สำนักข่าวไทยไทม์นิวส์ • ThaitimeNews
loader
Foto

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคงประมาณการจีดีพีปี64ที่1.8%รอความคืบหน้าวัคซีน

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคงประมาณการอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปี 2564 ไว้ที่ 1.8% โดยมองว่าเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนทั้งการแพร่ระบาดของไวรัสทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการฉีดวัคซีน แต่หากสามารถเร่งกระจายวัคซีนได้มากพอภายใน 2-3 เดือนนี้ คงทำให้ภาพการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาส 4 ชัดเจนขึ้นกว่าเดิม

นางสาวณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่า ประมาณการเศรษฐกิจดังกล่าว อยู่ภายใต้สมมติฐานที่คาดว่าการระบาดในระลอกที่ 3 จะบรรเทาลงในช่วงเดือน ก.ค. โดยได้รวมผลบวกจากทิศทางการส่งออกที่ดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก รวมถึงมาตรการภาครัฐที่กำลังจะทยอยออกมาทั้งโครงการคนละครึ่งเฟส 3 โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้กับผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐระยะที่ 3 และโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้แล้ว ขณะที่ คาดว่าการเร่งกระจายฉีดวัคซีนจะเห็นความชัดเจนมากขึ้นในเดือนมิ.ย. – ก.ค. นี้ ซึ่งหากเร่งฉีดได้ในปริมาณที่มากพอกับการสร้างความเชื่อมั่นของครัวเรือนและธุรกิจ คงทำให้ภาพการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 มีทิศทางที่เร่งตัวขึ้นอย่างมาก และเป็นปัจจัยบวกต่อเศรษฐกิจไทยในปีนี้และปีหน้า

นอกจากเรื่องวัคซีนและการควบคุมสถานการณ์การระบาดของไวรัสแล้ว ภาครัฐยังต้องเตรียมรับมือกับอีก 4 โจทย์สำคัญ ได้แก่ ภาระทางการคลัง เงินเฟ้อ หนี้ครัวเรือน และต้นทุนธุรกิจที่กำลังเพิ่มขึ้น อันทำให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจมีความซับซ้อนมากขึ้น

นางสาวณัฐพร มองว่า ในระยะสั้น การขาดดุลการคลังที่เพิ่มขึ้นและการขยายเพดานหนี้สาธารณะยังไม่น่าจะเป็นประเด็น โดยคงจะเห็นระดับหนี้สาธารณะที่เกิน 60% ภายในปี 2565 แต่ในระยะกลาง หากยังมีการขาดดุลการคลังในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง อาจจะนำมาสู่ประเด็นความเชื่อมั่นทางภาคการคลังของไทย ด้านโจทย์เงินเฟ้อไทยที่เพิ่มขึ้นนั้น แม้จะเป็นปัจจัยชั่วคราวและคงไม่ทำให้ กนง.เปลี่ยนท่าทีนโยบายดอกเบี้ย แต่เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว มาในจังหวะที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว อีกทั้งหากเศรษฐกิจสหรัฐฯ เติบโตได้ดีก็จะทำให้เฟดส่งสัญญาณถอยออกจากนโยบายการเงินผ่อนคลาย ซึ่งสุดท้ายแล้ว จะนำมาสู่ต้นทุนทางการเงิน ผ่านอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกรวมถึงไทย กดดันภาคธุรกิจที่เพิ่งจะเริ่มดีขึ้น

                                                    ธัญญลักษณ์ วัชระชัยสุรพล

นางสาวธัญญลักษณ์ วัชระชัยสุรพล รองกรรมการผู้จัดการ เพิ่มเติมโจทย์เรื่องหนี้ภาคครัวเรือนจากผลสำรวจความคิดเห็นหลังมีโควิดรอบ 3 ว่า สถานการณ์หนี้รายย่อยถดถอยลง โดยมีกลุ่มเปราะบางที่เผชิญทั้งปัญหารายได้ลด ค่าใช้จ่ายไม่ลด และภาระหนี้สูงเกินกว่า 50% ต่อรายได้ เพิ่มขึ้นจาก 10.8% ในโควิดรอบ 2 มาที่ 22.1% ซึ่งปัญหาหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้นและน่าจะแตะระดับ 90% ต่อจีดีพีภายในปีนี้ จะมีผลให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องกลับมาดูแลอย่างจริงจัง หลังผ่านโควิดรอบนี้

