สำนักข่าวไทยไทม์นิวส์ • ThaitimeNews
loader
Foto

TrueBusiness Forum 2018: The Digital Future to Sustainability โลกดิจิทัลแห่งอนาคตสู่ธุรกิจที่ยั่งยืน

ปัจจุบันโลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว  เทคโนโลยีต่าง ๆ ล้วนเข้ามามีบทบาทสำคัญมากในชีวิต   ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินชีวิตหรือการประกอบธุรกิจ การให้ความสำคัญกับทักษะด้านนวัตกรรมดิจิทัลจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ผู้ประกอบการจะต้องเตรียมความพร้อมในการนำเทคโนโลยีและโซลูชั่นล้ำสมัย มาต่อยอดธุรกิจ สร้างความแตกต่าง และเสริมความแข็งแกร่งแก่ธุรกิจของตนเองได้อย่างยั่งยืน

กลุ่มทรู ได้เห็นถึงความสำคัญของการขับเคลื่อนธุรกิจในโลกยุคดิจิทัลให้ประสบความสำเร็จ จึงได้จัดงาน TrueBusiness Forum 2018 : The Digital Future to Sustainability   โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญมาร่วมบรรยายและเสวนาในหัวข้อต่างๆ ที่น่าสนใจและจะเป็นประโยชน์ต่อลูกค้าองค์กร  อาทิ พลังแห่งนวัตกรรมเพื่อสร้างระบบนิเวศทางธุรกิจ ซึ่ง ระบบนิเวศทางธุรกิจ Business Ecosystems หรือที่เรียกว่า Business Ecosystems ซึ่งบริษัทยักษ์ใหญ่ ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น Apple, Google, Facebook หรือ Amazon ต่างก็พัฒนาและสร้าง ระบบนิเวศทางธุรกิจ (Business Ecosystems) ของตนเองโดยเชื่อมโยงอุตสาหกรรมและธุรกิจต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องไว้ด้วยกัน

นายมีธรรม ณ ระนอง ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) หนึ่งในวิทยากรบนเวที ทรูบิสิเนส ฟอรั่ม 2018 โลกดิจิทัลแห่งอนาคตสู่ธุรกิจที่ยั่งยืน (TrueBusiness Forum 2018:The Digital Future to Sustainability) ได้บรรยายถึงแนวคิดการสร้างระบบนิเวศทางธุรกิจแก่ผู้ประกอบการว่า

“การเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วของโลกยุคดิจิทัล ทำให้เราหยุดนิ่งไม่ได้ จากเดิมที่แต่ละบริษัทแต่ละผู้ประกอบการ ต่างทำธุรกิจ ทำหน้าที่ของตนเอง ตามความสามารถ ความถนัด ไม่ประสานงานหรือเกื้อหนุนกัน  ระบบนิเวศทางธุรกิจ (Business Ecosystems) จึงเป็นส่วนประกอบสำคัญที่เข้ามาเติมเต็มสิ่งที่ขาดไปตรงนี้   โดยระบบนี้มีการริเริ่มและนำใช้มาในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่ทศวรรษที่ 90 ยกตัวอย่างที่เห็นชัด เช่น Apple และ Google ผู้ประกอบการทั้งสองรายต่างก็มุ่งเป้าพัฒนาและสร้างระบบนิเวศทางธุรกิจ ให้มีความเกี่ยวข้องกับ ซิลิคอน วัลเลย์ (Silicon Valley) ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ ผู้พัฒนาแอพ และบริษัทผลิตโทรศัพท์มือถือ  แล้วเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเหล่านั้น สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และการบริการ ตลอดจน Information Technology หรือเนื้อหาต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกัน ภายใต้โครงสร้างและระบบที่ทั้งสองบริษัทวางไว้ จนเกิดเป็นกลไกการแข่งขันทางธุรกิจ  ไปพร้อมกับผลักดันและเกื้อหนุนกัน ขณะที่ผู้บริโภคก็ได้รับความสะดวกสบาย  ด้วยการบริการที่ครบครัน จนเกิดความประทับใจและประสบการณ์ที่ดีต่อผลิตภัณฑ์ และความภักดีในตราสินค้า (Brand Loyalty)”

