สำนักข่าวไทยไทม์นิวส์ • ThaitimeNews
loader
Foto

SMECN จับมือ ม.เกริก เปิดสถาบันพัฒนาธุรกิจการค้า ช่วยเหลือธุรกิจ SMEs ไทยช่วงหลังวิกฤต โควิด-19

สมาคมเครือข่ายที่ปรึกษาวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อม (SMECN) ลงนาม MOU ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกริก เปิดหลักสูตร “นักพัฒนาธุรกิจการค้าไทย-จีน” ร่วมมือกันผลักดันหลักสูตรเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจ ภาคการค้า และผู้ที่สนใจต้องการเป็นนักพัฒนาธุรกิจการค้า (ไทย-จีน) เน้นการเรียนรู้และเตรียมความพร้อมในการทำธุรกิจ ค้าขาย กับ จีน ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ในการพัฒนาธุรกิจไทยให้เข้มแข็งหลังวิกฤตโควิด-19

ศ.นพ.ดร.กระแส ชนะวงศ์  อธิการบดี  มหาวิทยาลัยเกริก เปิดเผยว่า การที่สมาคมฯคิดริเริ่มหลักสูตรขึ้นมาถือว่าเป็นความพยายามที่จะให้การศึกษาแก่ผู้ที่สนใจ โดยเฉพาะทางมหาวิทยาลัยเกริกก็เน้นเป็นพิเศษในเรื่องการบริหารจัดการ SMEs จึงถือเป็นนิมิตหมายที่ดีในการบริหารจัดการหลักสูตรร่วมกัน เพื่อการสนับสนุนและส่งเสริมหลักสูตรนักพัฒนาธุรกิจการค้าไทย-จีน ให้เกิดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ทางมหาวิทยาลัยฯเองก็มีหน้าที่สนับสนุนด้านวิชาการ เพราะมหาวิทยาลัยฯก็มีอะไรที่แตกต่างที่จะสนับสนุนหลักสูตรฯโดยมีคณะบริหารธุรกิจซึ่งเราจะมีคนเก่ง คนดี ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

 “หลังโควิดอะไรๆก็เปลี่ยนแปลงการศึกษาก็เหมือนกัน แต่การเปลี่ยนแปลงนั้นก็ไม่ได้ทิ้งหลักการให้การศึกษา เรียนเพื่อรู้ เรียนเพื่อทำได้ เรียนเพื่อจะเป็น อย่างสถานการณ์ตอนนี้ต้องมีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง ถือว่าหลักสูตรนี้มีประโยชน์ในยุคปัจจุบัน ทางมหาวิทยาลัยฯ จึงสนับสนุนหลักสูตรที่ไม่ต้องใช้คุรุสภา การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการศึกษาที่เน้นความเชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ทันสมัย ทันสถานการณ์ เพราะคนรุ่นใหม่ต้องการเรียนรู้ที่รวดเร็ว สั้นๆ กระทัดรัด ชัดเจน หลักสูตรนี้ได้เตรียมพร้อมและพิสูจน์มาแล้ว ทางมหาวิทยาลัยฯ มีหน้าที่เสริมให้ตัดสินใจได้เร็วดั้งคำสอนที่ว่า “ผู้นำต้องสร้างผู้นำ”สิ่งที่จะทำได้คือคอยสนับสนุนให้คำแนะนำทำให้หลักสูตรแข็งแรงและมีภาพพจน์ที่สวยงาม รวมถึงการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยเกริก ที่เป็นไปตามหลักวิชาการอาทิ ห้องเรียน เครื่องมือการศึกษา ห้องสมุด ฯลฯ นอกจากนี้ยังได้ประโยชน์กับการศึกษาร่วมกัน เพราะเป็นที่มหาวิทยาลัยฯ มีอาจารย์จีนจากยุโรป อเมริกา ไต้หวัน ที่สามารถเชิญมาร่วมบรรยายในหลักสูตรฯ และทางจีนเองก็น่าจะยินดีที่ได้เราเป็นเครือข่าย ธุรกิจร่วมกับประเทศจีน ศ.นพ.ดร.กระแส กล่าว

ทางด้าน ดร.วิริยะ ลิขิตวงศ์  ผู้อำนวยการสถาบันธุรกิจการค้าแห่งมหาวิทยาลัยเกริก กล่าวว่า หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรแรกและหลักสูตรเดียวในประเทศไทยที่ตั้งใจทำเพื่อประโยชน์ของนักธุรกิจการค้าหรือผู้ประกอบการ SME โดยได้รับการสนับสนุนจากเชี่ยวชาญเฉพาะทาง หลากหลาย ทำหน้าที่ให้ความรู้ ถ่ายทอดความรู้และช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEหรือนักธุรกิจ นักลงทุน นักการค้า ในเรื่องของการช่วยเหลือข้อแนะนำต่างๆ ทั้งเรื่องการให้คำปรึกษาเรื่องการขาย การตลาด การลงทุน การเงิน ฯลฯ

