สำนักข่าวไทยไทม์นิวส์ • ThaitimeNews
loader
Foto

ทีเอ็มบีรายงานกำไรไตรมาส1ปี2564ที่2,782 ล้านบาทเพิ่มขึ้น125%

ทีเอ็มบี หรือ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย แจ้งผลประกอบการไตรมาส 1/2564 โดยธนาคารมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 2,782 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 125% จากไตรมาส 4/2563 เนื่องจากค่าใช้จ่ายการตั้งสำรองฯ ที่ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปีที่แล้ว ทั้งนี้ ในไตรมาส 1/2564 ธนาคารตั้งสำรองฯ เป็นจำนวน 5,480 ล้านบาท ยังถือว่าอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับภาวะปกติ แต่ลดลงเมื่อเทียบกับ 8,237 ล้านบาทในไตรมาส 4/2563 ซึ่งธนาคารได้ตั้งสำรองฯ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเพื่อเตรียมการล่วงหน้าสำหรับปี 2564

นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบี หรือ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สำหรับผลการดำเนินงานในไตรมาส 1/2564 นี้ โดยรวมยังคงมีความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ธนาคารจึงเน้นการเติบโตธุรกิจอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการปล่อยสินเชื่อที่ต้องเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ ซึ่งแม้อาจทำให้เห็นแรงกดดันต่อรายได้ดอกเบี้ย แต่ที่สำคัญกว่าคือการไม่เพิ่มความเสี่ยงให้กับงบดุลหรือคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารในสภาพแวดล้อมเช่นนี้

การมีวินัยด้านค่าใช้จ่ายถือเป็นปัจจัยสำคัญเช่นกัน ที่ผ่านมาถือว่าทีเอ็มบีและธนชาตสามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้เป็นอย่างดีแม้ว่าจะอยู่ระหว่างการดำเนินงานของการรวมกิจการ (Integration)  ทั้งสองธนาคารเข้าด้วยกัน สะท้อนได้จากอัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ที่อยู่ในกรอบเป้าหมายมาโดยตลอดนับตั้งแต่รวมกิจการ

ในส่วนของสถานการณ์ด้านโควิด-19 นั้น ลูกค้าธนาคารมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เริ่มกลับมา เห็นได้จากสินเชื่อที่อยู่ภายใต้โครงการให้ความช่วยเหลือที่ทยอยปรับตัวลดลงเป็นลำดับ จากเริ่มแรกที่ประมาณ 40% ของสินเชื่อรวม มาอยู่ที่ 14% ณ สิ้นไตรมาส 1/2564 โดยจากการดูแลลูกค้าอย่างใกล้ชิด พบว่าลูกค้าที่อยู่ภายใต้โปรแกรมความช่วยเหลือยังคงมีความสามารถในการชำระคืนหนี้ ส่วนใหญ่เพียงแค่ขอให้ธนาคารช่วยปรับรูปแบบการชำระหนี้ให้สอดคล้องกับสภาพคล่องของลูกค้าในช่วงที่ได้รับผลกระทบเท่านั้น

อย่างไรก็ดี แม้การระบาดระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนเมษายนอาจส่งผลกระทบในระยะถัดไป แต่มองว่า ทีเอ็มบีและธนชาต รวมถึงธนาคารไทยแห่งอื่น ๆ มีสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง ไม่ว่าจะเป็นฐานเงินทุน สภาพคล่อง หรือความสามารถในการรองรับความเสี่ยง อีกทั้งในปีที่แล้วแต่ละธนาคารก็ได้ดำเนินการตั้งสำรองฯ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเพื่อเตรียมรับแนวโน้มสินเชื่อด้อยคุณภาพในปี 2564

อีกประการสำคัญคือมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐและธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการขยายระยะเวลาพักชำระหนี้ รวมถึงมาตรการล่าสุด ซึ่งได้แก่ โครงการโกดังพักหนี้และสินเชื่อฟื้นฟู ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่เอื้อให้ธนาคารสามารถให้ความช่วยเหลือลูกค้าได้ตรงจุดยิ่งขึ้น ช่วยต่อเวลาและเพิ่มโอกาสให้กับลูกค้าที่ยังมีศักยภาพในระยะยาว นอกจากนี้ ยังช่วยลดผลกระทบต่อธนาคารด้านการตั้งสำรองฯ และช่วยให้การจัดการคุณภาพสินทรัพย์มีประสิทธิภาพมากขึ้น

จากปัจจัยทั้งสองส่วน ทั้งความแข็งแกร่งของธนาคารเองและกลไกจากภาครัฐ จึงเชื่อว่าอุตสาหกรรมธนาคารไทยมีความพร้อมที่จะรับมือและให้ความช่วยเหลือลูกค้าภายใต้แนวโน้มเศรษฐกิจที่ต้องอาศัยเวลาในการฟื้นตัวเพื่อกลับไปสู่ระดับก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19

สำหรับรายละเอียดผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2564  มีดังนี้ เงินฝากอยู่ที่ 1.38 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.8% จากสิ้นปี 2563 การเพิ่มขึ้นดังกล่าวเป็นไปตามการปรับโครงสร้างเงินฝากหลังการรวมกิจการ โดยการปรับลดสัดส่วนเงินฝากประจำและแทนที่ด้วยเงินฝากที่เป็นผลิตภัณฑ์หลัก เช่น เงินฝาก All Free และเงินฝาก No Fixed ซึ่งยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง

เงินให้สินเชื่ออยู่ที่ 1.38 ล้านล้านบาท ลดลง 0.9% จากสิ้นปีที่แล้ว เป็นไปตามแผนของธนาคารในการปล่อยสินเชื่อใหม่อย่างระมัดระวัง โดยเน้นไปที่การปล่อยสินเชื่อในกลุ่มสินเชื่อที่มีหลักประกันเป็นหลัก เช่น สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อเช่าซื้อ ซึ่งถึงแม้จะมีอัตราผลตอบแทนที่ต่ำกว่าสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน แต่ก็ช่วยจำกัดความเสี่ยงของพอร์ตสินเชื่อภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงเปราะบางจากสถานการณ์โควิด-19

สำหรับรายได้ดอกเบี้ยนั้น แม้ว่าการปรับโครงสร้างเงินฝากภายหลังการรวมกิจการจะส่งผลให้ต้นทุนเงินฝากปรับตัวลดลง แต่จากแนวทางการปล่อยสินเชื่อข้างต้นและภาวะดอกเบี้ยต่ำ ส่งผลให้ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ย หรือ NIM ลดลงมาอยู่ที่ 3.00% เทียบกับ 3.06% ในไตรมาสที่แล้ว และรายได้ดอกเบี้ยสุทธิในไตรมาส 1/2564 อยู่ที่ 12,872 ล้านบาท หรือลดลง 4.8% จากไตรมาสก่อน

รายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิอยู่ที่ 3,032 ล้านบาท ปรับตัวดีขึ้น 2.1% จากไตรมาสก่อน หนุนโดยรายได้ค่าธรรมเนียมการขายกองทุนจากการเปิดตัวกองทุนใหม่และภาวะตลาดหุ้นที่เอื้ออำนวย อย่างไรก็ดี รายได้จากการขายประกันชะลอลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ซึ่งเป็นช่วง High season ประกอบกับธนาคารได้มีการทยอยขายเงินลงทุนออกไปเพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนในตลาดตราสารหนี้และรับรู้กำไรจากการขายไปแล้วในไตรมาสก่อน ๆ จึงทำให้การรับรู้กำไรจากการขายเงินลงทุนในไตรมาสนี้ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว ทำให้โดยรวมธนาคารมีรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยอยู่ที่ 3,971 ล้านบาท ลดลง 7.6% จากไตรมาสก่อน