“ในประเทศไทยเอง แต่เดิมผู้ประกอบการส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการสร้างธุรกิจใหม่ ๆ หรือไม่ก็อยู่กับการทำธุรกิจแบบเก่า ๆ มากกว่าจะสนใจพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัล จนไม่ทันตั้งตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลกดิจิทัลที่หมุนไปอย่างรวดเร็ว จนทำให้ผู้ประกอบการจำนวนมากประสบความล้มเหลวทางธุรกิจ ด้วยเหตุนี้ ระบบนิเวศทางธุรกิจ (Business Ecosystems) จึงเป็นระบบที่สำคัญ ที่ผู้ประกอบการควรนำมาใช้ เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจของตนเอง เพื่อให้สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ ทันยุคสมัย พร้อมกับเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลในการทำหน้าที่เชื่อมโยง”

นอกจากนี้  ทรูบิสิเนสยังเห็นความสำคัญของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในยุคดิจิทัล ซึ่ง SMEs ขนาดเล็ก จะต้องแข่งขันทั้งกับ SMEs ด้วยกันเองและต้องต่อสู้กับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีเทคโนโลยีล้ำสมัยกว่า  ซึ่งหนึ่งในหัวข้อการบรรยายในวันนั้น คือ  Digital way for Long Term Growth SMEs  โดย

นายธิติรัท บุตรแก้ว ผู้ช่วยผู้อำนวยการลูกค้าธุรกิจองค์กร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้ให้คำแนะนำ  แก่ผู้ประกอบการว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของโลกทุกวันนี้ หากผู้ประกอบการ SMEs ยังคงใช้วิธีการเดิมๆ  ในการทำธุรกิจ โดยขาดความรู้ความเข้าใจและทักษะทางด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ก็เป็นการยากที่จะตอบสนองต่อพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภค รวมถึงการแข่งขันทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

“ต้องไม่ลืมว่า ยังมีผู้ประกอบการ SMEs อีกจำนวนมากที่ทำธุรกิจเหมือนกัน และพร้อมจะเข้าสู่สนามแข่งขันเช่นเดียวกัน โดยที่อีกฝ่ายมีอาวุธสำคัญคือ เทคโนโลยีดิจิทัล ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้ในการทำตลาด เช่น การโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อและสังคมออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, Youtube, Twitter, Line หรือ สร้างบล็อก (Blog) เว็บไซต์ ควบคู่ไปกับการใช้ช่องทางดิจิทัลเพื่อเชื่อมโยงการทำงานต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสาร ประชุม สั่งซื้อ จำหน่ายสินค้า ทำธุรกรรมออนไลน์ เป็นต้น นอกจากจะเป็นการลดต้นทุน ลดการทำงาน ยังช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจแก่ SMEs ขนาดเล็ก ให้สามารถแข่งขันกับธุรกิจใหญ่ ๆ ได้อย่างเท่าเทียม”

ภายในงานยังมีการให้ข้อมูลถึงหัวใจหลักของการทำธุรกิจ ก็คือ ผู้บริโภค ซึ่งปัจจุบันการใช้งานของผู้บริโภคบนโลกออนไลน์เพิ่มมากขึ้นทุกวัน และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ตามปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น เทรนด์หรือเศรษฐกิจ พฤติกรรมของผู้บริโภคจึงเป็น Big Data ขนาดใหญ่ ที่อาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลผ่านระบบดิจิทัล ที่เรียกว่า ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence)  จึงเป็นที่มาของการเสวนาในหัวข้อ สร้างโอกาสใหม่ทางธุรกิจด้วย บิ๊กดาต้าและเอไอ ให้มุมมองการนำข้อมูลมหาศาล มาประยุกต์ใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด การพัฒนาสินค้าและบริการ

จากเวทีเสวนา มร.เบิร์น สเวน วินเด อโวจ์ล  หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านปฏิบัติการ สายงาน Analytics Business บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น อธิบายถึงการนำ Big Data มาใช้งานว่า “การนำข้อมูลต่าง ๆ ของผู้บริโภค มาผ่านกระบวนการวิเคราะห์เพื่อค้นหารูปแบบความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกัน ทำให้สามารถกำหนดแผนทางการตลาดได้ชัดเจน เพื่อนำไปสู่การสร้างโอกาสในการทำธุรกิจ พร้อมทั้งปรับปรุงและพัฒนาการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ ตลอดจนสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งในการแข่งขันทางการตลาด ซึ่งปัจจุบันธุรกิจขนาดใหญ่จำนวนมากได้นำ  Big Data เหล่านี้มาใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น Google, Facebook และ Youtube ต่างก็สำรวจและเก็บข้อมูลพฤติกรรมของผู้บริโภค ผ่านระบบ AI หรือที่เรียกว่า BOT ซึ่งออกแบบมาเพื่อทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะ ก่อนจะนำ Big Data ทั้งหมดในคลังข้อมูล มาวิเคราะห์เพื่อกำหนดทิศทางในการโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการ ให้ตรงกับความสนใจของผู้บริโภคแต่ละราย การรวบรวมและวิเคราะห์ Big Data จึงเป็นเทคโนโลยีสำคัญ ที่สร้างและผลักดันให้ธุรกิจเหล่านั้นเติบใหญ่อย่างเข้มแข็ง”

