สำนักข่าวไทยไทม์นิวส์ • ThaitimeNews
loader
Foto

นักวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล ได้รับการตีพิมพ์และอ้างอิงวิจัยสูงที่สุด Top2% ของโลก ปี 2020

“วิทยาศาสตร์พื้นฐาน” (Basic Sciences) เป็นรากฐานหลักของการวิจัยและนวัตกรรม โดยในปี 2022 องค์การยูเนสโก (UNESCO) กำหนดให้เป็น “ปีแห่งการวิจัยพื้นฐานเพื่อการพัฒนายั่งยืน” ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของ กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ให้ความสำคัญในเรื่องการส่งเสริมงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาประเทศ โดยในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก พบว่างานวิจัยที่ได้รับการอ้างอิง (Citation) สูงส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยที่เป็นวิทยาศาสตร์พื้นฐาน และบทความวิชาการ (review article)

มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นมหาวิทยาลัยซึ่งมีนักวิทยาศาสตร์ที่เป็นคณาจารย์ นักวิจัย และอาจารย์อาคันตุกะได้รับการตีพิมพ์และอ้างอิงสูงที่สุด Top2% ของโลก มากที่สุดในประเทศไทย จากการจัดอันดับล่าสุดปี พ.ศ.2563 โดยมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (World's Top 2% Scientists by Stanford University 2020) ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งหนึ่งในนักวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยมหิดลภาคภูมิใจ คือ Professor Dr.Duncan Richard Smith นักไวรัสวิทยา (Virologist) ชาวอังกฤษ แห่งสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้มีผลงานวิจัยตีพิมพ์มากถึง 230 เรื่อง

ผลงานวิจัยส่วนใหญ่ของ Professor Dr.Duncan Richard Smith เป็นการศึกษาทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานเกี่ยวกับเชื้อไวรัสที่มียุงเป็นพาหะ ซึ่งก่อให้เกิดโรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา หรือ โรคไข้ปวดข้อ และโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตของประชากรโลกในเขตร้อนชื้น โดย Professor Dr.Duncan Richard Smith กล่าวว่า ไวรัสวิทยา (Virology) เป็นหัวใจสำคัญของการมีสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคนบนโลกใบนี้ จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นแล้วว่า ไวรัสส่งผลกระทบต่อชีวิตของคนเรามากน้อยเพียงใด ซึ่งหากเราทำวิจัยด้านไวรัสวิทยาอย่างจริงจังมากเท่าไหร่ จะทำให้เราสามารถพัฒนาวัคซีนและยาใช้ได้จริงเร็วขึ้นเท่านั้น

การจะทำให้งานวิจัยได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ จะต้องมีทักษะในการเขียนบทความภาษาอังกฤษเชิงวิชาการที่ได้มาตรฐาน ซึ่งเป็นปัญหาส่วนใหญ่ของนักวิจัยจากประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ โดย Professor Dr.Duncan Richard Smith ได้นำเอาประสบการณ์ทางด้านการเป็นนักวิจัยมามากกว่า 20 ปี และในฐานะผู้ทำงานบริหารด้านวิจัย มาบรรยายถ่ายทอดเทคนิคการเขียนบทความวิชาการที่ดี สู่นักวิจัยรุ่นใหม่ ใน "โครงการอบรมติดอาวุธนักวิจัยรุ่นใหม่" ซึ่ง กองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล จัดมาแล้ว 6 รุ่น

เคล็ดลับ 3 ประการที่ Professor Dr.Duncan Richard Smith ได้กล่าวฝากทิ้งท้ายไว้สำหรับนักวิจัยรุ่นใหม่ ซึ่งจะทำให้เป็นนักวิจัยที่ประสบความสำเร็จ  คือ 1."Learn Your Job" 2."Love Your Job" และ 3."Build People" ซึ่งผู้ที่อยู่รอบข้างของเรา คือ ปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จ ยิ่งเรา “ลงทุน” กับผู้ที่อยู่รอบ

Political News