สำนักข่าวไทยไทม์นิวส์ • ThaitimeNews
loader
Foto

เกียรตินาคินภัทร โชว์กำไรครึ่งปีแรก3,064ล้านบาทโต 13.1% อนิสงส์สินเชื่อขยายตัวต่อเนื่องทุกประเภท

ปี 2561 นี้ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ยังเพิ่มช่องทางการให้บริการไม่ว่าออฟไลน์หรือออนไลน์เพื่อขยายฐานลูกค้าเชิงรุกในผลิตภัณฑ์สินเชื่อและเงินฝาก อีกทั้งต่อยอดการขายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง(cross-selling) ภายในกลุ่มธุรกิจฯ นอกจากนี้ เพื่อยกระดับบริการสำหรับลูกค้าบุคคลรายใหญ่กลุ่มธุรกิจฯ ยังพัฒนาช่องทางการลงทุนในต่างประเทศให้หลากหลาย และอำนวยความสะดวกให้ลูกค้ารับคำแนะนำในการลงทุนและทำรายการได้ใกล้ชิดกว่าบริการ Private Bank ต่างประเทศ ส่วนนโยบายทางด้านสาขานั้น ธนาคารมีแนวคิดเรื่องการพัฒนาเครือข่ายสาขา ซึ่งรวมถึงการปิดย้ายสาขาหรือปรับปรุง ตั้งแต่เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา (ปัจจุบันมี 65 สาขา) เนื่องจากมีเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เข้ามาอำนวยความสะดวกมากขึ้น โดยในอนาคต หลายสาขาของธนาคารจะถูกยกระดับให้เป็น Financial Hub โดยล่าสุดเมื่อเดือนพฤษภาคม 2561 ธนาคารได้เปิดให้บริการ Financial Hub แห่งที่สามที่สาขาเยาวราช เพื่อเป็นศูนย์บริการทางการเงินครบวงจรภายใต้แนวคิด “ธนาคารเป็นมากกว่าที่คุณคิด” โดยลูกค้าสามารถใช้บริการ Financial Hub ของธนาคารทั้งสามสาขาได้ที่ สาขาเซ็นทรัลเวิลด์ สาขาทองหล่อ และสาขาเยาวราช

ผลการดำเนินงานงวดหกเดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2561 ของกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (ธนาคารเกียรตินาคิน และบริษัทย่อย) เปรียบเทียบกับงวดครึ่งปีแรกปี 2560 มีกำไรสุทธิ ไม่รวมส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเท่ากับ 3,064 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 จากงวดเดียวกันของปี 2560 เป็นกำไรสุทธิของธุรกิจตลาดทุน ซึ่งดาเนินการโดยบริษัท ทุนภัทร จากัด (มหาชน) (ทุนภัทร) และบริษัทย่อย ได้แก่ บล.ภัทร และ บลจ.ภัทร จำนวน 824 ล้านบาท  

อนึ่ง ในไตรมาส 2/2561 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิไม่รวมส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเท่ากับ 1,551 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.9 เมื่อเปรียบเทียบกับกำไรสุทธิจานวน 1,185 ล้านบาทในไตรมาส 2/2560 หากเปรียบเทียบกับไตรมาส 1/2561 กาไรสุทธิเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 2.5 จาก 1,513 ล้านบาทในไตรมาส 1/2561

กลุ่มธุรกิจฯ มีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ  5,397 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 จากงวดเดียวกันของปีก่อน  ส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิ อยู่ที่ 2,206 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.7  และรายได้อื่น 1,160 ล้านบาท รวมเป็นรายได้จากการดำเนินงานทั้งสิ้น 8,763 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0 จากงวดเดียวกันของปี 2560

สินทรัพย์รวม ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2561 อยู่ที่ 289,084 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 29,749 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.5 จากสิ้นปี 2560