ในส่วนของค่าใช้จ่ายนั้น ธนาคารยังคงบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้เป็นอย่างดี แม้จะมีกิจกรรม Integration และค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นครั้งเดียวที่เกี่ยวเนื่องกับการรวมกิจการ โดยค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานในไตรมาส 1/2564 อยู่ที่ 7,928 ล้านบาท ลดลง 2.0% จากไตรมาสที่แล้ว และอัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้อยู่ที่ 47% เป็นไปตามกรอบเป้าหมายที่ 47%-49%

จากรายได้และค่าใช้จ่ายข้างต้น ส่งผลให้กำไรจากการดำเนินงานก่อนหักสำรองฯ อยู่ที่ 8,898 ล้านบาท ลดลง 9.3% สะท้อนให้เห็นผลจากการเติบโตธุรกิจอย่างระมัดระวังท่ามกลางเศรษฐกิจที่ยังคงเปราะบาง อย่างไรก็ดี ค่าใช้จ่ายการตั้งสำรองฯ ลดลง 33.5% มาอยู่ที่ 5,480 ล้านบาท จึงทำให้มีกำไรสุทธิ 2,782 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 125.3% จากไตรมาส 4/2563

ด้านคุณภาพสินทรัพย์เป็นไปตามที่คาดการณ์ว่าในปี 2564 จะเริ่มเห็นการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อด้อยคุณภาพ ทั้งที่มาจากการผิดนัดชำระหนี้ของลูกหนี้และจากแนวโน้มการแก้หนี้ที่คาดว่าทำได้ช้าลงเมื่อเทียบกับปีก่อน ทำให้ ณ สิ้นไตรมาส 1/2564 อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 2.75% เทียบกับ 2.50% ในไตรมาสก่อน ยังคงต่ำกว่ากรอบประมาณการที่ระดับไม่เกิน 3.6% ส่งผลให้อัตราส่วนสำรองฯ ต่อสินเชื่อคุณภาพย่อตัวลงมาอยู่ที่ 124% จาก 131% ในไตรมาสก่อน แต่ยังถือว่าอยู่ในระดับสูง

สำหรับความเพียงพอของเงินกองทุนก็ยังอยู่ในระดับสูงเป็นลำดับต้น ๆ ของอุตสาหกรรมธนาคารไทย โดย ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2564 อัตราส่วน CAR และ Tier I (เบื้องต้น) อยู่ที่ 19.5% และ 15.5% สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ 11.0% และ 8.5% ตามลำดับ

นายปิติ กล่าวในตอนท้ายว่า “สำหรับแผนรวมกิจการระหว่างทีเอ็มบีและธนชาต ยังคงเดินหน้าได้ตามเป้าหมาย ไม่กระทบจากสถานการณ์โควิด-19 โดยการรวมธนาคารจะเสร็จสิ้นได้ตามกำหนดภายในเดือนกรกฎาคมนี้ แน่นอน พร้อมย้ำเดินหน้าวางเป้าหมายสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้กับคนไทย”

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

TMB reported 1Q21 net profit of THB 2,782 million, up 125% from the previous quarter, on the back of lower provision as the Bank already built up provision buffer in advance during 3Q-4Q20. The integration is expected to complete in July 2021 as planned.

Bangkok, 20 April 2021 - TMB or TMB Bank Public Company Limited and its subsidiaries announced today its 1st quarter financial performance of 2021. The Bank posted net profit of THB 2,782 million, up 125% from 4Q20 due to less provision compared to previous quarter. In 1Q21, the Bank set aside provision of THB 5,480 million. Such an amount was higher than normal level but decreased from THB 8,237 million in 4Q20 when the Bank significantly elevated provision in preparation for economic uncertainty in 2021.

Mr. Piti Tantakasem, CEO, mentioned “Overall, operating performance in 1Q21 was under challenging environment as economic situation has not fully resumed to a normal level. Therefore, the Bank put priority on loan quality rather than volume growth. Although, this could pressure interest income, it is more important not to add more risks to the Bank’s balance sheet and asset quality under the current circumstance. 

Cost discipline is another key important factor. TMB and Thanachart Bank have efficiently managed operating expenses despite the integration activities to merge the two banks. This can be reflected by cost to income ratio which has been in line with the target since the beginning of the merger.