ส่วนโจทย์สุดท้าย คือ การปรับขึ้นของต้นทุนหรือราคาสินค้าที่มีผลซ้ำเติมผู้ประกอบการธุรกิจ โดยนางสาวเกวลิน หวังพิชญสุข ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ มองว่ากระทบต่อธุรกิจซื้อมาขายไปในยามไม่ปกติที่โควิดฉุดกำลังซื้อและตลาดมีการแข่งขันสูง ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นเอสเอ็มอี โดยประเมินเบื้องต้นว่า ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มขึ้น 1% จะกระทบค้าปลีก SMEs ประมาณ 23,600-23,800 ล้านบาท ภายใต้เงื่อนไขที่ผู้ประกอบการเผชิญข้อจำกัดในการผลักภาระไปให้กับผู้บริโภค ขณะที่มาตรการรัฐมีส่วนช่วยบรรเทาผลกระทบต่อผู้บริโภคและผู้ประกอบการ ในทางตรงข้าม หากเศรษฐกิจดี ปัญหาหรือผลกระทบนี้ คงมีขนาดที่ลดลง ทั้งนี้ ต้องติดตามความเชื่อมั่นของผู้บริโภคหลังจากนี้ ซึ่งจะมีผลต่อเส้นทางการฟื้นตัวของธุรกิจค้าปลีกในช่วงที่เหลือของปี  

                                                                                                                                   เกวลิน หวังพิชญสุข

KResearch maintains 2021 GDP projection at 1.8 percent; vaccination will reduce economic uncertainty…four main challenges in focus

KASIKORN RESEARCH CENTER (KResearch) has kept its Thai economic projection for 2021 unchanged at 1.8 percent. The research house views that the Thai economy remains mired in uncertainty due to the persistence of COVID-19 both domestically and abroad, as well as vaccination progress. In the next 1-2 months, vaccination progress and COVID outlook should become more apparent. If vaccinations can continue at a fast pace, household and business confidence would improve, and  accelerating economic growth in Q4/2021 would be more likely.

Ms. Nattaporn Triratanasirikul, KResearch Assistant Managing Director, noted that, “KResearch’s economic projection is based on the assumption that the third pandemic wave will recede in July. This figure takes into account improved exports in line with the global economic rebound and the government’s relief measures still to be rolled out, including the third phase of the “Let’s Go Halves” co-payment program, the third phase of the scheme to boost the purchasing power of holders of the government’s welfare card, and “The More You Pay, the More You Get” e-voucher scheme. The progress of vaccination rollouts should become more apparent during June-July. If the volume of immunizations is sufficient to restore the confidence of the household and business sectors, the Thai economy should see accelerating growth in the final quarter of this year. Such a development would lead to brighter prospects for the Thai economy in the remainder of 2021 and 2022.  

Aside from vaccinations and other pandemic control measures, the government must contend with four major challenges, namely fiscal burden, inflation, household debts and rising business costs – all of which will complicate matters in driving the economy forward. 

Ms. Nattaporn asserts that higher fiscal deficits and extension of the public debt ceiling will not be a cause for concern over the short term, but expects that public debt to GDP may exceed 60 percent in 2022. Over the medium term, however, confidence in Thailand’s fiscal discipline might wane if its fiscal deficit remains at an elevated level. Regarding rising inflation, although this should be only a short-term issue that will not prompt the Monetary Policy Committee to change its monetary policy stance, it is emerging as the Thai economy is still struggling to recover. As the substantial US economic recovery may lead the Fed to begin normalizing its monetary policy, financial costs could increase through higher bond yields globally, including Thailand, thus pressuring the business sector even when it has only begun to bounce back.   

Ms. Thanyalak Vacharachaisurapol, KResearch Deputy Managing Director, said regarding a survey on the third wave of COVID-19’s impact on household debt, it was found that retail segment debt has further deteriorated. Notably, the vulnerable group facing reduced income, inability to cut down expenses and debt service ratio (DSR) exceeding 50 percent amounted to 22.1 percent of those polled, an increase from the figure of 10.8 percent recorded during the second wave of COVID-19. With household debt projected to approach 90 percent of GDP in 2021, relevant sectors may have to pay serious attention to this matter after the latest wave of COVID-19 has subsided. 

The final challenge lies in rising costs or product prices which have further undermined business operators’ financial position. Ms. Kevalin Wangpichayasuk, KResearch Assistant Managing Director, views that this issue chiefly affects commerce businesses – most of which are small- and medium-sized enterprises (SMEs) – amid the ongoing COVID-19 crisis which still weighs upon consumer spending, and the highly competitive market at present. Preliminarily, a 1 percent rise in consumer product prices is estimated to affect SME retailers around THB23.6-THB23.8 billion given that they cannot totally pass the burden on to consumers. Meanwhile, government measures have lessened the impact on both consumers and businesses. However, if the economy improves, these issues will likely recede somewhat. Close attention should thus be paid to consumer confidence, as it will determine retailers’ path to recovery over the remainder of 2021.

Political News