สำนักข่าวไทยไทม์นิวส์ • ThaitimeNews
loader
Foto

พื้นป่าชายเลนบ้านเปร็ดใน จ.ตราด ช่วยลดโลกร้อน ดูดซับคาร์บอนได้มากกว่า1.3แสนตัน CO2/ไร่

ปัจจุบันป่านอกจากเป็นแหล่งอาหา รและระบบนิเวศแล้ว ยังเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่สำ คัญ ที่จะช่วยบรรเทาการเปลี่ยนแปลงข องสภาพภูมิอากาศและลดภาวะโลกร้ อนได้ จากความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลน บ้านเปร็ดในพื้นที่ 12,000 ไร่ ในท้องที่บ้านเปร็ดใน  ม.2 ตำบลห้วยน้ำขาว  อำเภอเมือง  จังหวัดตราด  พบว่า มีศักยภาพเหมาะที่จะใช้ดำเนินกา รสนับสนุนกลไกคาร์บอนเครดิตภาคป่ าไม้ โดยเฉพาะ“เรดด์พลัส”เพื่อลดการป ล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ โดยข้อค้นพบจากผลการศึกษาวิจัยใ น “โครงการฟื้นฟูป่าชายเลนบ้านเปร็ ดใน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน  เพื่อสนับสนุนกลไกคาร์บอนเครดิต ภาคป่าไม้” ที่มี ดร.ลาวัลย์ พวงจิตร จากคณะวนศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการ  ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานก องทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)  บ่งชี้ว่า  ป่าชายเลนบ้านเปร็ดในจัดเป็นป่ าชายเลนที่มีระดับความสมบูรณ์มา ก  โดยจากการประเมินค่าเฉลี่ยการกั กเก็บคาร์บอนรวมทุกแหล่งสะสมในพื้ นที่ป่าชายเลนบ้านเปร็ดใน ยังพบว่า เป็นป่าที่มีศักยภาพในการดำเนิน การ  เพื่อสนับสนุนกลไกคาร์บอนเครดิ ตภาคป่าไม้  เพื่อเป็นแหล่งดูดซับคาร์บอนได้  เนื่องจากมีต้นไม้ที่ยังมีอัตร าการเติบโตสูง  และมีศักยภาพในการเพิ่มพูนการกั กเก็บคาร์บอน

นอกจากนี้ ผลการศึกษาการปลดปล่อยก๊าซคาร์บ อนไดออกไซด์ จากการใช้พลังงานทุกประเภทของชุ มชน พบว่า มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากการใช้พลังงานรวม 398.33 ตัน CO2/ปี ซึ่งพื้นที่ป่าชายเลนในขนาด 36.28 ไร่สามารถดูดซับปริมาณการปล่อยก๊ าซคาร์บอนดังกล่าวได้ ดังนั้น จากพื้นที่ป่าชายเลนบ้านเปร็ดใน ที่มีอยู่ 12,000 ไร่ (ระหว่างคลอง 1 ถึงคลอง 15) จะสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออก ไซด์ได้ถึง 131,760 ตัน CO2/ไร่/ปี ซึ่งข้อค้นพบนี้ชี้ให้เห็นชัดว่ า ป่าชายเลนบ้านเปร็ดในมีศักยภาพเ พียงพอในการดูดซับก๊าซคาร์ บอนไดออกไซด์ทั้งของชุมชนโดยรอบ และชุมชนใกล้เคียงได้

จากข้อค้นพบดังกล่าวชุมชนบ้านเป ร็ดในเล็งเห็นความสำคัญของภาวะโ ลกร้อน และต้องการนำศักยภาพของป่าชายเล นบ้านเปร็ดในไปมีส่วนร่วมในการล ดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็ นสาเหตุของโลกร้อน เพื่อนำรายได้จากการขายคาร์บอนเ ครดิตมาบริหารจัดการรักษาฟื้นฟู ป่าชายเลนที่ชุมชนดูแลปกป้องและ อนุรักษ์มายาวนาน ให้เป็นป่าชายเลนที่เป็นแหล่งเพิ่ มความหลากหลายทางชีวภาพ  เพื่อกักเก็บคาร์บอน และเป็นพื้นที่ทำกินของคนในชุมช นต่อไปได้อย่างยั่งยืน