ธุรกิจธนาคารพาณิชย์

ไตรมาส 2/2561 สินเชื่อของธนาคาร ขยายตัวอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับสิ้นไตรมาส 1/2561 ส่งผลให้ในครึ่งปีแรกของปี 2561 สินเชื่อโดยรวมของธนาคารมีการขยายตัวที่ร้อยละ 10.2 โดยสินเชื่อมีการขยายตัวในทุกประเภท รวมถึงสินเชื่อเช่าซื้อที่ยังคงมีการขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 2.8 จากสิ้นปี 2560 ในด้านคุณภาพของสินเชื่อ อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวมยังคงปรับลดลงต่อเนื่องโดย ณ สิ้นไตรมาส 2/2561 อยู่ที่ร้อยละ 4.5 ลดลงเมื่อเทียบกับร้อยละ 5.0 ณ สิ้นปี 2560 ทางด้านธุรกิจบริหารหนี้ ธนาคารขายทรัพย์รอการขายได้ในไตรมาส 2/2561 จำนวน 413 ล้านบาท และมีกำไรจากการขายทรัพย์รอการขาย 195 ล้านบาท ในส่วนของธุรกิจตลาดเงินสามารถทำรายได้จานวน 64 ล้านบาทในไตรมาส 2/2561 ทางด้าน บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จากัด (มหาชน) (บล.ภัทร) มีส่วนแบ่งตลาด (SET และ mai ไม่รวมบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัท) ร้อยละ 4.2 ซึ่งเป็นอันดับที่ 8 จากบริษัทหลักทรัพย์ทั้งหมด 38 แห่ง ลดลงจากร้อยละ 4.7 ในไตรมาส 1/2561

ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2561 ธนาคารมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) คำนวณตามเกณฑ์ Basel III ซึ่งรวมกำไรถึงสิ้นปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 16.27 โดยเงินกองทุนชั้นที่ 1 เท่ากับร้อยละ 12.72 แต่หากรวมกำไรถึงสิ้นไตรมาส 2/2561 อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงจะเท่ากับร้อยละ 17.35 และเงินกองทุนชั้นที่ 1 เท่ากับร้อยละ 13.80

ธุรกิจตลาดทุน

ประกอบด้วย ธุรกิจนายหน้า ธุรกิจวานิชธนกิจ ธุรกิจการลงทุน และธุรกิจจัดการกองทุน

บล.ภัทร ดำเนินธุรกิจให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ และตราสารอนุพันธ์แก่ลูกค้าประเภทสถาบันทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงกลุ่มลูกค้าบุคคลรายใหญ่ภายใต้บริการ Private Wealth Management ซึ่งในกลุ่มนี้บริษัทให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุนและหุ้นกู้อนุพันธ์อีกด้วย สำหรับไตรมาส 2/2561 บล.ภัทร มีส่วนแบ่งตลาด ร้อยละ 4.2 เป็นอันดับที่ 8 จากบริษัทหลักทรัพย์ทั้งหมด 38 แห่ง และบล.ภัทร มีรายได้ค่านายหน้า 288 ล้านบาท ประกอบด้วย รายได้ค่านายหน้าจากการซื้อขายหลักทรัพย์ 252 ล้านบาท และรายได้ค่านายหน้าจากการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ 36 ล้านบาท นอกจากนี้ บล.ภัทร ยังมีรายได้ค่านายหน้าจากการเป็นตัวแทนขายหน่วยลงทุน 121 ล้านบาท

ธุรกิจวานิชธนกิจ (Investment Banking Business)

บล.ภัทร ประกอบธุรกิจวานิชธนกิจ ให้บริการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินและการจัดจาหน่ายหลักทรัพย์ ในไตรมาส 2/2561 บล.ภัทร มีรายได้รวม 95 ล้านบาท ประกอบด้วย รายได้ที่ปรึกษาทางการเงิน 88 ล้านบาท และรายได้การจัดจาหน่ายหลักทรัพย์ 7 ล้านบาท

ธุรกิจกำรลงทุน (Investment Business)

ธุรกิจการลงทุนของบริษัทอยู่ภายใต้การดาเนินงาน 3 หน่วยงานหลัก โดยทุนภัทรจะเป็นผู้ประกอบการลงทุนโดยตรงภายใต้การดูแลของ ฝ่ายลงทุน (Direct Investment) ซึ่งรับผิดชอบการลงทุนระยะปานกลางและระยะยาว ส่วนบล.ภัทรดูแลการลงทุนระยะสั้นโดย 2 หน่วยงานคือ 1) ฝ่ายค้าหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Equity and Derivatives Trading) เน้นลงทุนในหลักทรัพย์ประเภททุน (Equity) และกึ่งทุน (Equity-Linked Securities) ในตลาดหลักทรัพย์ฯ และตลาดอนุพันธ์ เป็นการลงทุนระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี โดยเน้นกลยุทธ์ด้านการหากำไรส่วนต่าง (Arbitrage) รวมถึงการเป็นผู้ออกและเสนอขายผลิตภัณฑ์ทางการเงิน (Financial Products) ตัวอย่างเช่นหุ้นกู้อนุพันธ์ ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ เป็นต้น และ 2) ฝ่ายเฮดจ์ฟันด์ (Hedge Fund) เน้นการลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทตราสารทุนและตราสารอนุพันธ์ระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี โดยเน้นกลยุทธ์การลงทุนที่ผลตอบแทนไม่ผันแปรกับทิศทางการเคลื่อนไหวของตลาด (Market Neutral) โดยอาศัยการลงทุนอย่างมีระบบ (Systematic) ประกอบกับการประมวลข้อมูลเชิงสถิติเป็นเครื่องช่วยในการลงทุน