อีกหนึ่งมุมมองจากสถาบันการเงินที่เป็นผู้นำในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อบริการลูกค้า ดร.ธีรวัฒน์ อัศวโภคี ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด Business Intelligence and Data Science ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ให้ข้อมูลเสริมว่า “ปัจจุบันหลายหน่วยงานและหลายบริษัทในประเทศไทย ต่างก็ให้ความสำคัญกับการรวบรวมข้อมูลของผู้บริโภค ยกตัวอย่างเช่น SCB ก็มีการพัฒนาเทคโนโลยี AI ของธนาคารโดยเฉพาะ เพื่อทำหน้าที่วิเคราะห์และเก็บข้อมูลจากไลฟ์สไตล์ของลูกค้า ทั้งนี้ก็เพื่อเรียนรู้พฤติกรรมและเข้าใจลูกค้ามากขึ้น ขณะที่การใช้งานของลูกค้าบนโลกออนไลน์ ทุกวันนี้ก็มีเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นจำนวนคนกดไลค์ กดแชร์ ยอดวิว ยอดฟอลโลว์ ปริมาณคนเข้าชมเว็บไซต์ ยอดการสั่งชื้อ แม้แต่การแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ก็ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลสำคัญ ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบสามารถวิเคราะห์และกำหนดเทรนด์ ที่ตอบสนองต่อพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภค พร้อมทั้งสามารถมองหาแนวทางใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาธุรกิจต่อไปได้ดียิ่งขึ้น”

สำหรับ SMEs ขนาดเล็ก ที่ไม่มีเครื่องมือดิจิทัลเทียบเท่าธุรกิจขนาดใหญ่

นายกวีวุฒิ เต็มภูวภัทร หัวหน้าทีม Innovation Lab / Venture Capital บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) ได้ให้คำแนะนำว่า “ถึงแม้จะเป็น SMEs ขนาดเล็ก ก็สามารถประสบความสำเร็จทางธุรกิจได้ หากมีข้อมูลที่ดีและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งปัจจุบันข้อมูลของผู้บริโภค แม้ไม่มี AI ก็สามารถรวบรวมได้หลายวิธีในระยะเวลาสั้น ๆ เช่น การสร้างแฟนเพจ สร้างยูทูปแชนแนล สร้างอินสตราแกรม หรือไลน์ออฟฟิเชียล ผู้ประกอบการ SMEs จึงควรพัฒนาช่องทางการสื่อสารออนไลน์ของตนเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นช่องทางประชาสัมพันธ์ และรวบรวมข้อมูลจากผู้บริโภคไปในตัว”

ในส่วนของผู้นำในการให้บริการโซลูชั่นด้านการจัดซื้อ มร.ธิง ลาย หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านเทคโนโลยี บริษัท พันธวณิช จำกัด ได้ให้ความเห็นว่า “ปัจจุบันมีบริษัทหลายแห่งที่พยายามพัฒนา AI ให้ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลของผู้บริโภค และจำหน่ายให้กับผู้ประกอบการที่สนใจ  นำไปต่อยอดในการสร้างโอกาสทางธุรกิจ ในอนาคต Big Data จึงเป็นทรัพยากรสำคัญ ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถประเมินการตัดสินใจ เพื่อกำหนดแผนการตลาด  จัดกิจกรรม ตลอดจนการคาดการณ์ผลกำไร-ขาดทุน ในแต่ละไตรมาสได้อย่างมีประสิทธิภาพ แน่นอนว่าหากว่าผู้ประกอบสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านี้ได้อย่างแม่นยำ ก็ย่อมจะมีโอกาสทางธุรกิจที่เหนือกว่า และประสบความสำเร็จในโลกดิจิทัล”

Political News