สำนักข่าวไทยไทม์นิวส์ • ThaitimeNews
loader
Foto

“ตรวจโครโมโซมตัวอ่อนก่อนการฝังตัว” NGS ดีอย่างไร?

โดย : นพ.เสฐียรพงศ์ จารุสินธนากร แพทย์ผู้ชำนาญการด้านสูตินรีเวช เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์และการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช  โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล

เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการมีบุตร การตรวจวิเคราะห์ความผิดปกติของโครโมโซมตัวอ่อน เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญของกระบวนการทำ IVF หรือ ICSI  เพราะเป็นการป้องกันและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม ที่สำคัญเมื่อผู้หญิงมีอายุที่มากขึ้นเมื่อมีการตั้งครรภ์จะทำให้เพิ่มโอกาสเกิดความผิดปกติทางโครโมโซมมากยิ่งขึ้น

การตรวจวิเคราะห์ความผิดปกติของโครโมโซมตัวอ่อน (NGS) คืออะไร?

NGS  หรือ Next Generation Sequencing เป็นเทคโนโลยีที่สามารถตรวจความผิดปกติของโครโมโซมได้ถึงในลำดับเบส ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่เล็กที่สุดของโครโมโซม ช่วยลดปัญหาที่ตัวอ่อนไม่ฝังตัว การแท้งในช่วงสามเดือนแรก หรือการตั้งครรภ์ที่โครโมโซมผิดปกติทำให้ทารกมีความผิดปกติแต่กำเนิด NGS สามารถตรวจความผิดปกติของโครโมโซมได้ครอบคลุมทั้ง 24 โครโมโซมได้ในครั้งเดียว ด้วยความแม่นยำสูง และมีอัตราการเกิดการผิดพลาด (False positive rate) ต่ำที่สุด เมื่อเทียบกับเทคนิคอื่นๆ

“ข้อดีของการตรวจตัวอ่อนก่อนการฝังตัว”

  • ทราบความผิดปกติของตัวอ่อนก่อนการฝังตัว
  • ลดอัตราการยุติการตั้งครรภ์ ที่เกิดจากตัวอ่อนมีความผิดปกติ
  • สามารถเลือกตัวอ่อนที่มีความสมบูรณ์แข็งแรงได้
  • โอกาสในการตั้งครรภ์สูงขึ้น
  • ลดการถ่ายทอดโรคทางพันธุกรรมจากรุ่นสู่รุ่น

“ใครควรตรวจ?”

  • ฝ่ายหญิงมีอายุมากกว่า 35 ปี
  • ผู้ที่ทราบว่าตนเองหรือครอบครัวตนเองหรือบุตรคนก่อน มีโรคถ่ายทอดทางพันธุกรรม
  • ผู้ที่ได้เคยใช้เทคโนโลยีช่วยในการเจริญพันธุ์หลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ
  • ผู้ที่มีประวัติแท้งหลายครั้ง

การตรวจวิเคราะห์ความผิดปกติของโครโมโซมตัวอ่อน ใช้เทคโนโลยีที่ตรวจวิเคราะห์จากพันธุกรรม เพื่อหาความผิดปกติของโครโมโซมตัวอ่อน พร้อมทั้งทำการคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อนที่สมบูรณ์ ทั้งนี้ควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้ชำนาญการ

 

Political News