In the aspect of COVID-19 situation, the Bank saw an improving trend from customers following the resumption of economic activities. Loan under moratorium program has gradually reduced. At the beginning, it was around 40% of total loan portfolio and down to 14% at the end of 1Q21. The Bank has closely monitored customers and found that most of customers under the relief programe still have debt service ability and they requested only for a modified repayment terms to match with their current liquidity during this difficult time.

The resurgence of the pandemic in April may have an impact in the near term. However, TMB and Thanachart Bank as well as other Thai banks have strong financial position, supported by robust capital base, strong liquidity and risk absorption ability. Moreover, last year, most banks already accelerated their provision levels in order to prepare ahead of NPL trend in 2021.

In addition, the supporting measures from government sector and the Bank of Thailand, namely the extension of debt moratorium period and the latest measures of asset warehousing and special soft loan, were a crucial instrument that allows banks to provide better assistance to customers and retain customers who still have potential in the long run. Furthermore, this lessened impacts from provision setup and helped banks manage asset quality more efficiently.

With the strength of Thai banks complemented with mechanism from the government, Thai banking industry are ready and able to assist customers amid a long recovery to the pre-COVID 19 level”    

The details of operating performance are as follows. Deposit was THB 1.38 trillion, up by 0.8% from the end of 2020 (YTD). The increase was in line and as part of the post-merger plan by reducing Time Deposit and replacing with flagship products such as All Free and No Fixed which continued to grow well.

Loan was reported at THB 1.38 trillion, down by 0.9% YTD. This was in line with the direction to grow new loans selectively. Key loan growth areas would come from secured loan especially mortgage and hire purchase. Although secured loan may generate lower yield than unsecured lending, it helps limit portfolio risk, given the fragile economy due to COVID-19 pandemic.

For interest income, even cost of deposit continued to decline on the back of deposit optimization after the merger, the loan quality strategy and low interest rate environment outweighed NIM. Consequently, NIM dropped to 3.00% from 3.06% quarter-on-quarter (QoQ) and Net Interest Income was at THB 12,872 million, down by 4.8% QoQ.

 Net fee and service income was at THB 3,032 million, up 2.1% QoQ. Key driver was mutual fund fee, boosted by new IPO launches as well as favorable market sentiment. However, bancassurance fee was slowdown from a high season in 4Q20. Also, the Bank had sold its investment to limit impact from volatile bond markets and booked gain from the sales in the previous quarters. As a result, gain from sales of investment was lower QoQ. Overall, Non-Interest Income came in at THB 3,971 million or dropped by 7.6% QoQ.

On the expense side, the Bank continued to manage and keep cost discipline while there were integration activities and one-time expense incurred from the merger plan. In 1Q21, operating expense was at THB 7,928 million, a 2.0% decrease QoQ. Cost to income ratio was at 47%, in line with target range of 47%-49%.

As a result of revenue and cost mentioned above, pre-provision profit was recorded at THB 8,898 million, down by 9.3%. This reflected a result of the Bank’s prudent business direction amid fragile economy. However, as provision dropped 33.5% QoQ to THB 5,480 million, net profit was at THB 2,782 million or rose by 125.3% from 4Q20.

In terms of asset quality, the Bank expected to see an uptick in non-performing loans in 2021, due mainly to asset deterioration and a slower NPL resolution than last year. As expected NPL ratio was reported at 2.75% at the end of 1Q21, compared to 2.50% in the previous quarter. The NPL ratio was still under the Bank’s estimated guidance of 3.6%. NPL coverage ratio, as a result, declined to 124% from 131% in the last quarter but still considered a high level.

Capital adequacy was among the top tier in Thai banking industry. As of March 2021, the preliminary CAR and Tier 1 was reported at 19.5% and 15.5%. The figures were above the Bank of Thailand’s minimum requirement of 11.0% and 8.5%, respectively.

Mr. Piti Tantakasem concluded “For the merger between TMB and Thanachart Bank, the integration has progressed as plan with no impact from COVID-19 situation. The entire business transfer is expected to complete by this July as target.

Political News