นายอำพร  แพทย์ศาสตร์  ที่ปรึกษากลุ่มอนุรักษ์และพัฒน าป่าชายเลนป่าบ้านเปร็ดใน กล่าวว่า “แม้ขณะนี้รัฐบาลจะยังไม่มีนโยบ ายเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวชั ดเจน แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่รัฐบาลมีนโยบ ายรับซื้อเราก็พร้อมดำเนินการทั นที เพราะเรารู้แล้วว่าจะต้องทำอย่า งไรบ้าง  มีขั้นตอนกระบวนการจัดเก็บข้อมู ลอย่างไร รู้วิธีการสำรวจ และคำนวณ ขนาด ความสูง รวมถึงการกักเก็บคาร์บอน ทำให้เรามีข้อมูลเพียงพอ ซึ่งความรู้เหล่านี้ได้รับการสนั บสนุนจากนักวิจัย สกว.นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญ ที่ได้เข้ามาถ่ายทอดให้กับนักวิ จัยชุมชน ตั้งแต่ปี 2558 ที่ผ่านมา ซึ่งทางนักวิจัยชุมชนเองก็ได้นำ ความรู้ได้รับไปถ่ายทอดให้กับเย าวชนได้เรียนรู้ และมีส่วนร่วมในการดูแลปกป้องป่ าชายเลนของชุมชนต่อไป”

สำหรับการดำเนินงานโครงการฟื้นฟู ป่าชายเลนบ้านเปร็ดใน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนฯนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมู ลพื้นฐานที่จำเป็นต่อการวางแผนก ารจัดการ ได้แก่  โครงสร้างป่า พรรณไม้ ปริมาตร ผลผลิตมวลชีวภาพ  และศึกษาศักยภาพในการกักเก็บคา ร์บอนตามวิธีการมาตรฐานของ IPCC (2003) เพื่อสนับสนุนกลไกคาร์บอนเครดิต ภาคป่าไม้  และจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรป่าชา ยเลนชุมชน  โดยการศึกษาวิจัยเน้นกระบวนการ มีส่วนร่วมของชุมชนในทุกขั้นตอน  เริ่มตั้งแต่การกำหนดนักวิจัยชุ มชน  การวางแผนการวิจัย  การคัดเลือกพื้นที่ศึกษา  การดำเนินการวิจัย  การนำเสนอผลการวิจัย  รวมถึงการศึกษาดูงานเพื่อเพิ่ม พูนประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดกา รทรัพยากรป่าชายเลนในพื้นที่ชาย ฝั่งอันดามัน  เพราะการสร้างกระบวนการมีส่วนร่ วมถือเป็นการสร้างองค์ความรู้ที่ สอดคล้องกับความต้องการของชุ มชนซึ่งจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ อย่างยั่งยืน

โดยในการจัดทำฐานข้อมูล มีการจำแนกข้อมูลที่จัดเก็บ อาทิ กิจกรรมการวิจัย พรรณไม้ พื้นที่ป่าชายเลน งานวิจัยด้านนิเวศวิทยาป่าชายเล น และองค์ความรู้การจัดการป่าชายเ ลน  โดยนักวิจัยและนักวิจัยชุมชนสา มารถใช้งานเว็ปไซต์เพื่อการพั ฒนาและออกแบบฐานข้อมูลร่วมกั นได้  ในด้านโครงสร้างจากการสำรวจ พบว่า ป่าชายเลนบ้านเปร็ดใน ประกอบด้วยพรรณไม้จำนวน 15 ชนิด จำแนกเป็นไม้ใหญ่ 14 ชนิด ไม้รุ่น 10 ชนิด และกล้าไม้ 4 ชนิด แสดงให้เห็นว่าพรรณไม้ในพื้นที่ ป่าชายเลนบ้านเปร็ดใน  มีศักยภาพในการเจริญทดแทนตามธรร มชาติที่ค่อนข้างต่ำ และในอนาคตมีแนวโน้มว่าความหลาก หลายทางชีวภาพจะลดลง  โดยพรรณไม้ที่มีค่าดัชนีความสำคั ญสูงมี 2 ชนิด คือ โกงกางใบเล็ก และโปรงแดง  แม้ลักษณะโครงสร้างของต้นไม้ใน ป่าชายเลนบ้านเปร็ดในส่วนใหญ่โด ยเฉลี่ยมีขนาดไม่ใหญ่  แต่จัดว่าเป็นป่าชายเลนที่มีมว ลชีวภาพในระดับความสมบูรณ์มาก  แสดงให้เห็นว่าป่าชายเลนบ้านเป ร็ดในมีศักยภาพสูงในการเพิ่มพู นผลผลิต