สำหรับความเป็นมาของหลักสูตรนี้เกิดขึ้นจากการได้มีโอกาสไปให้จัดการเรียนการสอน ให้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เกี่ยวกับเรื่องการเป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะนำ ซึ่งภาระกิจหลักของเจ้าหน้าที่ DBD จะทราบกันดีว่าจะรับจดทะเบียนนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็นบริษัทหรือหจก. แต่เมื่อประชาชนที่มาจดทะเบียนหรือว่าผู้ประกอบการมาจดทะเบียนการค้านิติบุคคลแล้ว จะมีคำถามกับเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าว่า จะขอสินเชื่อได้ที่ไหน SME แบงค์อยู่ตรงไหน การขอสินเชื่อต้องมีรายละเอียดอะไรบ้าง การลงทุนเป็นอย่างไร ซึ่งโดยส่วนใหญ่ยังไม่มีข้อมูลที่ตอบกับประชาชนได้ชัดเจน ก็เลยร่วมกันพัฒนาหลักสูตรนี้ขึ้นมามีผู้มาเรียนประมาณ  80 ท่าน โดยสอนอาทิตย์ละ1 วัน ได้ผลตอบรับค่อนข้างดี ผู้ที่มาเรียนสามารถนำไปถ่ายทอดความรู้ได้ในระดับหนึ่ง

ด้วยผลตอบรับที่ดีมีประสิทธิภาพและสิทธิผลนั้น เห็นว่าผลจากการอบรมดังกล่าวน่าจะมีประโยชน์ในการพัฒนาให้กับผู้ที่สนใจหรือบุคลากรที่อยากเป็นนักพัฒนาธุรกิจการค้า จึงได้เปิดหลักสูตร "นักพัฒนาธุรกิจการค้าไทย-จีน" รุ่นที่ 1 ของมหาวิทยาลัยเกริก ขึ้นมา ซึ่งการเรียนการสอนจะมีเรียนกันทุกวันเสาร์เวลา 9.00 น.-17.00 น. เรียนทั้งหมด 20 ครั้ง  จบแล้วสามารถเป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ประกอบการได้เป็นอย่างดี หรือกลับไปพัฒนาองค์กรของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จุดเด่นของการร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเกริกกับหลักสูตรฯนี้คือการเชิญอาจารย์ทางด้านการค้าของจีนมาร่วมบรรยายเสริมหลักสูตรฯ เชื่อว่าจะสามารถช่วยทำให้ทะลุปรุโปร่งเข้าใจ สังคม วัฒนธรรม การค้าแบบจีนได้อย่างชัดเจน ในหลักสูตรนี้เรียนในห้องเรียน ซึ่งการเรียนการสอนจะเรียนกันทุกวันเสาร์  เวลา 9.00 น.-18.00 น. จำนวนเวลาเรียนตลอดหลักสูตรกว่า 20 วิชา ได้แก่

1.กลุ่มวิชา ผู้บรรยาย อาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ จีน

  1. วิชาพื้นฐานด้านสังคมและวัฒนธรรมจีน
  2. วิชาพื้นฐานด้านเศรษฐกิจและการค้าจีน
  3. วิชาพฤติกรรมผู้บริโภค ไทย-จีน
  4. วิชากลยุทธ์ธุรกิจไทย สู่ ตลาดจีน
  5. วิชาการพัฒนาสินค้าที่เหมาะสมกับผู้บริโภคชาวจีน
  6. วิชาระบบการเงินและการธนาคารของจีน
  7. วิชาการจดทะเบียน/ร่วมทุน/การภาษีของจีน

2.กลุ่มวิชา ผู้บรรยาย อาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ ไทย

  1. วิชาข้อมูลธุรกิจการค้าของหน่วยงานภาครัฐ
  2. วิชาข้อมูลธุรกิจการค้าของหน่วยงานภาคเอกชน
  3. วิชาช่องทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพ
  4. วิชาช่องทางการขายผ่านทาง On Line
  5. วิชานวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์
  6. วิชาระบบคุณภาพมาตรฐาน
  7. วิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์
  8. วิชาการขับเคลื่อนประเทศไทยตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี(หลังยุคโควิด-19)

3.กลุ่มวิชา ผู้บรรยาย อาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ จากภาครัฐ

  1. วิชาการสนับสนุนทางการเงินของผู้ประกอบการไทย
  2. วิชากฎหมายธุรกิจ
  3. วิชาการนำเข้า ส่งออก
  4. วิชาการส่งเสริมการลงทุนกับยุทธศาสตร์ไทย
  5. วิชาการส่งเสริมการค้าระหว่าประเทศ
  6. วิชาการสนับสนุนการส่งเสริมการส่งออก
  7. วิชาการเงินกับการส่งออก

พบกับ 2 งานเสวนาใหญ่ 1.งานเสวนา  “ มุมมอง กูรู ไทย – จีน ”  ในวันที่ 3 ตุลาคม 2563 และ 2.งานเสวนา “ คนจีน ต้องการอะไร จากสินค้าไทย ” ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2563 สุดท้ายนำเสนอแผนธุรกิจ ในงาน Investor Day นำเสนอแผนธุรกิจ แก่ผู้สนใจ ที่ร่วมลงทุน ในวันที่ 19 ธันวาคม 2563 โดยมีนักลงทุนตัวจริง Investor  / Banker เข้าร่วม ดร.วิริยะกล่าวทิ้งท้าย

ขณะนี้กำลังเปิดรับสมัครนักศึกษารุ่นที่ 1 สำหรับท่านที่สนใจสอบถามรายละเอียด หลักสูตรนักพัฒนาธุรกิจการค้าไทย-จีน  ได้ที่ ขณะนี้กำลังเปิดรับสมัคร สามารถสอบถามรายละเอียดหลักสูตรได้ที่

โทรศัพท์มือถือ  063-751-6318 ,  โทรศัพท์ : 02-907-5820 ต่อ 456  และ  02-0044-188        

E mail  : [email protected]     FB. หลักสูตรนักพัฒนาธุรกิจการค้า-นพธ.

สอบถามข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์เพิ่มได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทร. 081-732-7889 

Political News