการทางสายตาเขาไม่เห็นอย่า งที่เราเห็น เพราะฉะนั้นการบรรยายภาพต่างๆ จะทำให้เขาประติดประต่อเรื่องรา วได้ชัดเจนขึ้น

               สำหรับการเข้าร่วมโครงการปั นเสียงครั้งนี้ น้องไอเดียเล่าให้ฟังว่า เนื่องจากเคยเข้าร่วมโครงการหนู น้อยเล่านิทานของทีเค พาร์ค  เพราะชอบอ่าน-เล่านิทาน และเคยไปต่างจังหวัดกับครอบครัว ไปทำกิจกรรมเล่านิทานให้กับน้อง ๆ ในโรงเรียนที่ห่างไกล จึงสมัครเข้าร่วมโครงการครั้งนี้ เพราะอยากอ่านหนังสือให้กับคนพิ การทางสายตาได้ฟัง  โดยได้ชวนน้องสาวไอซี  มาเข้าร่วมโครงการเพื่อใช้ เวลาที่ว่างในช่วงปิ ดเทอมทำประโยชน์ต่อสังคมและเป็ นประโยชน์ต่อตัวเราเองด้วย เพราะการอ่านหนังสือเสียง ทำให้เราได้ความรู้เพิ่ม ได้ความเพลิดเพลิน และพัฒนาตนเองด้วย  โดยเฉพาะการเข้าร่วมกิจกรรมครั้ งนี้ ประโยชน์ที่ได้รับ คือทำให้พูดชัดขึ้น ออกเสียงได้ถูกต้อง อย่าง ส.เสือ ที่ออกเสียงผิดมาตลอด รวมทั้งการหายใจ การเว้นวรรค จากที่บันทึกเสียงรอบแรกใช้เวลา หลายชั่วโมง พอชั่วโมงการอ่านมากขึ้น ก็ช่วยให้เราออกเสียงได้ดีขึ้นเ รื่อยๆ และอ่านเร็วขึ้นมากขึ้นด้วยค่ะ” 

Political News