สำนักข่าวไทยไทม์นิวส์ • ThaitimeNews
loader
Foto

เคทีซีโชว์ท็อปฟอร์มไตรมาส1/2561ดันกำไรสุทธิพุ่ง65%ทะลุ1,209ล้านบาท

เคทีซีประกาศผลงานไตรมาส 1/2561 กำไรสุทธิ 1,209 ล้านบาท เติบโตแข็งแกร่งถึง 65% แม้จะได้รับผลกระทบจากกฎข้อบังคับของหน่วยงานที่กำกับดูแล และการแข่งขันในอุตสาหกรรมที่รุนแรง เร่งปรับกลยุทธ์เดินหน้าแผนการตลาดที่แตกต่าง สร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้า และพัฒนาคุณสมบัติผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ตั้งเป้าพอร์ตลูกหนี้ขยายตัวประมาณ 10% และรักษา NPL ให้อยู่ในระดับเดียวกับปีที่ผ่านมา 

นายระเฑียร  ศรีมงคล  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยับตัวดีขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป จากปัจจัยสนับสนุนของเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัว ประกอบกับในประเทศยังมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานจากภาครัฐที่เริ่มทยอยออกมา รวมถึงการผลักดันมาตรการขับเคลื่อนประเทศเพื่อสร้างงานและรายได้ในระดับท้องถิ่น และการเร่งรัดโครงสร้างระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่ชัดเจนมากขึ้น ตลอดจนภาวะการเงินที่ผ่อนคลาย จะเป็นผลให้การใช้จ่ายภาคเอกชนทั้งการบริโภคและการลงทุนมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น”

 “สำหรับภาพรวมอุตสาหกรรมสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคในช่วง 3 เดือนแรก ยังคงเติบโตต่อเนื่องในลักษณะที่ชะลอตัวลงจากปีก่อน ในส่วนของเคทีซีถือว่ามีผลการดำเนินงานที่ดีเกินคาด โดยสามารถทำกำไรสุทธิในไตรมาสแรกของปีนี้ได้ 1,209 ล้านบาท หรือมีอัตราส่วนการเติบโตจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 65% แม้ว่าบริษัทฯ จะต้องเผชิญกับความท้าทายสำคัญจากมาตรการและกฎเกณฑ์การควบคุมวงเงินบัตรเครดิตและการเข้าถึงสินเชื่อส่วนบุคคล ตลอดจนผลกระทบจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อบัตรเครดิตจาก 20% เป็น 18% ซึ่งทำให้พอร์ตลูกหนี้บัตรเครดิตเติบโตช้าลง ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรชะลอตัว แต่ด้วยประสิทธิภาพในการติดตามหนี้และการบริหารลูกหนี้ให้มีคุณภาพตั้งแต่กระบวนการคัดกรองต้นทาง จึงทำให้ NPL รวมของบริษัทฯ ยังลดต่ำลงอย่างต่อเนื่องอยู่ที่ 1.3% จาก 1.7% ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งต่ำกว่าอุตสาหกรรม และส่งผลให้รายได้หนี้สูญได้รับคืนเพิ่มขึ้นในขณะที่ค่าใช้จ่ายรวมลดลง”

