สำนักข่าวไทยไทม์นิวส์ • ThaitimeNews
loader
Foto

ไทย-เทศ แห่โชว์ผลงานเทคโนโลยีระบบรางรถไฟฟ้าเล็งชิงเค้กอุตสาหกรรมระบบรางไทย

                 งานแสดงสินค้าและเทคโนโลยีระบบรางรถไฟฟ้า The 4thRISE & RAIL Asia Expo 2018ที่มีขึ้นวันที่  28-29 มีนาคม 2561 ณ. ฮอลล์แสดงสินค้า  สถานีรถไฟฟ้า แอร์พอร์ต  เรล ลิงก์  มักกะสัน กรุงเทพฯ คึกคัก ศูนย์รวมนักลงทุนระบบรางทั่วโลกรับกระแสเมกะโปรเจกต์ระบบรางปี61 ที่รัฐบาลอนุมัติงบล่าสุดกว่า 500,000 ล้านบาท  จุดเด่นงานปีนี้ บ.เอเชีย เอ็กซิบิทชั่น เซอร์วิสเซส จำกัด  ผนึกกำลังร่วมกับ RISE  จัดประชุมวิชาการและแสดงนิทรรศการ อุตสาหกรรมระบบขนส่งทางรางไทย ครั้งที่ 4ภายใต้แนวคิด”นวัตกรรมโลก นโยบายชดเชยการจัดซื้อจัดจ้าง และความเชี่ยวชาญไทย มุ่งสู่การพัฒนาระบบราง ในภูมิภาคอาเซียนแบบบูรณาการ” และมีหัวข้อเด่น ตีแผ่รถไฟความเร็วสูงกับการขนส่งในเขตเมือง และแผนการทุ่มทุน22,500ล้านเหรียญสหรัฐสู่ EEC  มั่นใจงานปีนี้ดึงคนเข้างาน 3,000 ราย

                 นายเดวิด เอ็ทคิ่น กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเชีย เอ็กซิบิทชั่น  เซอร์วิสเซส จำกัด  บริษัทผู้จัดงาน     The 4th Thai Rail Industry Symposium and Exhibition (RISE) and RAIL Asia Expo 2018  ที่จัดขึ้นในวันที่  28-29 มีนาคม 2561 ณ. ฮอลล์แสดงสินค้า  สถานีรถไฟฟ้า แอร์พอร์ต  เรล ลิงก์  มักกะสัน  กรุงเทพฯ กล่าวว่า  ในปีนี้เป็นการผนึกงาน RAIL Asia Expo ครั้งที่ 6 และงาน RISE การประชุมวิชาการและแสดงนิทรรศการ อุตสาหกรรมระบบขนส่งทางรางไทย ครั้งที่ 4   ทั้ง 2 งานใหญ่นี้ เข้าไว้ด้วยกัน   กล่าวคือจะเป็นงานแสดงนิทรรศการเทคโนโลยีรถไฟ และรถไฟใต้ดิน  ใหญ่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจะรวบรวมผู้ผลิตเทคโนโลยีด้านรถไฟ  รถไฟใต้ดิน  ผู้รับเหมา ระบบราง  ผู้ให้บริการระบบรถไฟ  ระบบไอที  การสื่อสาร   อาณัติสัญญาณ  อุปกรณ์ในสถานี ระบบความปลอดภัย ฯลฯ ผู้ผลิตต่างประเทศ  ชั้นนำทั้งจากยุโรป อเมริกา,เอเชีย มาจัดแสดงในงาน  โดยมีบริษัทที่เข้าร่วมงานและตัวแทนจำหน่ายถึง 120 บริษัท จากทั่วโลก  มีผู้เกี่ยวข้องผู้ผลิต ผู้ให้บริการเดินรถ ที่ปรึกษา  ผู้รับเหมา นักลงทุน วิศวกร กว่า 1,000ราย  โดยคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานถึง 3,000 คน

              นายเดวิด เอ็ทคิ่น กล่าวว่า  ในปีนี้ได้รับความสนใจจากบริษัทยักษ์ใหญ่ วงการขนส่งระบบรางจากทั่วโลก อาทิ บอมบาร์เดีย, ชไนเดอร์,ซีเมนส์,ซีอาร์เอสซี,และวอร์สทอนไพน์   มีพาวิเลียนจาก สหราชอาณาจักร  จีน  และเกาหลี จะนำเทคโนโลยีล่าสุด นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆในอุตสาหกรรมนี้มานำแสดงรองรับเมกะโปรเจกต์ระบบรางของไทย พบกับงานการประชุมวิชาการและแสดงนิทรรศการ อุตสาหกรรมระบบขนส่งทางรางไทย ครั้งที่ 4 และ RAIL Asia Expo 2018  (The 4th Thai Rail Industry Symposium and Exhibition (RISE) and RAIL Asia Expo 2018) ในวันที่  28-29 มีนาคม 2561 ณ. ฮอลล์แสดงสินค้า  สถานีรถไฟฟ้า แอร์พอร์ต  เรล ลิงก์  มักกะสัน"    