ไตรมาส 2/2561 ฝ่ายลงทุน มีผลขาดทุนจากการลงทุนโดยรวมขาดทุนจากการวัดมูลค่าเงินลงทุนในหลักทรัพย์ 359 ล้านบาท ส่วนของธุรกิจเฮดจ์ฟันด์มีรายได้ 12 ล้านบาท ฝ่ายค้าหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสามารถทำรายได้จานวน 305 ล้านบาท และเมื่อรวมกับรายได้จากการลงทุนอื่นในส่วนของการบริหารเงินทุนและสภาพคล่องของบริษัท ทาให้ในไตรมาส 2/2561 บริษัทและบริษัทย่อยมีผลขาดทุนรวมจากธุรกิจลงทุน 25 ล้านบาท

ธุรกิจจัดกำรกองทุน (Asset Management Business)

ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2561 บลจ.ภัทร มีทรัพย์สินภายใต้การจัดการของกองทุน 62,054 ล้านบาท มีจำนวนกองทุนภายใต้การบริหาร 25 กองทุน แบ่งเป็นกองทุนรวม (Mutual Fund) 22 กอง และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ 3 กอง มีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 1.3 สำหรับไตรมาส 2/2561 บลจ.ภัทร มีรายได้ค่าธรรมเนียมธุรกิจจัดการกองทุนรวม 123 ล้านบาท สำหรับกองทุนส่วนบุคคล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2561 มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การบริหารทั้งสิ้น 25,333 ล้านบาท ทั้งนี้ บลจ.ภัทร มีรายได้ค่าธรรมเนียมธุรกิจจัดการกองทุนส่วนบุคคล 78 ล้านบาท

ภาวะเศรษฐกิจ ตลาดเงิน ตลาดทุน

เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2/2561 ขยายตัวได้ดีต่อเนื่องจากไตรมาสแรกของปี โดยเป็นผลจากการเติบโตของภาคต่างประเทศตามทิศทางการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ทั้งการส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยวที่ยังดีต่อเนื่อง ประกอบกับการฟื้นตัวของการใช้จ่ายในประเทศของภาคเอกชนที่กระจายตัวมากขึ้น ทั้งการบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนภาคเอกชน โดยการบริโภคภาคเอกชนฟื้นตัวอย่างชัดเจนในสินค้าคงทน (โดยเฉพาะรถยนต์) และสินค้าหมวดบริการ (อันเป็นผลจากภาคการท่องเที่ยว) ขณะที่หมวดสินค้าไม่คงทนและกึ่งคงทนเริ่มเห็นสัญญาณการปรับตัวดีขึ้น สอดคล้องไปกับรายได้ของภาคเกษตรที่กลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบปี สำหรับการลงทุนภาคเอกชนเริ่มเห็นการฟื้นตัวในหมวดก่อสร้าง จากเดิมที่การลงทุนภาคเอกชนมีความชัดเจนเฉพาะการลงทุนในหมวดเครื่องมือและเครื่องจักรที่เกี่ยวข้องกับภาคการส่งออกเป็นสาคัญ ในส่วนของการลงทุนของภาครัฐเร่งเบิกจ่ายต่อเนื่องหลังจากที่หดตัวมากในช่วงท้ายของปี 2560 ทั้งนี้ จากการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปี 2561 ที่ขยายตัวมากกว่าคาดอยู่ที่ร้อยละ 4.8 ผนวกกับแนวโน้มการฟื้นตัวดีต่อเนื่องในไตรมาส 2 ของปี ส่งผลให้ฝ่ายวิจัยฯ ของธนาคารปรับประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยทั้งปี 2561 มาอยู่ที่ร้อยละ 4.2 ต่อปี จากคาดการณ์เดิมที่ร้อยละ 3.8

Political News