สำนักข่าวไทยไทม์นิวส์ • ThaitimeNews
loader
Foto

“หัวเว่ย”ผงาดกวาด 8 รางวัล รวม 5 รางวัลใหญ่จากงาน Interop Tokyo 2020

การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) สร้างความเปลี่ยนแปลงที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนต่อหลายอุตสาหกรรมและภาคส่วน ทว่าไม่สามารถหยุดการพัฒนาที่รวดเร็วของอุตสาหกรรมไอซีที โดยคณะกรรมการผู้จัดงาน Interop Tokyo 2020 หรืองานแสดงด้านไอซีทีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ได้ประกาศผู้ชนะรางวัล Best of Show Award ซึ่งผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่มีนวัตกรรมของหัวเว่ยคว้าไป 8 รางวัล แสดงให้เห็นถึงข้อได้เปรียบด้านเทคนิคที่มีเอกลักษณ์

หัวเว่ย ได้รับรางวัลดังนี้:

รางวัลใหญ่สาขา Network Infrastructure สำหรับ OptiXtrans OSN 9800 M12 ผลิตภัณฑ์ส่งผ่านข้อมูล Super C-band ตัวแรกของอุตสาหกรรม

รางวัลใหญ่สาขา Cloud Infrastructure สำหรับสวิตช์ศูนย์ข้อมูล CloudEngine 16800 ซึ่งเป็นไลน์การ์ด 400 GE ที่มีความหนาแน่นที่สุดในอุตสาหกรรมสำหรับศูนย์ข้อมูลในยุค AI

รางวัลใหญ่สาขา Server and Storage สำหรับ OceanStor Dorado 8000/18000 V6 โซลูชันการจัดเก็บข้อมูลแบบออลแฟลชรุ่นใหม่ ที่มุ่งเน้นการผลิตและการทำธุรกรรมหลัก พร้อมเข้ามากำหนดมาตรฐานใหม่ในแง่ของสมรรถนะ ความน่าเชื่อถือ และความอัจฉริยะอย่างต่อเนื่อง

รางวัลใหญ่สาขา IoT สำหรับ AR502H เกตเวย์ประมวลผลแบบเอดจ์ของหัวเว่ย

รางวัลใหญ่สาขา Facility สำหรับ eMIMO โซลูชันสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการประมวลผลแบบเอดจ์

รางวัลสาขา AI สำหรับคลัสเตอร์ Huawei Atlas 900 โดยเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งเดียวที่ได้รับรางวัลดังกล่าว

รางวัลพิเศษสาขา Enterprise IT สำหรับ Huawei 5G AR NetEngine AR6000

รางวัลพิเศษสาขา Network Infrastructure สำหรับผลิตภัณฑ์ Data Center Interconnect (DCI) อัจฉริยะอย่าง Huawei OptiXtrans DC908 โดยมีความจุไฟเบอร์เดี่ยวอยู่ที่ 88 Tbit/s พร้อมด้วยการดำเนินงานและการบำรุงรักษา (O&M) ด้วย AI

รางวัลของหัวเว่ยจากงาน Interop Tokyo 2020 และจากปีก่อนหน้านั้น แสดงให้เห็นการยอมรับของแวดวงอุตสาหกรรมต่อนวัตกรรมและคุณภาพของหัวเว่ย และสะท้อนการลงทุนเชิงกลยุทธ์ในระยะยาวด้านการวิจัยและการพัฒนา (R&D) ด้วย การยอมรับดังกล่าวทั้งจากคนในวงการและลูกค้ายังเป็นแรงผลักดันเบื้องหลังความทุ่มเทที่ต่อเนื่องของบริษัท หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะลงทุนด้าน R&D ในระยะยาว เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์และโซลูชันไอซีทีที่มีศักยภาพแข่งขัน เปี่ยมนวัตกรรม และมีเอกลัษณ์ผ่านนวัตกรรมเทคโนโลยีหลัก

หลังจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 Interop Tokyo 2020 จึงได้ยกเลิกการจัดแสดงภาคสนาม โดยได้หันไปเปิดการจัดแสดงและการประกาศรางวัลด้านไอซีทีทางออนไลน์แทน ตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน ถึง 30 มิถุนายน งานดังกล่าวได้แสดงนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำที่สุด ตลอดจนแนวปฏิบัติต่าง ๆ ภายในอุตสาหกรรม Interop Tokyo รวบรวมโซลูชันชั้นนำในหลากหลายสาขา เช่น AI, IoT, การประมวลผลแบบเอดจ์ และอินเทอร์เน็ตอุตสาหกรรม และช่วยสร้างพละกำลังและความมั่นใจแก่อุตสาหกรรมและโลกในวงกว้างขึ้น

หัวเว่ยได้สานต่อความร่วมมือ “ที่เปิดกว้าง ทำงานร่วมกัน และสร้างประโยชน์ร่วมกัน” กับพันธมิตร จนทำให้สามารถจัดแสดงระบบนิเวศอัจฉริยะด้านดิจิทัลใหม่ล่าสุด และกรณีการใช้งานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผลิตภัณฑ์และโซลูชันรวมกัน 14 รายการ ข้อเสนอที่ล้ำสมัยเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของหัวเว่ย ในการเร่งความก้าวหน้าด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีอัจฉริยะอย่างครอบคลุมในแวดวงไอซีที ด้วยการลงทุนอย่างต่อเนื่องในเทคโนโลยีไอซีทีและระบบนิเวศใหม่ และด้วยการสั่งสมประสบการณ์ด้านการบริการระดับโลกมาอย่างต่อเนื่อง หัวเว่ยจึงได้รับความไว้วางใจจากองค์กรธุรกิจชั้นนำที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จนถึงปัจจุบัน กว่า 700 เมืองและบริษัทระดับ Fortune Global 500 ทั้งสิ้น 228 ราย ในจำนวนนี้รวมถึงบริษัทระดับ Fortune Global 100 ทั้งสิ้น 58 ราย ได้เลือกหัวเว่ยเป็นผู้ช่วยในการพลิกโฉมสู่ยุคดิจิทัล

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Political News