 “ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2561 เคทีซีมีสินทรัพย์รวมเท่ากับ 69,965 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยสินทรัพย์ที่สร้างรายได้หลักให้กับบริษัทฯ อยู่ในรูปของลูกหนี้การค้าสุทธิ คิดเป็น 92% ของสินทรัพย์รวม โดยพอร์ตลูกหนี้การค้ารวมสุทธิเมื่อหักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญแล้วเท่ากับ 64,592 ล้านบาท ฐานสมาชิกรวม 3.0 ล้านบัญชี เติบโต 3.3% แบ่งเป็นบัตรเครดิต 2,207,773 บัตร ขยายตัว 3.5% พอร์ตลูกหนี้บัตรเครดิตสุทธิมีสัดส่วน 65% ของพอร์ตลูกหนี้สุทธิรวม ยอดลูกหนี้บัตรเครดิตสุทธิ 42,137 ล้านบาท สัดส่วนของลูกหนี้บัตรเครดิตเทียบกับอุตสาหกรรมปัจจุบันอยู่ที่ 12.6% อัตราเติบโตการใช้จ่ายผ่านบัตรเคทีซีรวมเท่ากับ 8.4% (อุตสาหกรรมเติบโต 10.1%) ส่วนแบ่งตลาดของการใช้จ่ายผ่านบัตรเท่ากับ 11.0% NPL บัตรเครดิตอยู่ที่ 1.14% ลดลงจาก 1.26% (อุตสาหกรรม 2.26%) สินเชื่อบุคคล 857,613 บัญชี ขยายตัว 2.8% ยอดลูกหนี้สินเชื่อบุคคลสุทธิ 22,315 ล้านบาท สัดส่วนลูกหนี้สินเชื่อบุคคลเทียบกับอุตสาหกรรมเท่ากับ 6.9% และ NPL ของสินเชื่อบุคคลอยู่ที่ 0.82% ลดลงจาก 0.89% (อุตสาหกรรม 2.67%) โดยสัดส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อ NPL ยังคงมูลค่าสูงที่ 591% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 500%”

“ไตรมาสแรกของปี 2561 เคทีซีมีอัตราเติบโตของรายได้รวมสูงกว่าค่าใช้จ่าย โดยสามารถทำรายได้เพิ่มขึ้น 10% เท่ากับ 5,108 ล้านบาท จากรายได้ดอกเบี้ยซึ่งส่วนใหญ่เพิ่มจากลูกหนี้สินเชื่อบุคคลที่ยังเติบโตได้ดี (รวมรายได้ค่าธรรมเนียมในการใช้วงเงิน) รายได้ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่นๆ ซึ่งมีสัดส่วน 86% มาจากหนี้สูญได้รับคืน และมีการควบคุมค่าใช้จ่ายรวมอยู่ที่ 3,603 ล้านบาท ลดลง 3% จากค่าใช้จ่ายการตลาดที่ลดลง เพราะอนุมัติสมาชิกใหม่ในจำนวนน้อยลงกว่าประมาณการที่ตั้งไว้ และมีการใช้งบประมาณด้านการตลาดที่มีประสิทธิภาพผ่านเทคโนโลยีมากขึ้น ทำให้ใช้จ่ายเม็ดเงินน้อยลง ในขณะที่มูลค่าหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญลดลงเช่นกันเนื่องจากพอร์ตลูกหนี้ที่ขยายตัวได้ช้า ทำให้การตั้งสำรองและค่าใช้จ่ายการเงินที่เป็นต้นทุนเงินก็ลดลง เนื่องจากบริษัทฯ ออกหุ้นกู้ใหม่ในระยะเวลาที่ยาวขึ้นด้วยต้นทุนเงินที่ต่ำลงกว่าหุ้นกู้เดิม โดยรักษาสัดส่วนค่าใช้จ่ายดำเนินงานต่อรายได้สุทธิ (Operating Cost to Income Ratio) ที่ต่ำอยู่แล้วให้คงเดิมที่ 27.2% เท่ากับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งแสดงว่าบริษัทยังคงรักษาประสิทธิภาพในกระบวนการทำงานได้ดี”

 “บริษัทฯ มีวงเงินสินเชื่อคงเหลือ (Available Credit Line) ทั้งสิ้น 24,670 ล้านบาท เป็นวงเงินของธนาคารกรุงไทย 18,030 ล้านบาท และธนาคารพาณิชย์อื่นๆ 6,640 ล้านบาท โดยมีต้นทุนการเงินไตรมาส 1/2561 เท่ากับ 3.02% (สิ้นปี 2560 เท่ากับ 3.12%) ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2560 ที่มีอัตรา 3.21% เพราะบริษัทฯ จัดหาเงินจากการออกหุ้นกู้ใหม่ด้วยระยะเวลาที่ยาวขึ้น แต่มีต้นทุนเงินที่   ต่ำกว่าหุ้นกู้เดิม โดยมีอัตราส่วนของหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ 4.08 เท่า ซึ่งต่ำกว่าภาระผูกพันที่กำหนดไว้ที่ 10 เท่า”

