สำนักข่าวไทยไทม์นิวส์ • ThaitimeNews
loader
Foto

ปฏิวัติธุรกิจ ปฏิรูปการศึกษา ชี้ทิศทาง นำเศรษฐกิจไทยสู่การเติบโตอย่าง ยั่งยืน

ในโอกาสครบรอบ 80 ปีของการสถาปนาคณะพาณิชยศาสตร์ และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ปฏิวัติธุรกิจ ปฏิรูปการศึกษา Business Transformation through Flagship Education”  โดย ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ศาสตราภิชานกองทุนเพื่อการบริหา รวิชาการและการศึกษาของคณะฯ และดำรงตำแหน่ง ประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้ านเศรษฐกิจ และอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเ ทศไทย โดยกล่าวถึงเศรษฐกิจโลกที่มีการ ขยายตัวต่อเนื่อง โดยคาดว่าในปี 2562 จะมีการขยายตัวถึงร้อยละ 3.9  ซึ่งแน่นอนว่าย่อมส่งผลให้เศรษฐ กิจไทยมีขยายตัวตามแต่อย่างไรก็ ตามในการส่งเสริมให้เศรษฐกิ จไทยมีการเติบโตที่ยั่งยืนภาครั ฐยังต้องให้ความสำคัญกับการปรั บโครงสร้างพื้นฐานใน 3 เรื่อง คือ การพัฒนาคน การลดปัญหาความเลื่อมล้ำ และความล้าสมัยของโครงสร้างสถาบั นทางเศรษฐกิจ

ดร.ประสารกล่าวว่าที่ผ่านมาแผนเ ศรษฐกิจของไทยเราให้ความสำคัญกั บเรื่องของปริมาณมากกว่าการพั ฒนาในเชิงคุณภาพ ทำให้เศรษฐกิจไทยโดยรวมมีปัญหาใ นเชิงโครงสร้างซึ่งเป็นปัจจัยฉุ ดรั้งการพัฒนาประเทศโดยเฉพาะภาย ใต้ความพยามขับเคลื่อนประเทศของ ภาครัฐ และเอกชน กลับเดินหน้าได้ช้ากว่าที่คาด และมีอาการไม่ต่างอะไรกับการเป็นอัมพาตทางเศรษฐกิจ ซึ่งต้องรีบเร่งรักษาเสียแต่เนิ่นๆ

 “ทศวรรษก่อนวิกฤติต้มยำกุ้ง เราเคยเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 9 ต่อปี แต่ระยะหลังเราโตเฉลี่ยแค่ร้อยล ะ 4 นั่นเพราะผลประโยชน์จากการพัฒนา ยังไม่กระจายไปสู่ประชาชนกลุ่มต่ างๆ อย่างทั่วถึง ประเทศไทยติดอยู่ในกลุ่มที่มีปั ญหาความเลื่อมล้ำระดับต้น ๆ ของโลก เป็นความเลื่อมล้ำทั้งในด้านเศร ษฐกิจ และการศึกษา ทำให้คุณภาพการศึกษาต่ำลง ซึ่งส่งผลเป็นลูกโซ่ต่อผลิตภาพค นไทย และศักยภาพทางเศรษฐกิจให้ต่ำลงต าม

โดยการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในช่ วงนี้ แม้จะเป็นสัญญาณที่ดี แต่ในความเป็นจริงแล้วถือเป็นกา ร”ขยายตัวตามวัฎจักรเศรษฐกิจ  แต่ไม่ได้มาจากศักยภาพทางการแข่ งขันที่แท้จริงของไทย ดังนั้นภาครัฐ และเอกชนควรมองไปข้างหน้าอย่างร ะมัดระวัง เพื่อพยายามแก้ปัญหาโครงสร้างดั งกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาถึ งการเปลี่ยนแปลงของโลกอันเกิ ดจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ที่ทำให้โครงสร้างสถาบันทางเศรษ ฐกิจที่เคยออกแบบไว้อย่างมี ประสิทธิภาพเมื่อหลายสิบปีก่อน กลายเป็นความล้าสมัยที่

ไม่สามารถตอบโจทย์ประเทศ และปรับตัวให้เท่าทันการเปลี่ยน แปลงของโลกได้ ซึ่งถือเป็นมิติที่มีความสำคัญ เพราะภาครัฐเป็นผู้กำหนดนโยบาย กฎหมาย กฎเกณฑ์ และกติกา ซึ่งจะมีผลต่อการสร้างแรงจูงใจ และระบบนิเวศ ที่เอื้อให้เศรษฐกิจสามารถพัฒนา ได้เต็มศักยภาพ

 “3 เรื่องหลักที่เราควรทำพร้อมกันนั บจากนี้ คือ เรื่องของคุณภาพคน  ต้องเน้นการเพิ่มทักษะความสามาร ถของคนทำงานทุกภาคส่วนไม่ว่ าจะเป็นเกษตรกร หรือแรงงาน และคนทำงานในด้านอื่นๆ  ทำให้คนของเรามีความรู้ ในเชิงของความสามารถในการใช้เทค โนโลยีซึ่งจะยกระดับความสามารถข องภาคธุรกิจไทย เราต้องปรับโครงสร้างพื้นฐานการ ศึกษา เพื่อให้เด็กไททุกคนไม่พลาดโอกา สในการเติบโตขึ้นมาเป็นคนระดั บคุณภาพของประเทศ ขณะเดียวกันโครงสร้างพื้นฐานด้า นสถาบันต่างๆ ซึ่งอดีตได้ออกแบบไว้ดีแต่ใช้ได้ ดีในอดีตต้องปรับปรุงให้เข้ากั บบริบทในยุคที่โลกมีการเปลี่ยนแ ปลงอยู่ตลอดเวลาเช่น การวางทิศทางนโยบายประเทศ หรือการบริหารจัดการรัฐวิสาหกิจ หากทำทั้งสามอย่างนี้ได้ดี ก็จะทำให้การเติบโตของไทยเป็นไป อย่างมีศักยภาพ”

ทั้งนี้ ดร.ประสารกล่าวว่าการปฏิรูปการศึ กษาไม่เพียงเป็นช่องทางยกระดั บศักยภาพในการแข่งขันของประเทศเ ท่านั้น แต่ยังมีนัยถึงการปลดล๊อคศักยภา พลูกหลานไทยให้สามารถเดินหน้ าได้เต็มศักยภาพ และเป็นความหวังของประเทศได้อย่ างเต็มภาคภูมิ และช่วยลดช่องว่างความเลื่อมล้ำ ด้านรายได้ โดยในการปฏิรูปการศึกษาจะต้องดำ เนินการใน 4 มิติพร้อมกันคือ การสร้างความเท่าเทียมด้านการศึ กษา การสร้างคุณภาพไม่ใช่เน้นแค่ปริ มาณ การปฏิรูปการศึกษาให้เท่าทันการ เปลี่ยนแปลงของโลก และบทบาทของมหาวิทยาลัยในการสร้ างองค์ความรู้ นวัตกรรม การนำความรู้พัฒนาสังคม

Political News