ผลการศึกษาดังกล่าวได้นำมาจัดกา รข้อมูลในรูปแบบของ “ระบบฐานข้อมูล” เพื่อให้ชุมชนสามารถใช้ประโยชน์ ในการจัดการทรัพยากรป่าชายเลนได้ อย่างสะดวกต่อไป นอกจากนี้โครงการฯ ยังจัดฝึกอบรมให้ความรู้ความเข้ าใจในระบบฐานข้อมูล  และวิธีการจัดเก็บข้อมูลแก่นัก วิจัยชุมชน รวมทั้งการจัดทำคู่มือการใช้ฐาน ข้อมูลให้แก่ชุมชน เพื่อให้ระบบฐานข้อมูลอยู่กับชุ มชนตลอดไป  โดยมีการปรับปรุงข้อมูลได้อย่า งต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม  งานวิจัยนี้ถือเป็นเพียงจุดเริ่มต้นให้กับชุมชนได้เรียนรู้  และสร้างความเข้าใจถึงกระบวนการ การจัดทำเก็บข้อมูลที่เป็นระบบ  แต่ชุมชนยังควรต้องได้รับการส่ งเสริมการเรียนรู้ถึงวิธีการวาง แผนการเก็บข้อมูล เพื่อป้อนลงฐานข้อมูล  และจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากข้อมูลที่วิเคราะห์ได้เพิ่ มอีก เพื่อให้ชุมชนเกิดความมั่นใจในก ารจัดการป่าและติดตามการเปลี่ ยนแปลงทรัพยากรป่าชายเลนเป็ นไปอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

นายอำพร  กล่าวว่า “ป่าชายเลนบ้านเปร็ดใน เป็นความภูมิใจของชุมชนในฐานะที่เป็นแหล่งอาหาร เราไม่ต้องไปซื้อหาที่ไหน  หรือใครจะจับขายเป็นรายได้ก็สา มารถทำได้เช่นกัน ขายไม่หมดก็นำมาทำอาหารกินกันใน ครอบครัว แต่การจับนั้นชุมชนมีข้อตกลงร่ว มกันกรณีห้ามจับสัตว์น้ำในช่วงที่ มีการวางไข่“หยุดจับร้อย ค่อยจับล้าน” ซึ่งทุกคนให้ความร่วมมือเป็นอย่ างดี ดังนั้นเป้าหมายในการฟื้นฟูก็เพื่ อต้องการให้ป่าชายเลนของชุมชนเป็ นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ เพราะหากโลกร้อนขึ้นแม้เพียงหนึ่งองศาก็จะส่งต่อปริมาณสัตว์น้ำไ ด้  หรือกรณีปัญหาน้ำจากต้นน้ำ กลางน้ำ จากภาคเหนือที่จะไหลลงสู่ทะเลผ่ านป่าชายเลนของชุมชน  หากมีการปนเปื้อนสารเคมีก็อาจส่ งกระทบต่อแหล่งอาหารและสัตว์น้ำ ได้  ซึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ชุมช นให้ความสนใจ”

“คนที่เคยอยู่กับป่าชายเลน จะรู้ว่าคุณค่าของป่าชายเลนนั้น มากมายแค่ไหน แม้หาดทรายจะสร้างรายได้มหาศาลจ ากการท่องเที่ยว  แต่ถ้าวันหนึ่งนักท่องเที่ยวไม่ มาเราจะได้อะไรจากหาดทราย  เพราะแหล่งอาหาร แหล่งทรัพยากรสัตว์น้ำ ไม่ได้อยู่ที่หาดทราย แต่อยู่ที่ป่าชายเลน  เราไม่ต้องซื้อ  เราไม่มีอด คือความภูมิใจในชุมชนของเรา”

Political News