สำนักข่าวไทยไทม์นิวส์ • ThaitimeNews
loader
Foto

“หัวเว่ย” พลิกโฉมระบบจัดเก็บพลังงานขนาดใหญ่สำหรับพลังงานหมุนเวียนในอนาคต

หัวเว่ย ร่วมกับนิตยสารด้านเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์อย่าง pv magazine จัดงาน Huawei FusionSolar Smart PV & Large Scale Energy Storage Global Virtual Summit 2021 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2564 งานนี้ได้รวบรวมเหล่าผู้นำทางความคิดในอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์ เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับการพัฒนาล่าสุดและโอกาสทางการตลาดในการจัดเก็บพลังงานระดับใหญ่ และสำรวจว่าระบบจัดเก็บพลังงานสตริงอัจฉริยะของ Huawei Digital Power จะทำให้เซลล์แสงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานหลักในอนาคตได้อย่างไร

Huawei Digital Power สั่งสมประสบการณ์มากกว่า 10 ปีในการวิจัยและพัฒนาการจัดเก็บพลังงาน และได้จัดส่งแบตเตอรี่ลิเธียมแล้วกว่า 5 GWh เพื่อรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ระดับใหญ่ การใช้งานในที่พักอาศัย พลังงานในไซต์งาน พลังงานศูนย์ข้อมูล และอื่น ๆ

ในพิธีกล่าวเปิดงาน ดร. Fang Liangzhou ซีเอ็มโอของ Huawei Digital Power Technologies Co., Ltd. ได้เน้นย้ำถึงวิสัยทัศน์ของ Huawei Digital Power และคุณสมบัติที่โดดเด่นของระบบจัดเก็บพลังงานสตริงอัจฉริยะ เขากล่าวว่า “วิสัยทัศน์ของ Huawei Digital Power มุ่งเน้นไปที่ระบบพลังงานดิจิทัลชั้นนำเพื่อสังคมอัจฉริยะที่ปราศจากคาร์บอน เราเชื่อว่ากุญแจสำคัญในการสร้างระบบพลังงานที่มุ่งเน้นอนาคตโดยอาศัยพลังงานหมุนเวียน คือการผสานรวมเทคโนโลยีดิจิทัลและเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์กำลัง”

ดร. Fang กล่าวว่า เพื่อจัดการกับความท้าทายหลายประการที่สร้างปัญหาให้แก่ระบบกักเก็บพลังงานแบบดั้งเดิม หัวเว่ยได้ผสานรวมเทคโนโลยีดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์กำลังในเซลล์แสงอาทิตย์และระบบกักเก็บพลังงาน และสร้างดีไซน์สตริงอัจฉริยะแบบแยกส่วน ซึ่งยกระดับการจัดการระบบจัดเก็บพลังงานผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพระดับแพ็คแบตเตอรี่และระดับแร็ค การเพิ่มประสิทธิภาพระดับแพ็คช่วยเพิ่มความสามารถในการชาร์จและการคายประจุถึง 6% ในขณะที่การเพิ่มประสิทธิภาพระดับแร็คมอบความสามารถเพิ่มขึ้นอีก 7% ในขณะเดียวกันสถาปัตยกรรมการกระจายความร้อนแบบกระจายตัวรุ่นใหม่ จะช่วยยืดอายุการใช้งานแบตเตอรี่ ส่วนเทคโนโลยีอัจฉริยะ เช่น AI และคลาวด์ BMS ถูกนำมาใช้เพื่อพัฒนาความปลอดภัยของระบบจากเชิงรับเป็นเชิงรุก

 “โซลูชันการจัดเก็บพลังงานสตริงอัจฉริยะของหัวเว่ย ช่วยเพิ่มความสามารถในการคายประจุ ลดต้นทุนการบำรุงรักษา รับรองความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือ และลดต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าลง 20%” Chen Guoguang ประธาน Huawei Smart PV กล่าวระหว่างการจัดงานออนไลน์ “สำหรับลูกค้าเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ของเรา เราตั้งเป้าที่จะสร้างระบบนิเวศเต็มรูปแบบและโซลูชันพลังงานแบบครบวงจร โดยไม่เพียงครอบคลุมแค่การผลิตพลังงานเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการจัดเก็บพลังงานและการใช้พลังงาน เพื่อลดต้นทุนต่อหน่วยของการผลิตไฟฟ้าเพิ่มเติม และยกระดับ PV grid parity เป็น PV+ storage grid parity”