 “ในปี 2561 เคทีซีตั้งเป้าหมายทำกำไรสูงกว่าปี 2560 ซึ่งอยู่ที่ 3,304 ล้านบาท พอร์ตลูกหนี้ธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลรวมขยายตัวประมาณ 10% ในขณะที่ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตรวมไม่ต่ำกว่า 15% และจะควบคุมสัดส่วน NPL ให้อยู่ในระดับเดียวกับปีก่อนที่ 1.3% โดยจะมุ่งเน้นไปที่ความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภคเป็นหลัก (Customer Needs) ควบคู่ไปกับการขยายความร่วมมือไปยังพันธมิตรที่เชี่ยวชาญในธุรกิจนั้นๆ ขยายพันธมิตรร้านค้ารับบัตร พัฒนาเทคโนโลยีและแอปพลิเคชันที่ตอบโจทย์ในยุคดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น เพื่อนำเสนอบริการที่มีคุณค่า และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม”

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

KTC on top form in Q1 2018, having boosted net profit by 65 percent to Bt. 1.209 billion.

KTC announces Q1 2018 achievements, grew strongly by 65 percent with a net profit of 1.209 billion despite influences of regulations and administrative measures and intense competition in the industry. KTC is in full force to execute a unique marketing plan to create good customer experiences and to develop its product qualifications to cater to customers’ needs. Sets expansion rate of approximately 10% for port of receivables, and aims to maintain NPL in the same level compared to the previous year.

Mr. Rathian Srimongkol, President and Chief Executive Officer of “KTC” or Krungthai Card Public Company Limited, states, “The Thai economy has a tendency to gradually fluctuate due to world economy support factors that are starting to recover, domestic regulations set out to stimulate the economy, investments in infrastructure from the governmental sector that are established in succession, as well as advances on reform measures to create domestic employment and income, including the Eastern Economic Corridor (EEC) economic integration that is much more defined, that will all contribute to the restoration of private expenses of both consumption and investments.”

 “The overall picture of the consumer private loans industry for the first 3 months continues to be constant growth, in spite of the slowing down progress in the previous year. On KTC’s part, its work progress is beyond expectations. KTC achieves Bt. 1.209 billion net profit, or a 65 percent boost compared to the previous year despite significant challenges of rules and regulations set to control credit card limits and accessibility of personal loans, and effects of a drop in personal loans credit card interest from 20 percent to 18 percent, which caused the port of receivables and amount of credit card spendings to grow slower. Regardless, due to KTC’s prowess in collecting debt and managing quality debtors from the screening process, NPL remains consistently low at 1.3 percent from 1.7 percent compared to the same period last year, lower than the industry level, and of which causes bad debt recovery to be increasingly returned while overall expenses decreased.”

 “As KTC of 31 March 2018, the firm has a total asset value of Bt. 69.965 billion, a 7 percent increase compared to the same period in the previous year. The asset that generates the most income for the firm is in the form of net trade receivables which comprise 92 percent of total assets. Port of ending net account receivables with allowance for doubtful accounts totaled at Bt. 64.592 billion, member base numbered 3.0 million or a 3.3 percent increase, comprising of 2,207,773 credit cards, a 3.5 percent surge. Net credit card account receivable ports have a ratio of 65 percent of total account receivables, with net credit card receivables of Bt. 42.137 billion. Ratio of credit card receivables compared to the industry value was at 12.6 percent at present. KTC credit card spending growth totaled 8.4 percent (10.1 percent in the industry) and market share in credit card spendings totaled 11.0 percent. NPL for credit cards valued 1.14 percent, a drop from 1.26 percent (2.26 percent in the industry), personal loans numbered 857,613 accounts, a 2.8 percent surge, while net receivable for personal loans business is set at Bt. 22.315 billion. Personal loans receivables compared to the industry totaled 6.9 percent and NPL for the personal loans business totaled 0.82 percent, dropped from 0.89 percent (2.67 percent in the industry) while coverage ratios remained at a high value of 591 percent compared to the same period last year which was at 500 percent.”