          "ผู้สนใจรายละเอียด สามารถติดต่อผู้จัดงานได้ที่ [email protected]  หรือสอบถามงานแสดงสินค้า     RAIL Asia Expo บริษัท เอเชีย เอ็กซิบิทชั่น เซอร์วิสเซส จำกัด   ได้ที่เบอร์โทร.+66 (0) 2207 2412  หรือFacebook : RAIL.Asia on facebook หรือจะสอบถามงานประชุม ได้ที่คุณเชาวรัตน์ ศิรินนท์ธนเวช  ที่อีเมล์  [email protected] ก็ได้ครับ"  นายเดวิด เอ็ทคิ่น กล่าว     

ผนึก2งานใหญ่- ชูผลงานวิจัยรถยนต์รางเบาวิ่งบนรางรถไฟ

            นายดิสพล   ผดุงกุล  นายกสมาคมวิศวกรรมระบบขนส่งทางรางไทย เปิดเผยว่า ปีนี้นับเป็นการเติบโตของงานแสดงสินค้าด้านระบบราง ซึ่งงาน RAIL Asia Expo 2018 จัดโดยบริษัท เอเชีย เอ็กซิบิทชั่น เซอร์วิสเซส จำกัด ที่มีการจัดมาอย่างต่อเนื่องเป็นครั้งที่หกแล้ว โดย ในปีนี้ งาน RAIL Asia Expo 2018 มีการผนึกกำลังกับ RISE การประชุมสัมมนาระบบรางภายใต้ การสนับสนุนจากภาครัฐ ร่วมกันจัดงานสินค้าระบบรางระดับชั้นนำของภูมิภาคเอเชีย และการประชุมสัมมนาด้านอุตสาหกรรมระบบรางขั้นสูง  “ งานนี้ถือเป็นการพัฒนาระบบรางครั้งสำคัญยิ่ง เนื่องด้วยจะมีหน่วยงานภาครัฐ ผู้ให้บริการเดินรถ ผู้ผลิตเทคโนโลยีระบบ อุปกรณ์ มาร่วมแสดงผลงานอย่างเต็มรูปแบบไปพร้อมๆกัน

            ทั้งนี้  ในส่วนการพัฒนางานวิจัยระบบรางของไทยนั้น ได้มีการสนับสนุนงบประมาณจากเครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (คอบช.) โดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งได้กำหนดให้งานวิจัยระบบรางเป็นหนึ่งในแผนงานวิจัยมุ่งเป้าของประเทศ โดยมอบหมายให้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ดำเนินการบริหารแผนงานวิจัย เพื่อให้มีผลงานวิจัยที่ใช้ประโยชน์ได้จริงในด้านการคมนาคมระบบรางและตรงตามความต้องการของประเทศ พร้อมทั้งส่งมอบผลงานวิจัยสู่หน่วยงานผู้รับประโยชน์ โดยในปีนี้ เป็นการส่งมอบผลงานวิจัย เรื่อง “การพัฒนารถยนต์รางขนาดเบาวิ่งบนรางรถไฟมิเตอร์เกจหรือถนน” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิโรฏฐ์ สุคนธนกานต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น โดยส่งมอบผลงานให้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)

            นายดิสพล   กล่าววว่า  จากที่รัฐบาลมีแผนลงทุนพัฒนาระบบรางจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อให้อุตสาหกรรมของไทยที่เป็นงานต่อเนื่องกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวได้มีการพัฒนาและพึ่งพาตัวเองได้ รวมถึงลดการนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งระบบรถไฟฟ้าทั้งตัวรถ และการซ่อมบำรุงที่ผ่านมายังต้องพึ่งพาเทคโนโลยีต่างประเทศ แต่โครงการใหม่ที่จะเกิดขึ้นคาดว่าจะมีการสนับสนุนวิศวกรไทย รวมถึงอุตสาหกรรมไทยในการผลิตชิ้นส่วนต่างๆ ได้มีส่วนร่วมมากขึ้น และจะเป็นการช่วยลดต้นทุนโครงการเพื่อจะสะท้อนไปที่อัตราค่าโดยสารของระบบรางที่ต่ำลง

        สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) บริหารแผนงานวิจัยที่ใช้ประโยชน์ได้จริงในด้านการคมนาคมระบบรางและตรงตามความต้องการของประเทศ ซึ่งในปีนี้ได้มีการนำเสนองานวิจัยเรื่อง “การพัฒนารถยนต์รางขนาดเบาวิ่งบนรางรถไฟมิเตอร์เกจหรือถนน” ซึ่งเป็นรถตรวจสภาพทางที่สามารถวิ่งได้ทั้งถนนและรางรถไฟขนาด 1 เมตร ซึ่งปัจจุบันต้องซื้อจากต่างประเทศ เช่น ฝรั่งเศส เยอรมนี ราคา 30-50 ล้านบาท ตามแต่อุปกรณ์และขอบเขตของการใช้งาน ซึ่งรถตัวอย่างนี้หากมีการพัฒนาเชิงอุตสาหกรรมราคาจะอยู่ที่ประมาณ 3-5 ล้านบาท

                สำหรับรถตรวจสภาพทางตัวอย่างพัฒนาโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิโรฏฐ์ สุคนธนกานต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น โดยนำรถปิกอัพมาติดระบบล้อขับเคลื่อนบนราง เบื้องต้นจะใช้เป็นรถขนอุปกรณ์ซ่อมทางรถไฟ สามารถวิ่งได้บนถนนและรางรถไฟ ต้นทุนเริ่มต้น 1.6 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าตัวรถ 1 ล้านบาท ค่าอุปกรณ์ 6 แสนบาท วิ่งบนรางที่ความเร็ว 60 กม./ชม. ในอนาคตสามารถต่อยอดอุปกรณ์ที่จะใช้งานเพิ่มเติมเพื่อเป็นรถอเนกประสงค์ได้

จับตาโครงการเด่นเตรียมพัฒนาซอฟแวร์คัลเลอร์เพตริเนต

                ในงาน The 4th Thai Rail Industry Symposium and Exhibition (RISE) and RAIL Asia Expo 2018 ปีนี้ จะมีการโชว์ผลงานวิจัยและพัฒนาด้านระบบขนส่งทางรางมากกว่า 6 โครงการ  และที่น่าสนใจสุดจะเป็นเรื่องของการพัฒนาซอฟแวร์ นำมาใช้ในการตรวตความถูกต้องของตารางบังคับสัมพันธ์ร่วมโดยใช้คัลเลอร์เพตริเนต  โดย ดร. สมศักดิ์  วาณิชย์อนันต์ชัย  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี สุรนารี

            การศึกษาเรื่องความตรวจสอบถามถูกต้อง ของตารางบังคับสัมพันธ์ร่วมโดยใช้คัลเลอร์เพตริเนต ( Colored Petri Nets) นั้น มีความเชื่อมโยงโดยตรงกับระบบอาณัติสัญญาณ ซึ่งเดี่ยวข้องกับความปลอดภัยของอุปกรณ์ต่างๆในการควบคุมสัญญาณไฟจราจร  ในการพัฒนารูปแบบการตรวจสอบความถูกต้องของตารางบังคับสัมพันธ์ร่วมโดยใช้เทคโนโลยี  คมพิวเตอร์ผ่านซอฟท์แวร์  Colored Petri Nets  เพื่อลดข้อผิดพลาดดังกล่าว  ประโยชน์ของการวิจัยนี้คือ ระบบอาณัติสัญญาณ   จะมีความปลอดภัยสูงขึ้น  ประหยัดเวลาการตรวจสอบ  เพิ่มประสิทธิภาพการเดินรถที่รวดเร็วมากขึ้น

                   นอกจากนี้ ในงานนี้ ยัง ได้นำ เทคโนโลยี Contactless Payment    หรือ เทคโนโลยีการจ่ายเงิน ด้วยการแตะเครื่องโทรศัพท์  ที่ใช้กันแพร่หลายในต่างประเทศ และจะนำมาใช้กับรถไฟฟ้าดังกล่าว  นำมาโชว์ภายในงานด้วย   ซึ่งต้องบอกว่า เป็นเทคโนโลยีนี้  เป็นลักษณะเดียวกับบัตรเครดิต หรือบัตสมาชิกที่ฝังชิปตระกูล RFID ไว้ภายใน  และใช้การแตะสัมผัสกับเครื่องจ่ายเงิน    ซึ่งการจ่ายเงินผ่านโทรศัพท์มือถือด้วยการแตะสัมผัส ก็มีฐานคิดเดียวกัน นั่นคือแปะไมโครชิปที่สามารถส่งสัญญาณวิทยุไว้กับตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือ (หรือบางกรณีอาจแปะไว้ข้างมือถืออย่างซิมการ์ด เ ช่นกรณีของ บัตรเติมเงิน Rabbit ที่ใช้โดยสารรถไฟฟ้า BTS  และ รถโดยสาร BRT ในประเทศไทย) และใช้ซอฟต์แวร์ช่วยประมวลผลการจ่ายเงินผ่าน NFC  ซึ่งก็คือ เทคโนโลยีการสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุแบบหนึ่ง