ด้วยต้นทุนการจัดเก็บพลังงานที่ลดลงและนวัตกรรมทางเทคนิคอย่างต่อเนื่อง ตลาดการจัดเก็บพลังงานระดับใหญ่กำลังขยายไปทั่วโลก โดยคาดว่าจะมีการเติบโตมากขึ้น Sam Wilkinson ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีสะอาดและพลังงานหมุนเวียนประจำ IHS Markit ได้แบ่งปันการคาดการณ์เกี่ยวกับตลาดการจัดเก็บพลังงานกับผู้ชมทั่วโลกว่า “ปี 2564 นับเป็นจุดเริ่มต้นของช่วงเวลาแห่งการเติบโตที่แข็งแกร่งมากสำหรับอุตสาหกรรม เราคาดการณ์ว่าปีนี้อุตสาหกรรมจะเติบโตขึ้นมากกว่าเท่าตัว และจะมีการติดตั้งเกินหลัก 10 กิกะวัตต์เป็นครั้งแรก ซึ่งเท่ากับ 28 กิกะวัตต์ชั่วโมง (GWh) ของความจุการจัดเก็บพลังงาน และการเติบโตนี้ไม่ได้มาจากตลาดหลัก ๆ ที่มีอยู่แล้วเท่านั้น แต่ยังมาจากโอกาสใหม่ ๆ จากแหล่งที่เล็กกว่าอีกด้วย”

Jorge de Miguel หัวหน้าที่ปรึกษาทางเทคนิคของ Vector Renewables ได้แนะนำการใช้งานระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่ (BESS) ขนาดใหญ่ 5 แนวทางด้วยกันภายในงาน และชี้ให้เห็นแนวทางการใช้บริการ BESS ที่หลากหลายเพื่อเพิ่มรายได้โดยรวมของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ให้ได้มากที่สุด วิทยากรอีกท่านที่ให้ความกระจ่างเกี่ยวกับโซลูชันจัดเก็บพลังงานแสง ได้แก่ Felipe Hernandez กรรมการผู้จัดการของ FRV X & Engineering โดยระบุว่าโอกาสทางธุรกิจมีอยู่มากมายในโซลูชัน BESS แบบเดี่ยวและโซลูชันพลังงานแสงอาทิตย์และการจัดเก็บพลังงานแบบไฮบริดทั่วโลก พร้อมเผยให้เห็นมูลค่าของทั้งสองวิธีในชั้นต่าง ๆ

นอกจากนี้ Hariram Subramanian ซีทีโอของ Huawei Smart PV - Europe ได้แนะนำผู้ชมเกี่ยวกับโซลูชันของหัวเว่ยในเซสชัน Huawei Smart String PV-Storage Solution for Utility-scale Scenarios โดยเน้นว่าสิ่งสำคัญคือต้องสร้างโครงข่ายไฟฟ้าที่เสถียรด้วยแนวคิดการขึ้นรูปโครงข่ายไฟฟ้า และใช้การออกแบบในลักษณะแยกส่วนที่จะทำให้โรงไฟฟ้ามีความยืดหยุ่นและแข็งแกร่งยิ่งขึ้น

ด้วยความนิยมที่สูงขึ้นของพลังงานหมุนเวียนในโครงข่ายไฟฟ้า BESS จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงไปสู่อนาคตคาร์บอนต่ำ “เราเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า การบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลจะปลดปล่อยศักยภาพของการจัดเก็บพลังงานอย่างเต็มที่ ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมให้บรรลุเป้าหมายด้านคาร์บอนที่เป็นกลาง พวกเราสามารถสร้างสังคมอัจฉริยะที่ปราศจากคาร์บอน และบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนในอนาคตอันใกล้นี้” ดร. Fang กล่าวทิ้งท้าย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หัวเว่ย ดิจิทัล พาวเวอร์ เปิดตัวผลิตภัณฑ์ LUNA รุ่น S1ระบบกักเก็บพลังงานสำหรับบ้านยกระดับนวัตกรรมรักษ์โลก

“แสนสิริ”จับมือ“หัวเว่ย”“ลีสซิ่งไอซีบีซี (ไทย)” และ“ไอออน” ส่งแคมเปญ ‘SOLAR to ZERO’ ปลดล็อกสินเชื่อโซลาร์

จับมือ3ประสาน มจธ.-โอสถสภา–หัวเว่ย เปิดหลักสูตร“วิศวกรรมระบบอัจฉริยะ (ISE)”

HUAWEI ยกขบวนผลิตภัณฑ์สมาร์ทโฟน และอุปกรณ์อัจฉริยะ จัดเต็มโปรดียืน 1 สุดคุ้ม ด้วยส่วนลดสูงสุดถึง 50%

กสิกรไทยจับมือหัวเว่ย หนุนสินเชื่อสร้างสังคมสีเขียว ชวนลูกค้ารักษ์โลก ตั้งเป้าติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์ 30,000 หลัง

มทร.อีสาน จับมือ หัวเว่ยขยายผลสู่ 9มทร.พร้อมพัฒนาคนด้าน Digital Transformations ครบวงจร

Political News