 “In Q1 2018, KTC has a net revenue growth rate that exceeds expenses. KTC generated an increase in income of 10 percent totaling Bt. 5.108 billion from interest, mainly from personal loans account receivables, which has a positive growth momentum (including credit limit usage fees) and other income and fees that are comprised 86 percent by bad recovered debt, and net expenses control of Bt. 3.603 billion, a 3 percent decrease from marketing expenses which dropped due to decreased new member approvals than estimated, and the establishment of a marketing budget that is executed more efficiently through technology, causing expenses to be lowered. Simultaneously, bad debt and doubtful account have also decreased due to slower growth of port of receivables, which in effect causes loan loss reserves and capital financial expenses to decrease, as the firm launched new debentures with an extended time frame and costs that are lower than that of the original. KTC also maintained operating cost to income ratio at a previously low rate and maintained it at 27.2 percent, equivalent to the same period in the last year, an indication of the firm’s ability to uphold competent operational approaches.”

 “The firm has available credit line of Bt. 24.670 billion, comprising of financial amounts of Bt. 18.030 billion from Krungthai Bank and Bt. 6.640 billion from other commercial banks. Cost of fund of Q1 2018 totaled 3.02 percent (3.12 percent at the end of 2017), having decreased from the same period in 2017 of 3.21 percent, due to the firm’s procurement through the launch of new debentures with extended periods with costs that are lower than original. At the same time, the firm’s debt to equity is 4.08, the ratio 10 times lower than the debt covenant.”

 “For 2018, KTC sets a higher revenue goal than 2017 at Bt. 3.304 billion, alongside an approximate 10 percent increase in port of receivables in credit card and personal businesses, overall credit card spendings higher than 15 percent, and will control the NPL ratio to remain the same value as last year which is 1.3 percent. KTC strives to pinpoint true customer needs, coupled with expanding collaboration with alliances that are specialized in their own business fields, expanding merchant credit card alliances, developing technologies and applications that cater to the needs in the digital age, including transformation to present valuable services and creating good customer experiences to all relevant stakeholders.”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เคทีซี เผยงบรวมไตรมาส 1/2567 กำไร 1,803 ล้านบาท เดินหน้าโฟกัสคุณภาพสินทรัพย์ในระดับความเสี่ยงที่เหมาะสม

เคทีซีชี้มูลค่าพอร์ตสินเชื่อรวมขยายตัว 112,346 ล้านบาท

เคทีซี ฝ่าด่านเศรษฐกิจ ชงกำไร 9 เดือน 5,534 ล้านบาทพอใจพอร์ตสินเชื่อรวมโตต่อเนื่อง

เคทีซี ส่งไม้ต่อทีมบริหารรุ่นใหม่ เดินหน้าธุรกิจเต็มสตีมควบคู่ดูแลสังคมยกระดับไอทีเสริมองค์กรแกร่ง

เคทีซีเผยยอดใช้จ่ายผ่านบัตรช่วงวันแม่คึกคัก จัดแคมเปญ “สิงหาพาแม่อร่อย ต้อนรับเดือนแห่งวันแม่”

เคทีซีเปิดเวทีเสวนา “ทิศทางอุตสาหกรรมท่องเที่ยว พร้อมทะยานเวทีโลก” ระดมความเห็นผู้นำวงการ กำหนดอนาคตทิศทางท่องเที่ยว

Political News