                หรือสามารถพูดได้ว่า NFC  ก็คือซับเซ็ตของเทคโนโลยี RFID ที่ใช้กันแพร่หลายในการค้าปลีกและลอจิสติกส์ (บัตรทางด่วน EasyPass ก็ใช้เทคโนโลยี RFID) ความต่างของ NFC กับ RFID อยู่ที่ระยะทำการ กรณีของ RFID ทั่วไปมีรัศมีทำการประมาณ 2 เมตร ส่วน NFC ถูกดัดแปลงให้เหมาะกับการจ่ายเงินที่ใช้การสัมผัสในระยะใกล้ ต้องการความปลอดภัยที่สูงกว่า จึงทำงานที่ระยะไม่เกิน 10 เซนติเมตร การใช้งาน RFID/NFC สามารถนำไปใช้กับงานได้หลากหลายรูปแบบ   แต่ในกรณีนี้จะสนใจเฉพาะการนำ NFC ไปใช้กับระบบจ่ายเงินผ่านโทรศัพท์มือถือเท่านั้น

               ทั้งนี้มาตรฐานการสื่อสารด้วย NFC ถูกดูแลโดยองค์กรกลางที่ชื่อว่า NFC Forum ซึ่งทำหน้าที่ออกมาตรฐาน NFC และทดสอบความเข้ากันได้ของอุปกรณ์แต่ละชนิด  โดยสมาชิกของ NFC Forum ประกอบด้วยบริษัทอิเล็กทรอนิกส์และบริษัทไอทีชั้นนำทั่วโลก เช่น  ไมโครซอฟท์ โซนี่ ซัมซุง วีซ่า เป็นต้น   โดย  NFC ในโทรศัพท์มือถือ ตอนนี้ผู้นำในตลาดมือถือ NFC คือ มือถือระบบแอนดรอยด์  2.3 ขึ้นไปที่จะรองรับ NFC มาในฝั่งซอฟต์แวร์    และก็ยังมีมือถืออีกหลายๆแบรนด์ ที่เตรียมที่จะรองรับการสื่อสารด้วย NFC ดังกล่าวอีกด้วย

สนข.วิเคราะห์อนาคตระบบรางของอาเซียน

            นายชัยวัฒน์  ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข.ในฐานะประธานงานประชุมวิชาการและแสดงนิทรรศการอุตสาหกรรมระบบขนส่งทางรางไทย ครั้งที่4 กล่าวว่า ปี 2561 นับเป็นปีสำคัญที่โครงการระบบรางในประเทศไทยด้วยสัญญาการประมูลและจัดซื้อจำนวนมากที่กำลังเกิดขึ้น ดังนั้นในงาน The 4th Thai Rail Industry Symposium and Exhibition (RISE) and RAIL Asia Expo 2018  ที่จัดขึ้นในวันที่  28-29 มีนาคม 2561 ทางกระทรวงคมนาคมจะเป็นแกนนำสำคัญในการจัดประชุมในงานนำเสนอให้เห็นโอกาสใหม่ๆ ร่วมกับผู้ให้บริการเดินรถของภาครัฐและเอกชน และคู่ค้านักลงทุนระดับภูมิภาค  

              การประชุมในครั้งนี้จะอยู่ใต้แนวคิด “อนาคตระบบรางของอาเซียน” มีหัวข้อที่อยู่ในกระแสความสนใจพิเศษอาทิ รถไฟความเร็วสูง การขนส่งในเขตเมือง โครงสร้างพื้นฐานการขนส่งระดับภูมิภาค และนโยบายการวิจัยเกี่ยวกับระบบราง  และจุดเด่นที่หัวข้อในการประชุมครั้งนี้จะมีเรื่อง รายละเอียดโครงการขนส่งรูปแบบใหม่ในเขตเมืองของจังหวัดขอนแก่น ภูเก็ต นครราชสีมาและเชียงใหม่ พร้อมทั้งเรื่องแผนการลงทุนโครงการและโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งของประเทศที่รัฐบาลประกาศลงทุนถึงมูลค่า22,500 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC อีกด้วย

            อีกทั้งเมกะโปรเจกต์ระบบรางของไทย เนื้อหอมได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติมากมาย ล่าสุดรัฐบาลเห็นชอบการลงทุนระบบรางมูลค่ารวมกว่า 16 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือราว 500,000 ล้านบาท สร้างการเปลี่ยนแปลงการลงทุน เทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญระดับโลกให้กับประเทศไทยโครงการใหม่ 12 โครงการ รวมถึงโครงการรถไฟความเร็วสูง  โครงการขยายเส้นทางรถไฟทางคู่  เส้นทางรถไฟฟ้า 11 สายในกรุงเทพฯ โครงการรถไฟฟ้าเชื่อม 5 จังหวัดและอื่นๆ อีกด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Political News