สำนักข่าวไทยไทม์นิวส์ • ThaitimeNews
loader
Foto

ยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ ขับเคลื่อนเทคโนโลยีอัตโนมัติเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิต

ยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ (Universal Robots) บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านหุ่นยนต์เพื่อการทำงานร่วมกับมนุษย์ชั้นนำ ให้บริการระบบอัตโนมัติเพื่อยกระดับกำลังการผลิต เพิ่มคุณภาพสินค้าและสวัสดิภาพของคนงาน พร้อมลดต้นทุนได้มากกว่า 80,000 ดอลลาร์ ให้แก่บริษัท PT JVC Electronics Indonesia บริษัทในเครือแบรนด์ผู้นำด้านเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์เพื่อความบันเทิงระดับโลก ปัจจุบัน ยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ นำเสนอเทคโนโลยีแก่ฐานการผลิตมากกว่า 23,000 แห่ง ซึ่งช่วยเพิ่มผลกำไรให้แก่ธุรกิจต่าง ๆ ทั่วโลก สำหรับประเทศไทย โคบอทหรือหุ่นยนต์เพื่อการทำงานร่วมกับมนุษย์ (Collaborative robots: cobots) ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายทั้งในอุตสาหกรรมรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารและเครื่องดื่ม ยาง และภาคการผลิตทั่วไป

เชอร์ไมน์ กอทเฟร็ดเซ็น ผู้จัดการทั่วไป ยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนีย กล่าวว่า “เราทำงานร่วมกับบริษัท JEIN เพื่อเร่งการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบการผลิตแบบอัจฉริยะและการเติบโตที่ยั่งยืน ความสำเร็จด้านระบบอัตโนมัติของ JEIN คือสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงแนวทางในการบูรณาการโคบอทเข้ากับอุตสาหกรรมเพื่อช่วยให้ธุรกิจทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่งในปัจจุบันการใช้โคบอทแพร่หลายอย่างมากในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งช่วยเพิ่มกำลังการผลิต เพิ่มความปลอดภัยและลดภาระของคนงานในการทำงานแบบเดิมซ้ำๆ และงานที่ต้องใช้แรงมาก โคบอทยังถูกใช้ในภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ อาทิ รถยนต์ ยา และเคมีภัณฑ์ รวมถึงอาหารและเกษตรกรรม”

“ในประเทศไทย 85% ของอุตสาหกรรมการผลิตสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีหุ่นยนต์อัตโนมัติได้ แต่ปัจจุบันมีเพียง 50% ที่พร้อมจะใช้งานเทคโนโลยีนี้ภายใน 1-3 ปีข้างหน้า  ซึ่งเราขอให้สัญญาว่าจะสนับสนุนธุรกิจในประเทศไทยสู่การใช้งานระบบอัตโนมัติต่อไป โดยโคบอทของเรานั้นสามารถดำเนินงานและตั้งโปรแกรมได้อย่างง่ายดาย ทั้งยังสามารถนำไปปรับใช้ได้ทันที แม้พนักงานในบริษัทจะไม่มีความรู้เรื่องหุ่นยนต์เลยก็ตาม”

“เพื่อการสนับสนุนการศึกษาด้านหุ่นยนต์ เรามีสถาบัน UR Academy ซึ่งนำเสนอหลักสูตรการเรียนออนไลน์ฟรี เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ธุรกิจต่าง ๆ ในการฝึกฝนและการใช้งานหุ่นยนต์ ปัจจุบันมีผู้ใช้มากกว่า 20,000 รายจาก 132 ประเทศที่ได้ลงทะเบียนเพื่อรับการฝึกอบรม ซึ่งรวมถึงการฝึกฝนด้วยตนเองผ่านเครื่องจำลองแบบอินเตอร์แอ็คทีฟ” เชอร์ไมน์ กอทเฟร็ดเซ็น กล่าวเสริม

โคบอท แตกต่างจากหุ่นยนต์อุตสาหกรรมรุ่นเก่าที่ใหญ่โตเทอะทะ เพราะโคบอทมีน้ำหนักเบาและเคลื่อนย้ายสะดวก มีราคาที่ซื้อหาได้ง่ายขึ้น และยังสามารถปรับแต่งให้สอดคล้องกับการใช้งานที่แตกต่างหลากหลายได้ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าใช้โคบอทในหลายขั้นตอนของกระบวนการผลิต รวมถึงการจับ การประกอบ การตรวจสอบและการทดสอบ การบรรจุหีบห่อ การแจกจ่าย หรือแม้แต่การติดตั้งและการเคลือบแผงวงจร อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าถือเป็นผู้ใช้โคบอทรายใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกโดยคิดเป็นอุปสงค์ทั่วโลกถึง 18% ในปี 2015  ซึ่งภายในปี 2021 คาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าจะลงทุนราว 475 ล้านดอลลาร์  ในด้านโคบอท

 การเติบโตของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศไทยช่วยผลักดันอุปสงค์ของหุ่นยนต์เพื่อการทำงานร่วมกับมนุษย์

ภาคธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยประกอบด้วยบริษัทมากกว่า 2,300 แห่ง โดยมีการว่าจ้างพนักงานกว่า 400,000 คน  ซึ่งนับเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักที่สำคัญ ด้วยมูลค่ารวมการส่งออกในปี 2016  สูงกว่า 68 พันล้านดอลลาร์ โดยในปี 2017 ที่ผ่านมา รัฐบาลไทยได้ก่อตั้งสถาบันพัฒนาบุคลากรบุคลากรเทคโนโลยีอัตโนมัติและหุ่นยนต์ (Manufacturing Automation and Robotics Academy) เพื่อการขับเคลื่อนเทคโนโลยีอัตโนมัติและหุ่นยนต์ในภาคอุตสาหกรรมและพัฒนาแรงงานที่มีทักษะในอุตสาหกรรมสาขาหลัก อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้า  ซึ่งการริเริ่มโครงการนี้เกิดขึ้นพร้อมกับการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ด้านโคบอทเมื่อบรรดาผู้ผลิตต่างหันมาใช้ระบบอัตโนมัติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านกำลังการผลิตให้มากขึ้นท่ามกลางวิกฤตการณ์ขาดแคลนแรงงานและการแข่งขันที่สูงขึ้น โดยอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คาดการณ์ว่าจะเติบโตขึ้นเนื่องจากอุปสงค์ที่สูงขึ้นของแก็ดเจ็ทเทคโนโลยีและอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าถือเป็นภาคธุรกิจการส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของภูมิภาค คิดเป็น 25% ของสินค้าส่งออกทั้งหมด  โดยประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกำลังพยายามสร้างความสอดคล้องในด้านการค้าและการผลิตภายในภูมิภาค ซึ่งจะทำให้ผู้ผลิตมีข้อจำกัดทางการค้าน้อยลง และช่วยส่งเสริมการบูรณาการห่วงโซ่มูลค่าในภูมิภาคให้สามารถตอบสนองต่ออุปสงค์ของโลก  ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

โคบอทรุ่น UR3 ที่บริษัท JEIN

JEIN ผู้ผลิตอุปกรณ์โสตทัศน์และการนำทางในรถยนต์ เคยต้องพึ่งพากระบวนการผลิตด้วยมือมนุษย์อย่างมาก ต่อมาบริษัทได้เริ่มนำโคบอทรุ่น UR3 ของยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์จำนวน 7 หน่วยมาใช้ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตและรักษาคุณภาพของชิ้นงานให้สม่ำเสมอ

ด้วยคุณสมบัติขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และเคลื่อนย้ายสะดวก ทำให้โคบอทรุ่น UR3 สามารถเสริมการทำงานในโรงงานผลิตของบริษัทซึ่งมีเนื้อที่จำกัดได้เป็นอย่างดี โคบอทถูกนำมาติดตั้งโดยไม่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งใดมากมายในผังพื้นที่ปฏิบัติงาน ทั้งยังรองรับการใช้งานของตัวควบคุมที่หลากหลาย ทั้งตัวยึดจับ เหล็กหัวแร้ง และไขควงขนาดต่าง ๆ คุณสมบัตินี้ทำให้ทีมงานสามารถออกแบบโคบอทให้ทำงานที่แตกต่างกันในโรงงานได้ถึง 3 รูปแบบทั้งการขันน็อต การบัดกรี และการจับวาง

 ความปลอดภัยถือเป็นปัจจัยร่วมที่สำคัญสำหรับบริษัท JEIN ในการพิจารณาจัดซื้อโคบอท ซึ่งโคบอทรุ่น UR นี้ได้รับการออกแบบด้วยระบบความปลอดภัยที่จดสิทธิบัตรเฉพาะ เพื่อช่วยให้พนักงานสามารถทำงานใกล้กับเครื่องได้โดยไม่จำเป็นต้องติดแผงกั้นเพื่อความปลอดภัย (ตามการประเมินความเสี่ยง) นอกจากนี้ โคบอทยังช่วยให้คนงานไม่ต้องทำงานความเสี่ยงสูง เช่น การบัดกรีและการตัดแยกชิ้นส่วนแผ่นวงจรพิมพ์ ซึ่งจะปล่อยควันและอนุภาคฝุ่นละอองที่เป็นอันตรายต่อร่างกายออกมา

เอกัสตินัส พี. สิมานัลลัง ผู้จัดการทั่วไป แผนกวิศวกรรม JEIN กล่าวว่า “หลังจากนำโคบอทมาใช้ เราสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และชิ้นงานของเรายังมีคุณภาพที่สม่ำเสมอมากขึ้น เมื่อเราเปลี่ยนแปลงสู่ระบบอัตโนมัติ เราก็สามารถโยกย้ายแรงงานของเราไปสู่กระบวนการผลิตที่มีมูลค่าสูงในส่วนอื่นๆ ได้ และยังสามารถลดต้นทุนการดำเนินงานได้มากกว่า 80,000 ดอลลาร์ต่อปีเลยทีเดียว”

การนำเทคโนโลยีของยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์มาใช้งานอย่างประสบความสำเร็จของบริษัท JEIN ทำให้บริษัทและฝ่ายบริหารของกลุ่มบริษัทรู้สึกมั่นใจถึงความสะดวกในการใช้งานของระบบอัตโนมัติ ทำให้ในวันนี้ กลุ่มบริษัท JVCKENWOOD Group วางแผนจะนำโคบอทรุ่น UR ไปใช้ในการดำเนินงานทั้งที่ญี่ปุ่น จีน มาเลเซีย และไทย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Political News